xs
xsm
sm
md
lg

ทำความรู้จัก 12 ชื่อ“ดวงจันทร์เต็มดวง” กับตำแหน่งบนท้องฟ้า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เนื่องใน “วันวิสาขบูชา” ที่ผ่านมาเป็นหนึ่งในค่ำคืนที่ดวงจันทร์เต็มดวง ทาง สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT จึงได้มีการเผยรายชื่อ ตำแหน่งของดวงจันทร์จะเต็มดวงทั้งหมด 12 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะมีชื่อเรียกตามกลุ่มดาวนักษัตรที่แตกต่างกัน และลงท้ายชื่อด้วยคำว่ามาส (มาสหมายถึงเดือน) ดังนี้

1. ดวงจันทร์เต็มดวงในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 1 (เดือนอ้าย) จะเต็มดวงใกล้กับกลุ่มดาวนายพราน (Orion) เรียกว่า มฤคศิรมาส

2. ดวงจันทร์เต็มดวงในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 2 (เดือนยี่) จะเต็มดวงใกล้กับกลุ่มดาวปู (Cancer) เรียกว่า ปุษยมาส

3. ดวงจันทร์เต็มดวงในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 จะเต็มดวงใกล้กับกลุ่มดาวสิงโต (Leo) เรียกว่า มาฆมาส

4. ดวงจันทร์เต็มดวงในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 จะเต็มระหว่างกลุ่มดาวสิงโต (Leo) กับกลุ่มดาวหญิงสาว (Virgo) เรียกว่า ผัคคุณมาส

5. ดวงจันทร์เต็มดวงในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 จะเต็มดวงใกล้กับกลุ่มดาวหญิงสาว (Virgo) เรียกว่า จิตรมาส

6. ดวงจันทร์เต็มดวงในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 จะเต็มดวงใกล้กับกลุ่มดาวคันชั่ง (Libra) เรียกว่า วิสาขมาส


7. ดวงจันทร์เต็มดวงในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 7 จะเต็มดวงใกล้กับกลุ่มดาวแมงป่อง (Scorpius) เรียกว่า เชษฐมาส

8. ดวงจันทร์เต็มดวงในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 จะเต็มดวงใกล้กับกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius) เรียกว่า อาสาฬหมาส

9. ดวงจันทร์เต็มดวงในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 9 จะเต็มดวงใกล้กับกลุ่มดาวนกอินทรี (Aquila) เรียกว่า ศราวณมาส

10. ดวงจันทร์เต็มดวงในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 จะเต็มดวงใกล้กับกลุ่มดาวม้าปีก (Pegasus) เรียกว่า ภัทรบทมาส

11. ดวงจันทร์เต็มดวงในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 จะเต็มดวงใกล้กับกลุ่มดาวแกะ (Aries) เรียกว่า อัศวยุชมาส

12. ดวงจันทร์เต็มดวงในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 จะเต็มดวงใกล้กับกลุ่มดาววัว (Taurus) เรียกว่า กฤตติกามาส


และตำแหน่งของดวงจันทร์ที่เต็มดวงในบางตำแหน่งจะถูกใช้เป็นชื่อเรียกของวันสำคัญทางพุทธศาสนาด้วยได้แก่ “มาฆมาส” เรียกว่า วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 “วิสาขมาส” เรียกว่า วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 “อาสาฬหมาส” เรียกว่า วันอาสาฬหบูชา เป็นต้น ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8

นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งที่น่าสนใจอีกหนึ่งตำแหน่ง นั่นคือ เมื่อดวงจันทร์เต็มดวงปรากฏบริเวณกลุ่มดาววัว (ใกล้กับกระจุกดาวลูกไก่) หรือ กฤตติกามาส ก็จะถือว่าวันนั้นเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 หรือ วันลอยกระทงนั่นเอง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT


กำลังโหลดความคิดเห็น