xs
xsm
sm
md
lg

ถอดความล้มเหลว-ความสำเร็จการทำงาน 2 นักวิจัยเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


กว่าจะไปถึงความสำเร็จต้องเรียนรู้ความล้มเหลวให้ถ่องแท้เสียก่อน เช่นเดียวกับ 2 นักวิจัยเทคโนโลยีป้องกันประเทศต่างรุ่น ที่เรียนรู้ความผิดพลาดในการทำงานของตัวเอง จนสร้างผลงานที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ทั้งกระจกกันกระสุน การสร้างจรวดดินขับและกระสุนทำฝนหลวง

พล.อ.ต.เจษฎา คีรีรัฐนิคม รองผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) และ น.ส.ชิดชนก ชัยชื่นชอบ นักวิจัยส่วนงานวิศวกรรมระบบขับเคลื่อน สทป.ร่วมถ่ายประสบการณ์ทำงานภายในกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 30 ส.ค.-2 ก.ย.60 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งมีนักเรียนเข้าร่วมประมาณ 60 คน

พล.อ.ต.เจษฎาเล่าว่าย้อนไปเมื่อประมาณปี 2538 เมื่อครั้งยังเป็นวิศวกรอายุน้อย ได้รับมอบหมายจากผู้ใหญ่ให้พัฒนาจรวดขัวเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงดินระเบิด และโครงการพัฒนากระสุนซิลเวอร์ไอโอไดน์ สำหรับยิ่งขึ้นฟ้าเพื่อทำฝนหลวง ทว่าทั้งสองโครงการเกิดปัญหาไปสามารถพัฒนาให้สำร็จได้

ในส่วนโครงการจรวดเชื้อเพลิงแข็งชนิดคอมโพสิตน้นเกิดปัญหาเชื้อเพลิงหนืดจนไม่สามารถส่งจรวดได้ โดยเชื้อเพลิงจะแบ่งเป็นส่วนที่เป็นผงและส่วนที่เป็นของเหลว ซึ่งในช่วงนนั้น พล.อ.ต.เจษฎากล่าวว่าได้รับแรงกดดันมาก แต่ก็พยายามศึกษาจากตำราและแหล่งความรู้ต่างๆ จึงขนาดอนุภาคที่ใช้ผสมของเหลวนั้นไม่เหมาะสม จากทดลองในภาชนะเล็กๆ ได้ผล แต่เมื่อขยายขนาดกลับล้มเหลวเพราะความหนืดสูง

พล.อ.ต.เจษฎาจึงนำเชื้อเพลิงดินมาศึกษาเพื่อหาการเปลี่ยนแปลงของขนาดอนุภาคที่เหมาะสม โดยใช้เวลา 3 ปีโครงการจึงสำเร็จ และในปี 2541 ผลงานดังกล่าวได้รับรางวังชมเชยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ส่วนโครงการผลิตกระสุนซิลเวอร์ไอโอไดน์พบปัญหาปลอกกระสุนบวม เมื่อหาสาเหตุจึงพบว่าผ้าโทเรที่ใช้นั้นไม่เหมาะสมจึงได้เปลี่ยนไปใช้ผัาชนิดอื่น และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำผลงานดังกล่าวไปใชืเพื่อทำฝนหลวงตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน

ส่วน น.ส.ชิดชนกมีงานวิจัยระหว่างเรียนในการพัฒนากระจกกันกระสุน ซึ่งเป็นกระจกที่ใช้วัสดุหลายชนิดประกบกันเป็นชั้นๆ เพื่อช่วยกระจายแรง โดยใช้เวลาถึง 2 ปีพัฒนารูปร่างและความหนาที่เหมาะสมของวัสดุแต่ละชั้นได้ออกมาเป็นต้นแบบ 5 แบบ และแต่ละแบบมีจำนวนสำรอง 3 ชิ้น จากนั้นได้นำผลงานไปทดสอบแต่ปรากฎว่ากระสุนทะลุกระจกทั้งหมด ทำให้เสียความมั่นใจไปมาก แต่ก็กลับมาหาสาเหตุและพัฒนาใหม่จนได้กระจกกันกระสุนที่นำไปใช้งานจริงที่ภาคใต้

สำหรับ น.ส.ชิดชนกนั้นได้กลายมาเป็นนักเทคโนโลยีป้องกันประเทศจากความต้องการที่ชัดเจนว่า อยากพัฒนาวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ จึงหาคำตอบว่าจะต้องเรียนอะไรเพื่อได้ทำงานในด้านนี้ และได้พบว่าต้องเรียนทางด้านวัสดุศาสตร์ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์อีกสาขาหนึ่งที่เมื่อก่อนไม่เป็นทีรู้จักมากนัก

ขณะที่ พล.อ.ต.เจษฎา เคยสอบเข้าและเรียนแพทย์ตามความต้องการของพ่อแม่ แต่ส่วนตัวนั้นมีความสนใจและอยากศึกษาทางวิศวกรรม จนกระทั่งมีโอกาสได้สมัครรับทุนเล่าเรียนหลวงเพื่อเรียนต่อทางด้านวิศวกรรมตามความต้องการ ซึ่งเป็นแง่คิดว่าเมื่อมีโอกาสเข้ามาให้รีบคว้าไว้

กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 6 นั้นจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง สทป.และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย พลเอกชนินทร์ จันทรโชติ ที่ปรึกษา สทป.กล่าวถึงการจัดค่ายนี้ว่า ต้องการให้เป็นเวทีทางด้านวิทยาศาสตร์แก่เยาวชน และเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าเรียนวิทยาศาสตร์แล้วทำอะไรได้บ้าง

พลเอกชนินทร์กล่าวว่าค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 6 นี้ เป็นครั้งแรกที่จัดนอกกรุงเทพฯ เนื่องจาก สทป.มีความร่วมมือกับ ม.แม่โจ้ แต่ค่ายล่าสุดนี้มีความแตกต่างจากค่ายก่อนหน้าในเรื่องเชื้อเพลิงขับเคลื่อนจรวด จากเดิมใช้เชื้อเพลิงแข็งชนิดคอมโพสิต เปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงแข็งที่เป็นน้ำตาล ซึ่งได้แนวคิดนี้หลังไปร่วมการแข่งขันอากาศยานไร้คนขับที่ญี่ปุ่น

“การเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงน้ำตาลช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขนย้ายเชื้อเพลิง ซึ่งแบบเดิมเป็นวัตถุใช้ทำระเบิดได้ ดังนั้นการเคลื่อนย้ายต้องขออนุญาต คสช.*แต่เรื่องประสิทธิภาพของเชื้อเพลิงน้ำตาลนั้นอาจไม่สู้ดินระเบิด โดยจรวดที่ใช้น้ำตาลจะพุ่งขึ้นในแนวดิ่งได้สูง 350 เมตร แต่ดินระเบิดส่งจรวดได้สูงประมาณ 7,000 เมตร และพุ่งในวิถีโค้งไปได้ไกล 180 กิโลเมตร”พลเอกชนินทร์กล่าว

*คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

พลเอกชนินทร์ จันทรโชติ

กำลังโหลดความคิดเห็น