ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่ได้เดินทางไปสำรวจทวีปแอนตาร์กติกา เมื่อช่วงต้นปี ซึ่งถือว่าเป็นฤดูร้อนของซักโลกใต้ และเป็นช่วงที่เหมาะแก่การสำรวจเนื่องจากมีแสงอาทิตย์ ได้ค้นพบอุกกาบาตบนพื้นผิวของเขตน้ำแข็งสีน้ำเงิน Nils Larsen ใกล้กับสถานี Princess Elisabeth Antarctica สถานีของประเทศเบลเยียม โดยได้ค้นพบอุกกาบาตลูกใหม่ถึง 5 ลูก ซึ่งมีขนาดที่แตกต่างกัน แต่ 1 ใน 5 นั้น คือหินอุกกาบาตที่มีขนาดเทียบเท่ากับลูกแคนตาลูปที่หนักถึง 7.6 กิโลกรัม
นักวิทยาศาสตร์การสำรวจแห่งพิพิธภัณฑ์ฟิลด์ในชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้ร่วมสำรวจ “มาเรีย วัลเดส” เผยว่า ในความเป็นจริงด้านการวิจัย ขนาดความสำคัญของอุกกาบาตไม่ได้อยู่ที่ขนาด แต่อยู่ส่วนประกอบของอุกกาบาต เนื่องจากบางลูกมีขนาดเล็ก แต่มีแร่ธาตุที่ไม่สามารถพบบนโลกได้ แต่การค้นพบอุกกาบาตขนาดใหญ่เช่นนี้ เป็นสิ่งที่หายาก
อุกกาบาตทั้ง 5 นี้ ได้มีการคาดการว่า ถูกฝังอยู่ในน้ำแข็งเป็นเวลาหลายพันปี และปรากฏขึ้นอีกครั้งหลังจากการเคลื่อนที่ของธารน้ำแข็งที่หมุนวนนำพวกมันกลับสู่พื้นผิว แต่เนื่องจากอุกกาบาตได้รับการปกป้องจากการตกตะกอน ลม และอากาศใต้น้ำแข็ง พวกมันจึงยังคงสภาพสมบูรณ์
นักวิทยาศาสตร์ยังกล่าวเสริมว่า การศึกษาเรื่องของอุกกาบาตช่วยให้เข้าใจตำแหน่งของโลกในจักรวาลได้ดียิ่งขึ้น และยิ่งเรามีตัวอย่างหรือหลักฐานของอุกกาบาตมากเท่าไร เราก็ยิ่งเข้าใจระบบสุริยะของเราได้ดีขึ้นเท่านั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : Maria Valdes/Field Museum / livescience.com