xs
xsm
sm
md
lg

12-28 ส.ค."มหกรรมวิทย์" ปีนี้จำลองยุคน้ำแข็งไว้ที่เชียงใหม่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

แมมมอธ หนึ่งในนิทรรศการจากอาร์เจนตินาที่นำมาจัดแสดงในงามหกรรมวิทย์ 57 ระหว่างวันที่ 12-28 ส.ค.57 ณ จังหวัดเชียงใหม่
"มหกรรมวิทย์" ปีนี้ขนนิทรรศการขึ้นไปจัดที่เชียงใหม่ 12-28 ส.ค. ชูไฮไลท์ "ยุคน้ำแข็ง" นิทรรศการจากอาร์เจนตินาที่จำลองให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของโลก สิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวไม่ทันย่อมล้มหายตายจากไป

รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แถลงข่าวการจัดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2557 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-28 ส.ค.57 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่

ระหว่างแถลงข่าวเมื่อวันที่ 30 ก.ค. ณ จตุรัสวิทยาศาสตร์ รศ.ดร.วีระพงษ์ให้เหตุผลที่เปลี่ยนสถานที่จัดงานจากกรุงเทพฯ ไปเป็นเชียงใหม่ว่า เพื่อกระจายโอกาสแก่ประชาชนในต่างจังหวัด โดยได้แสวงหาสถานที่จัดงานที่เหมาะสมใน 3 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคใต้ และพบว่าเชียงใหม่มีความพร้อมทั้งสถานที่และหน่วยงานที่พร้อมให้ความร่วมมือ โดยจะมีการแสดงของชาวเขาเผ่าต่างๆ ภายในงานมหกรรมวิทย์ด้วย

ด้าน นายสาคร ชนะไพฑูรย์ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ในฐานะหน่วยงานผู้ประสานงานหลัก เผยว่า มหกรรมวิทยาศาสตร์ปีนี้จะร่วมฉลองปีสำคัญทางวิทยาศาสตร์ 2 วาระ คือ ปีสากลแห่งผลึกศาสตร์ และปีสากลแห่งเกษตรกรรมแบบครอบครัว

ส่วนไฮไลต์ของงานปีนี้เป็นนิทรรศการยุคน้ำแข็ง (Ice Age Exhibition) จากอาร์เจนตินา ซึ่งมีหุ่นยนต์สัตว์ดึกดำบรรพ์ในยุคไพลสโตซีน 6 ตัว ได้แก่ กลอสโซเธเรียม สลอธดินที่มีขนาดใหญ่ในยุคนั้น พาราร์คโตเธเรียม หมียุคน้ำแข็ง ขนาดใกล้เคียงกับหมีกริซลีย์ ช้างแมมมอธ เสือเขี้ยวดาบ และนิทรรศการโครงกระดูกไดโนเสาร์ 3 ตัว

"นิทรรศการยุคน้ำแข็งเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เชื่อมโยงภาวะโลกร้อน และจำลองให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของโลก สิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวไม่ทันย่อมล้มหายตายจากไปเราอยู่ยากขึ้น หากเรายิ่งเพิ่มการเปลี่ยนแปลง เราอาจอยู่ไม่ได้และสูญพันธุ์ในที่สุด" นายสาครกล่าว


ผลึกจากสารส้ม การทดลองที่ทำเองได้ในบ้าน
เครื่องบินบังคับสำหรับตรวจวัดรังสีผลงานนักวิจัยสำนักปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ที่จะร่วมจัดแสดงในงานมหกรรมวิทย์
กล้องโทรทรรศน์จากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

Instagram









กำลังโหลดความคิดเห็น