ในการประชุมคณะกรรมการแห่งสหประชาชาติ ว่าด้วยการใช้อวกาศในทางสันติ (United Nations Committee on Peaceful Uses of Outer Space - UNCOPOUS) ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในวันที่ 2 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในด้านอวกาศของประเทศไทยในสหประชาชาติ (United Nations) ได้กล่าวถ้อยแถลงโดยเน้นย้ำถึงความพร้อมของประเทศในการร่วมมือกับนานาชาติเพื่อพัฒนาและใช้ประโยชน์จากอวกาศในทางสันติ
ดร.ปกรณ์ได้เน้นว่าประเทศไทยมีเป้าหมายหลัก คือ 1) เพื่อยกระดับให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างทั่วถึง: ประเทศไทยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีอวกาศมาเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ประชาชนและยกระดับเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน ลดความเหลื่อมล้ำและช่องว่างในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีดิจิทัล และให้สารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน (near real-time information) 2.) เพื่อรองรับและบริหารจัดการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยธรรมชาติ: ประเทศไทยใช้เทคโนโลยีอวกาศเพื่อตรวจสอบ วิเคราะห์และคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเกิดภัยธรรมชาติ ทั้งในระดับประเทศ และระดับภูมิภาค โดยร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อให้ลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และ 3.) เพื่อร่วมมือกับนานาชาติพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ: ประเทศไทยพร้อมที่จะร่วมมือกับนานาชาติ โดยเฉพาะกับสหประชาชาติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาค
ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทย ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA ยังได้ร่วมหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับหน่วยงานอวกาศของประเทศอื่นๆ เช่น Philippines Space Agency (PhilSA), Office for Space Technology and Industry, Singapore (OSTIn), Indian Space Research Organization (ISRO) และ United Nations Office for Outer Space Affairs (UNOOSA) เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอวกาศ
นอกจากนี้ ผู้อำนวยการ GISTDA ซึ่งในอีกฐานะ คือ ประธานคณะกรรมการดาวเทียมสำรวจโลก (Committee on Earth Observation Satellites - CEOS) ได้เน้นย้ำในถ้อยแถลงของ CEOS ในการให้ความสำคัญในเรื่องของการจัดทำบัญชีการกักเก็บปริมาณคาร์บอน (Carbon stocktaking and accounting) เพื่อสนับสนุนแนวนโยบายของ UN และการให้ความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อส่งเสริมการสร้างโอกาสทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรม (the engagement opportunities in commercial sector) รวมถึงการขยายโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลจากการสำรวจโลกเพื่อให้เกิดประโยชน์และสร้างโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเท่าเทียมยิ่งขึ้นอีกด้วย
สำหรับการประชุม UNCOPOUS นี้ เป็นการจัดประชุมที่เกิดขึ้นทุกปีเพื่อให้ประเทศสมาชิกได้มาแลกเปลี่ยนและหารือเกี่ยวกับเรื่องของอวกาศเพื่อให้การพัฒนาและการใช้ประโยชน์อย่างสันติที่เหมาะสม โดยการประชุมวิชาการในปีนี้มีขึันในระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม-9 มิถุนายน 2566
ดร.ปกรณ์ได้เน้นว่าประเทศไทยมีเป้าหมายหลัก คือ 1) เพื่อยกระดับให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างทั่วถึง: ประเทศไทยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีอวกาศมาเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ประชาชนและยกระดับเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน ลดความเหลื่อมล้ำและช่องว่างในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีดิจิทัล และให้สารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน (near real-time information) 2.) เพื่อรองรับและบริหารจัดการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยธรรมชาติ: ประเทศไทยใช้เทคโนโลยีอวกาศเพื่อตรวจสอบ วิเคราะห์และคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเกิดภัยธรรมชาติ ทั้งในระดับประเทศ และระดับภูมิภาค โดยร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อให้ลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และ 3.) เพื่อร่วมมือกับนานาชาติพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ: ประเทศไทยพร้อมที่จะร่วมมือกับนานาชาติ โดยเฉพาะกับสหประชาชาติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาค
ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทย ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA ยังได้ร่วมหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับหน่วยงานอวกาศของประเทศอื่นๆ เช่น Philippines Space Agency (PhilSA), Office for Space Technology and Industry, Singapore (OSTIn), Indian Space Research Organization (ISRO) และ United Nations Office for Outer Space Affairs (UNOOSA) เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอวกาศ
นอกจากนี้ ผู้อำนวยการ GISTDA ซึ่งในอีกฐานะ คือ ประธานคณะกรรมการดาวเทียมสำรวจโลก (Committee on Earth Observation Satellites - CEOS) ได้เน้นย้ำในถ้อยแถลงของ CEOS ในการให้ความสำคัญในเรื่องของการจัดทำบัญชีการกักเก็บปริมาณคาร์บอน (Carbon stocktaking and accounting) เพื่อสนับสนุนแนวนโยบายของ UN และการให้ความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อส่งเสริมการสร้างโอกาสทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรม (the engagement opportunities in commercial sector) รวมถึงการขยายโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลจากการสำรวจโลกเพื่อให้เกิดประโยชน์และสร้างโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเท่าเทียมยิ่งขึ้นอีกด้วย
สำหรับการประชุม UNCOPOUS นี้ เป็นการจัดประชุมที่เกิดขึ้นทุกปีเพื่อให้ประเทศสมาชิกได้มาแลกเปลี่ยนและหารือเกี่ยวกับเรื่องของอวกาศเพื่อให้การพัฒนาและการใช้ประโยชน์อย่างสันติที่เหมาะสม โดยการประชุมวิชาการในปีนี้มีขึันในระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม-9 มิถุนายน 2566