xs
xsm
sm
md
lg

ซินโครตรอนช่วยนักวิจัยฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไม่ต้องไปทดลองถึงไต้หวัน

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ซินโครตรอน ร่วมกับนักวิจัย
ซินโครตรอนช่วยนักวิจัย มทส. ผ่านวิกฤตโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีระบบลำเลียงแสงและห้องปฏิบัติการตกผลึกโปรตีน พร้อมอินเทอร์เน็ตซอฟท์แวร์และระบบเครือข่ายช่วยนักวิจัยไม่ต้องเดินทางไปวิจัยไกลถึงไต้หวัน

สถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างหนักของโควิด-19 (COVID-19) ไม่เพียงกระทบต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ แต่ยังสะเทือนไปถึงวงการด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัย โดยในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ ทำให้บางส่วนของการศึกษาวิจัยหยุดชะงักลง ด้วยเหตุที่นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถเดินทางไปใช้อุปกรณ์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในสถาบันวิจัยที่ต่างประเทศได้ เพราะการเดินทางมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยเฉพาะในสาธารณรัฐประชาชนจีน

ศ.ดร.เจมส์ อาร์ เคตูแดท-ไครน์ส (Prof.Dr.James R. Ketudat-Cairns) หัวหน้าสาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นหนึ่งในนักวิจัยที่ประสบปัญหาดังกล่าว ต้องการทดลองเพื่อหาโครงสร้างสามมิติของโปรตีน ณ ระบบลำเลียงแสง Protein microcrystallography TPS05A : National Synchrotron Radiation research Center (NSRRC) สาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน)

ศ.ดร.เจมส์ได้ปรึกษากับนักวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนว่า เพื่อหาเทคโนโลยีที่จะช่วยทำการทดลองได้โดยไม่ต้องไปเดินทางไปถึงไต้หวัน จึงเกิดเป็นความร่วมมือกับนักวิจัยของระบบลำเลียงแสงที่ 7.2W: Macromolecular Crystallography และห้องปฏิบัติการตกผลึกโปรตีน เพื่อทำการทดลองและเก็บข้อมูลโดยวิธีการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ และเครือข่าย จากระยะไกล (remote access)

ทางสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนให้การสนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการจัดส่งตัวอย่างผลึกโปรตีน ไปที่ซินโครตรอนไต้หวัน และทางสถาบันมีความพร้อมทางด้านระบบอินเทอร์เนต คอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์ต่างๆ รวมไปถึงนักวิทยาศาสตร์ของทางสถาบันมีประสบการณ์ในการทำการทดลองที่ NSRRC ก่อน ทำให้สามารถทำการทดลองเก็บข้อมูลโดยใช้เทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ผ่านผลึกโปรตีนที่ไต้หวันโดยไม่ต้องเดินทางไป ช่วยลดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้ด้วย

ผลการทดลองส่วนหนึ่งที่ได้ทำให้นักวิจัยสามารถหาโครงสร้างสามมิติของโปรตีน เบต้า-กลูโคซิเดส (Beta Glucosidae GH116) จากแบคทีเรีย ที่คล้ายกับโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงในมนุษย์ (Human glucosylcerebrosidase 2) ซึ่งจะทำให้เราสามารถเข้าใจกลไกการเกิดโรคต่อไปได้ในอนาคต

ซินโครตรอน ร่วมกับนักวิจัย มทส.

ซินโครตรอน  ร่วมกับนักวิจัย มทส.

ซินโครตรอน ร่วมกับนักวิจัย มทส.


กำลังโหลดความคิดเห็น