xs
xsm
sm
md
lg

"สุวิทย์" เยี่ยมชมนวัตกรรมดักจับแมลงในสวนทุเรียนลับแล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“สุวิทย์ เมษินทรีย์” รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการ “อว.สร้างงาน ระยะที่ 1” มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ ทำงาน109 ตำบล 9 จังหวัดภาคเหนือ พร้อมลงพื้นที่ สวนศรีมูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ชมนวัตกรรมชุดกับดักแมลงศัตรูพืชในสวนทุเรียน ดีเดย์โครงการ “อว.สร้างงาน ระยะที่ 2” 1 ก.ค.นี้ กว่า 3.2 หมื่นอัตรา

เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยว่า ตนจะลงพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลคอรุม อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการ “อว.สร้างงาน ระยะที่ 1” ในความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ ที่ได้รับสมัครและคัดเลือกบุคคลรับการจ้างงาน จำนวน 290 อัตรา ระยะเวลา 4 เดือน เดือนละ 9,000 บาท แต่รับเข้าทำงาน จำนวน 279 อัตรา เนื่องจากผู้สมัครบางส่วนได้รับสิทธิในการเยียวยาจากภาครัฐที่ซ้ำซ้อนจึงต้องมีการตัดรายชื่อออก และมีการลาออกระหว่างทำงาน

ทั้ง 279 อัตรา ได้ลงดำเนินการในพื้นที่ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ 9 จังหวัด จำนวน 109 ตำบล ทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น และ พัฒนาทักษะ ผ่านกระบวนการเรียนรู้จากการทำงานควบคู่กับการพัฒนาทักษะของผู้จ้างงานซึ่งเรียกว่า "พนักงานจ้างเหมาบริการ"

อว.จะเริ่มโครงการ อว.สร้างงาน ระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.นี้ จำนวนกว่า 3.2 หมื่นคน โดยในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ มีอัตราการจ้างงงาน ระยะที่ 2 จำนวน 376 อัตรา จ้างงานระยะเวลา 3 เดือน เดือนละ 9,000 บาท มีพื้นที่ดำเนินการใน 4 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 74 ตำบล ได้แก่ อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และ กำแพงเพชร

"ลักษณะงานจะทำเรื่องข้อมูลเชิงพื้นที่ ติดต่อประสานงานกับผู้นำชุมชน ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ เก็บข้อมูลจากหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ การวิเคราะห์และจัดทำแผน วางแผนโครงการและแผนการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานคู่ความร่วมมือ ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่และผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น ด้าน Smart Faming ด้านการจัดการน้ำชุมชน ด้านสุขภาพ ด้านการสร้างอาชีพ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้านการจัดการขยะ ด้านการจัดการสังคมผู้สูงอายุ หรือด้านอื่นๆ ที่สอดคล้องกับบริบทปัญหา หรือความต้องการของพื้นที่ เป็นต้น"

ดร.สุวิทย์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ จะลงพื้นที่ สวนศรีมูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ เพื่อชมนวัตกรรมชุดกับดักแมลงศัตรูพืชในสวนทุเรียน ของ ผศ.ดร.พิชัย ใจกล้า และ ผศ.ดร.วีระพล คงนุ่น เพื่อกำจัดแมลงศัตรูที่พบในทุเรียน ได้แก่ หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน หนอนเจาะผลทุเรียน หนอนกินขั้วผล ไรแดง เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยจักจั่นฝอย มอดเจาะลำต้น บุ้งหูแดง หนอนด้วงปีกแข็งกินรากทุเรียน แมลงค่อมทอง ด้วงบ่าหนามจุดนูนดำ

ทั้งนี้ งานวิจัยการป้องกันกำจัดด้วยกลวิธีกับดักแสงไฟ สามารถลดแพร่ระบาดของแมลงศัตรูพืชในสวนทุเรียนในช่วงเวลาศึกษา 3 เดือน พบปริมาณและชนิดของแมลงในสวนทุเรียนในการศึกษาครั้งนี้ พบจำนวนแมลงทั้งสิ้น 1,993 ตัว จำแนกได้เป็น 6 อันดับ 12 วงศ์










กำลังโหลดความคิดเห็น