ครั้งแรกของประเทศไทย!มหกรรมรวมกล้องโทรทรรศน์สุดอลังการ สดร.ขนมาให้ชมกันอย่างเต็มอิ่มทุกรุ่น ทุกแบบที่มหกรรมวิทย์ จ.เชียงใหม่
ภายในมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2557 ที่จัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษาจ.เชียงใหม่ มีนิทรรศการและกิจกรรมทางวิทยาศาสตรจากหลากหลายหน่วยงานกว่า 8 กระทรวง 15 มหาวิทยาลัย รวมถึงหน่วยงานจากสมาคมด้านวิทยาศาสตร์ หน่วยงานภาครัฐอละเอกชนจากในและต่างประเทศ
อีกหนึ่งนิทรรศการที่น่าสนใจและเป็นไฮไลท์จากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร.ที่นำกล้องโทรทรรศน์ทุกรุ่น ทุกแบบมา(หลายรุ่นมา) ให้ชมนับเป็นมหกรรมกล้องโทรทรรศน์ทุกรุ่นทุกแบบที่มีใช้ในเมืองไทยเป็นครั้งแรก ก็ว่าได้
ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า ปีนี้ สดร.ยกโดมเปลือกหอยและกล้องโทรทรรศน์ 0.5 เมตร ของจริง ที่จะนำไปประจำการที่หอดูดาวภูมิภาค อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ. เชียงใหม่ มาให้ชมกันถึงที่มหกรรมวิทย์ '57 พร้อมกับกล้องโทรทรรศน์กว่าสิบรุ่นมาให้นักเรียนและ ประชาชนผู้สนใจได้สัมผัสของจริง นอกจากนี้ภายในนิทรรศการยังมีห้อง “หลุมดำ” (Blackhole) ให้เข้าไปร่วมไขความลับว่าเมื่อเรามองภาพตัวเองผ่านหลุมดำจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมกับกิจกรรมสนุกสนานอย่าง “จักรวาลบนอวกาศยางยืด” ที่เป็นการสาธิตเรื่องแรงโน้มถ่วง จากทีมงาน สดร.
ด้าน นายสิทธิพร เดือนตะคุ เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ชำนาญการ สดร. เผยกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการว่า กล้องโทรทรรศน์ที่ สดร.นำมาจัดแสดงในวันนี้มีทั้งสิ้น 12 ตัว เป็นกล้องของ สดร.ที่สามารถใช้งานได้จริง ใช้สำหรับการวิจัย การเก็บข้อมูล และให้สำหรับบริการประชาชนในโอกาสพิเศษต่างๆ (และในอนาคตสามารถใช้บริการได้) ตามหอดูดาวภูมิภาค 5 แห่งทั่วประเทศคือที่ จ.พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา สงขลาและฉะเชิงเทรา
“กล้องโทรทรรศน์มีประวัติการสร้างขึ้นนานแล้ว ตั้งแต่สมัยกาลิเลโอได้นำมาเพื่อที่มีไว้เพื่อดูดาวเคราะห์และนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในวงการวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ ติด จากที่เคยแค่ติดตามการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์เพื่อเป็นปฏิทิน บ่งบอกการเปลี่ยนแปลงของชี้เวลาของฤดูกาล เป็นเครื่องชี้ทาง เป็นเหมือนนาฬิกาอ้างอิงจากนอกโลก มาสู่การมองไปยังตัววัตถุท้องฟ้านั้นเพื่อให้เข้าใจซึ่งธรรมชาติในตัวของมันเอง แม้ว่าความรู้ด้านดาราศาสตร์จะก้าวหน้าและบางอย่างก็ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้แต่ความสนใจในวัตถุท้องฟ้ายังคงจำกัดอยู่ในหมู่นักดาราศาสตร์ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์สำคัญอย่าง โดยขณะนั้นยังไม่ได้สนใจถึงวัตถุบนท้องฟ้าอื่นๆที่อาจมีผลต่อโลก จนเมื่อ 100 ปีก่อนมีการระเบิดของอุกกาบาตที่ทังกัสการ์ ประเทศรัสเซีย ประกอบกับปี ค.ศ.1994 และการพุ่งชนดาวพฤหัสบดีของดาวหางชูเมคเกอร์-เลวี 9 ในปี ค.ศ.1994 ที่เกิด ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สะท้านวงการดาราศาสตร์เมื่อดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 พุ่งชนดาวพฤหัสบดี เพราะเกิดการทำลายล้างครั้งยิ่งใหญ่ มนุษย์จึงเริ่มตระหนักถึงภัยจากวัตถุนอกโลก จึงเกิดการเก็บข้อมูลและศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวัตถุท้องฟ้าอย่างพวกดาวหางและดาวเคราะห์น้อยที่ส่งผลกับโลกมนุษย์โดยตรง ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ต่างๆ โดยมีกล้องโทรทรรศน์เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญ" นายสิทธิพร เล่าถึงประวัติของกล้องโทรทรรศน์
นายสิทธิพร กล่าวว่า กล้องโทรทรรศน์ที่ใช้งานปกติแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ แบบสะท้อนแสง หักเหแสง และแบบผสม โดยภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์จะเป็น “ภาพจริงหัวกลับ” เหมือนกันหมดไม่ว่าจะเป็นกล้องประเภทไหน ใช้ในการสังเกตวัตถุบนท้องฟ้าได้คล้ายๆกัน แต่จะมีประสิทธิภาพดีกว่าหากใช้ประเภทของกล้องตรงตามคุณสมบัติวัตถุบนท้องฟ้าที่ต้องการสังเกต โดยหลักการทำงานและประสิทธิภาพจะแตกต่างกัน ดังนี้
1) กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง ใช้หลักการของกระจกในการสะท้อนและรวมแสง ภาพที่ได้มีคุณภาพดีแต่ไม่เทียบเท่ากล้องแบบหักเหแสง และสามารถประกอบเป็นกล้องโทรทรรศน์ที่มีขนาดใหญ่เพื่อความยาวโฟกัสที่มากขึ้น ที่จะทำให้เห็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้มากกว่ากล้องแบบหักเหแสง
กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง นิยมใช้กับดาวเคราะห์ วัตถุในห้วงลึกของอวกาศ และแสงออโรรา รุ่นที่นำมาจัดแสดงให้ชมมีทั้งสิ้น 5 รุ่นด้วยกัน คือ
-Meade 10” LXD55 SN10
ความยาวโฟกัส 1,016 มิลลิเมตร ขนาดหน้ากล้อง 254 มิลลิเมตร
-Takahashi Epsilon-180ED
ความยาวโฟกัส 500 มิลลิเมตร ขนาดหน้ากล้อง 180 มิลลิเมตร
-Takahashi BRC-250
ความยาวโฟกัส 1,268 มิลลิเมตร ขนาดหน้ากล้อง 250 มิลลิเมตร
-Newtonian 10” (Suvit Telescope)
ความยาวโฟกัส 1,200 มิลลิเมตร ขนาดหน้ากล้อง 250 มิลลิเมตร
-Newtonian 8” (Suvit Telescope)
ความยาวโฟกัส 1,000 มิลลิเมตร ขนาดหน้ากล้อง 200 มิลลิเมตร
"กล้องรุ่นนิวโตเนียนเป็นกล้องที่ สดร.นิยมใช้ในการให้บริการประชาชนมากที่สุด เนื่องจากเป็นกล้องที่มีประสิทธิภาพดี ผู้ใช้สามารถขยับทิศทางลำกล้องเพื่อหาทิศดวงดาวเองได้โดยเฉพาะเด็กๆ จะชอบมาก หากได้สัมผัสด้วยตัวเอง เป็นกล้องที่มีความคงทนแข็งแรง ราคาไม่สูงมากและเป็นฝีมือการประดิษฐ์ของคนไทย โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด สุวิทย์เมททอล แอนด์ ออพติค เป็นกล้องที่มีตามท้องฟ้าจำลอง โรงเรียน และมหาวิทยาลัยทั่วไป" เจ้าหน้าที่ สดร.เผย
2) กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง ใช้หลักการหักเหของชุดเลนส์ ภาพที่ได้จะมีคุณภาพ และความคมชัดดีกว่ากล้องแบบสะท้อนแสง แต่ข้อเสียคือมีราคาแพงและการขยายขนาดหน้าทำเลนส์และกล้องขนาดใหญ่เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพได้ใหญ่มากขึ้นทำได้ยากเนื่องจากเลนส์และขั้นตอนในการทำมีความยุงยากมากกว่ากล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงที่เป็นกระจก
กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง นิยมใช้กับเนบิวลาและกาแลกซี รุ่นที่นำมาจัดแสดงให้ชมมีทั้งสิ้น 3 รุ่นด้วยกัน คือ
-Takahashi TOA-150
ความยาวโฟกัส 1,100 มิลลิเมตร ขนาดหน้ากล้อง 150 มิลลิเมตร
-Astrotech 5”
ความยาวโฟกัส 1,200 มิลลิเมตร ขนาดหน้ากล้อง 127 มิลลิเมตร
-Astrotech 4”
ความยาวโฟกัส 1,000 มิลลิเมตร ขนาดหน้ากล้อง 102 มิลลิเมตร
โดยกล้องโทรทรรศน์รุ่น Astrotech เป็นกล้องรุ่นที่นิยมนำมาใช้สอนมากที่สุด เนื่องจากมีขนาดที่ไม่หญ่มากนัก และมีประสิทธิภาพและความคมชัดดีเยี่ยม และราคาไม่แพงมากเมื่อเทียบกับกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงรุ่นอื่นๆ
3) กล้องโทรทรรศน์แบบผสม เป็นกล้องที่นำข้อดีของทั้งแบบสะท้อนแสง และหักเหแสงมาไว้รวมกัน เป็นการประกอบกันขึ้นระหว่างกระจกและเลนส์ ภาพที่ได้จึงมีความคมชัด และมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นแต่ข้อเสีย คือ มีราคาสูงมาก
กล้องโทรทรรศน์แบบผสมใช้ได้กับวัตถุบนท้องฟ้าเกือบทั้งหมด ยกเว้นดวงอาทิตย์
รุ่นที่นำมาจัดแสดงให้ชมมีทั้งสิ้น 3 รุ่นด้วยกัน คือ
-Meade LX200 8”
ความยาวโฟกัส 2,000 มิลลิเมตร ขนาดหน้ากล้อง 200 มิลลิเมตร
-Meade LS-8 ACF Light Switch
ความยาวโฟกัส 2,000 มิลลิเมตร ขนาดหน้ากล้อง 200 มิลลิเมตร
-Meade LX200 14”
ความยาวโฟกัส 3,556 มิลลิเมตร ขนาดหน้ากล้อง 355.6 มิลลิเมตร
4) กล้องโทรทรรศน์สังเกตดวงอาทิตย์ ใช้สังเกตดวงอาทิตย์ นำมาให้ชม 1 ตัว คือ
-Coronado Solar Max II 90
ความยาวโฟกัส 800 มิลลิเมตร ขนาดหน้ากล้อง 90 มิลลิเมตร
เป็นกล้องโทรทรรศน์ชนิดเดียวที่สามารถดูดวงอาทิตย์ได้ เนื่องจากมีฟิลเตอร์กรองแสงที่สามารถกันรังสีและความร้อนจากดวงอาทิตย์ ซึ่งถ้าหากนำกล้องโทรทรรศน์แบบธรรมดามาที่ไม่มีแผ่นกรองแสงมาใช้สังเกตดวงอาทิตย์ ผู้ใช้จะตาบอดได้ทันทีเนื่องจากเลนส์จะรวมแสงสะท้อนมายังตาโดยตรง กล้องดูดวงอาทิตย์ที่นำมาแสดงสามารถสังเกตเปลวสุริยะ จุดดับบนดวงอาทิตย์ได้โดยไม่มีอันตราย ส่องดาวเคราะห์ไม่ได้และมีราคาสูงกว่ากล้องโทรทรรศน์ธรรมดามาก
ท้ายสุด เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ชำนาญการ สดร.ยังเผยเกร็ดความรู้แก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการอีกด้วยว่า กำลังขยายของกล้องแต่ละตัวจะไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับกำลังขยาย ความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้ตา (eye piece lens) โดยสามารถคำนวณได้จากความยาวโฟกัสกล้องหารด้วยกำลังขยายของ ความยาวโฟกัสเลนส์ใกล้ตา นอกจากนี้กล้องแต่ละตัวยังสามารถตั้งค่าให้หมุนและถ่ายรูปวัตถุบนท้องฟ้าที่กำลังสังเกตอยู่ได้โดยอัตโนมัติ ผ่านมอเตอร์พิเศษเนื่องจากฐานของกล้องแทบทุกรุ่นเป็นแบบระบบดอปโซเนียม (Dobsonian) ที่สามารถเคลื่อนที่ตามฐานตั้งได้ตามระนาบที่ออกแบบไว้
“สดร. มีความตั้งใจในการนำกล้องโทรทรรศน์ของจริง ซึ่งมีราคาแพงและต้องการการดูแลเป็นอย่างมาก มาแสดงให้ประชาชนและน้องๆได้เห็น ได้สัมผัสของจริง เพราะโอกาสทั่วไปหากไม่ได้มีปรากฏการณ์พิเศษหรือ ขึ้นไปเยี่ยมชมที่หอดูดาวภูมิภาคคงไม่ได้มีให้เห็นกันบ่อยนัก อยากเชิญชวนให้ประชาชนและเยาวชนที่สนใจ มาเยี่ยมชมมหกรรมกล้องโทรทรรศน์นี้ได้ ที่นิทรรศการของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติมหกรรมวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 57 พี่ๆจากสดร.ทุกคนรอให้ความรู้กับน้องๆอยู่ครับ” นายสิทธิพรกล่าว
ผู้สนใจงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2557 สามารถเข้าชมงานได้ฟรี โดยมีรถประจำทางรับส่งจากเซ็นทรัลแอร์พอร์ต และโลตัสคำเที่ยง มาถึงศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 28 สิงหาคม นี้ เวลา 09:00 - 20:00 น.
*******************************
*******************************