xs
xsm
sm
md
lg

“นาแห้ว” มีมากกว่าสตรอเบอร์รีลูกโต

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

สตรอเบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80 ที่นาแห้ว
หลายพื้นที่ในอีสานปลูกสตรอเบอร์รีได้และใช้เป็นจุดขายแก่นักท่องเที่ยว แต่สำหรับ 2 หมู่บ้านของบนภูสวนทรายของ อ.นาแก้ว จ.เลย ที่อยู่ติดชายแดนลาว สามารถผลิต “ไหล” หรือต้นอ่อนสตรอเบอรีได้เป็นแห่งเดียวของภูมิภาค และยังสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านในพื้นที่ได้มากกว่าการปลูกพืชไร่อื่นๆ หลายเท่า



แม้อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลแค่ 800 กิโลเมตร แต่ความหนาวเย็นของบ้านบ่อเหมืองน้อยและบ้านห้วยน้ำผักใน ต.แสงภา อ.นาแห้ว จ.เลย ก็เพียงพอสำหรับปลูกสตรอเบอร์รีให้ได้ผล ด้วยภูมิประเทศที่ตั้งอยู่บนภูสวนทราย และรายล้อมด้วยภูเขา จึงได้อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับพืชเมืองหนาว ไม่ต่างจากหลายพื้นที่ทางภาคเหนือ

ปิยทัศน์ ทองไตรภพ ผู้ช่วยนักวิจัย นายปิยทัศน์ ทองไตรภพ ผู้ช่วยนักวิจัย ในฐานะผู้จัดการพื้นที่ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ให้ข้อมูลว่า ทั้ง 2 หมู่บ้านเพิ่งจัดตั้งใหม่เมื่อปี 2534 เพื่อเป็นพื้นที่แนวกันชนสำหรับความมั่นคงของประเทศ เนื่องจากอยู่ติดชายแดนลาว

เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนในพื้นที่ดังกล่าวมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ จึงมีโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่มีอาชีพและใช้พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนักวิจัย มจธ.ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการปลูกสตรอเบอร์รีได้เล็งเห็นศักยภาพของพื้นที่ใน อ.นาแห้ว ซึ่งมีภูมิอากาศและสภาพใกล้เคียงภาคเหนือ จึงได้ศึกษาและส่งเสริมการปลูกพืชที่มีมูลค่าสูงนี้มาตั้งแต่ปี 2539

เริ่มแรกปิยทัศน์กล่าวว่าชาวบ้านต้องนำ “ไหลสตรอเบอร์รี” หรือต้นอ่อนสตรอเบอร์รีจากภาคเหนือมากปลูก รวมทั้งนำเข้าดินปริมาณหลายตัน ซึ่งแม้ในพื้นที่ทั้งสองหมู่บ้านสามารถปลูกสตรอเบอร์รีและให้ผลผลิต เพราะไม่สามารถควบคุมคุณภาพ ความสมบูรณ์ของต้นสตรอเบอร์รี การแพร่กระจายของโรค รวมถึงความเสียหายของต้นอ่อนระหว่างการขนส่งได้ ทำให้ผลผลิตไม่สม่ำเสมอ บางปีได้ผลผลิตดี แต่บางปีกลับเสียหาย จึงได้เริ่มโครงการผลิตไหลขึ้นภายในพื้นที่ โดยใช้ต้นอ่อนจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่นำมาจากดอยปุย จ.เชียงใหม่

ในปีแรกปิยทัศน์ได้นำทีมชาวบ้าน 3 คนที่สนใจ ทดลองผลิตไหลสตรอเบอร์รี แต่เพราะไม่ทราบถึงเทคนิคที่ถูกต้องจึงไม่ได้ผล จากนั้นจึงได้ปรึกษานักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แล้วนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่จนผลิตไหลสตรอเบอร์รีได้ในปีที่ 2 โดยผลิตต้นไหลได้ 100,000 ต้นเพื่อจำหน่ายแก่เกษตรกรที่สนใจปลูกสตอเบอร์รีเป็นอาชีพเสริม

“ชาวบ้านปลูกข้าวโพด ปลูกข้าวเป็นหลัก แต่ช่วงหน้าหนาวหลังชาวบ้านว่างเว้นจากการทำนา ผมก็ชวนเขามาปลูกสตอเบอร์รี ผลคือปลูกสตรอเบอร์รี 6 เดือน ให้กำไรมากกว่าปลูกข้าวทั้งปี โดยข้าว 1 ไร่ได้กำไร 4,000 บาท แต่ปลูกสตรอเบอร์รี 2 งานได้กำไร 40,000 บาท และการปลูกสตรอเบอร์รีสลับกับการปลูกข้าวและข้าวโพดทำให้ดินได้พัก ช่วยป้องกันโรคระบาดของสตรอเบอร์รีได้ เพราะปกติปลูกสตรอเบอร์รีซ้ำที่เดิมได้ไม่เกิน 5 ปี แต่พื้นที่ปลูกสตรอเบอร์รีมาตั้งแต่ปี 2542 ยังปลูกสตอเบอร์รีได้โดยไม่มีปัญหา” ปิยทัศน์กล่าว

ทั้งนี้ ปิยทัศน์ได้คัดเลือกเกษตรกรกลุ่มหนึ่งที่มีความสนใจและได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน ให้หันมาทำไหลและปลูกสตรอเบอร์รีอย่างเดียวตลอดปีโดยไม่ต้องปลูกพืชอย่างอื่น โดยมีระยะเวลาผลิตไหล 6 เดือน คือช่วง เม.ย.-ก.ย. และช่วงปลูกสตอเบอร์รี ตั้งแต่เดือน ต.ค.เป็นต้นไป โดยช่วงที่ให้ผลผลิตมากที่สุดคือช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค. ซึ่งต่างจากทางพื้นที่ภาคเหนือที่ผลผลิตเริ่มลดลง

ในขั้นตอนการผลิตไหลนั้นผู้ช่วยนักวิจัยจาก มจธ.อธิบายว่า เริ่มจากนำต้นอ่อนจากขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาเลี้ยงในวัสดุปลูก “พีทมอส” (Meat moss) จนแข็งแรง จากนั้นนำไปปลูกในถุงดำขนาด 4x5 นิ้ว ซึ่งจะกลายเป็นต้นแม่ที่ออกไหลเป็นต้นอ่อนสำหรับนำไปปลูกสตรอเบอร์รีต่อไป โดยปิยทัศน์ระบุว่าขั้นตอน “ตวงไหล” เป็นขั้นตอนที่สำคัญ เมื่อต้นแม่ที่มีความสมบูรณ์ได้สัมผัสอากาศร้อนระยะหนึ่งจะผลิตไหลที่มีตุ่มพร้อมราก ซึ่งเกษตรกรต้องนำดินใสถุงมารองให้ไหลเกิดเป็นต้นสตรอเบอร์รีต้นใหม่ แล้วจึงไปลงแปลงปลูกสตอเบอร์รีได้

“มีหลายพื้นที่ในอีสานปลูกสตรอเบอร์รีได้ แต่เราเป็นแห่งเดียวที่ปลูกสตรอเบอร์รีได้ครบวงจร ตั้งแต่การผลิตไหลขึ้นเอง ไปจนถึงการปลูก” ปิยทัศน์กล่างถึงจุดเด่นของสตอเบอร์รีใน อ.นาแห้ว

ด้าน นางศีลธรรม บุญธรรม ชาวบ้านซึ่งปลูกสตอเบอร์รีมาตั้งแต่ปี 2544 เผยแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า มีแปลงปลูกสตรอเบอร์รี 14 แปลงในพื้นที่ 2 งาน ซึ่งให้รายได้เสริมมากกว่าปลูกข้าวโพด 10 ไร่ที่ต้องลงทุนเยอะกว่า นอกจากนี้ยังผลิตไหลแจกจ่ายแก่สมาชิกเกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอร์รีด้วย
ผลผลิตสตรอเบอร์รีที่นาแห้ว ซึ่งมีผลผลิตมากในช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค.
แปลงปลูกสตรอเบอร์รี
ผลผลิตสตรอเบอร์รีที่กำลังโต
นายปิยทัศน์ ทองไตรภพ
นายปิยทัศน์ ทองไตรภพ พร้อมต้นไหลสตรอเบอร์รี (ในมือซ้าย) และไหลสตรอเบอร์รีที่ออกจากต้น (ในมือขวา)
นางศีลธรรม บุญธรรม เจ้าของแปลงสตรอเบอร์รีระหว่างเก็บผลผลิต
นางศีลธรรม บุญธรรม ผู้ผลิตไหลสตรอเบอร์รีและปลูกสตอเบอร์รี






*******************************



กำลังโหลดความคิดเห็น