เก็บบรรยากาศอินเดียส่งยานไปสำรวจดาวอังคาร เบื้องต้นทุกอย่างยังเป็นไปตามแผน โดยจรวดจะนำยานโคจรรอบโลกเกือบเดือน เพื่อให้มีความเร็วมากพอจะหนีแรงดึงดูดโลกแล้วมุ่งหน้าสู่ดาวอังคาร ซึ่งต้องใช้เวลาร่วม 9 เดือน
มาร์สออร์บิเตอร์มิสชัน (Mars Orbiter Mission) หรือยานมอม (MOM) หรือในชื่ออินเดียว่า “มงคลยาน” (Mangalyaan) ขององค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (Indian Space Research Organisation: ISRO) ทะยานฟ้าจากศูนย์อวกาศตีศธวัน (Satish Dhawan Space Centre SHAR) บนเกาะศรีหริโกฏา เมื่อวันที่ 5 พ.ย.2013 ตามเวลาประเทศไทย โดยการนำส่งของจรวดนำส่งดาวเทียมขั้วโลก (Polar Sattellite Launch Vehicle:PSLV-C25)
ทั้งนี้ จรวดนำส่งต้องพายานโคจรรอบโลกเกือบเดือน เพื่อให้มีความเร็วมากพอจะหนีจากแรงดึงดูดของโลกแล้วมุ่งหน้าสู่ดาวอังคาร เนื่องจากยานไม่มีพลังงานในการขับเคลื่อนด้วยตัวเอง จากนั้นจะใช้เวลาอีก 9 เดือนสู่เป้าหมาย ซึ่งปฏิบัติการครั้งนี้ นอกจากเพื่อแสดงศักยภาพของอินเดียในการเข้าสู่วงโคจรแล้ว ยังจะมีการทดลองทางวิทยาศาสตร์หลายๆ อย่าง เช่น การตรวจมีเทนในบรรยากาศของดาวอังคาร เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม
- MOM ยานสำรวจดาวอังคารของอินเดียทะยานฟ้าแล้ว
- จนๆ อย่างอินเดียจะไปดาวอังคาร
- อย่าดูแคลน! อินเดียเคยพบน้ำแข็งบนดวงจันทร์มาแล้ว
-
อินเดียเปิดตัวสู้ศึกอวกาศแห่งภูมิภาค ส่ง “จันทรายาน” สำรวจผิวดวงจันทร์
-
อินเดียฉลองชัย “จันทรายาน” ปักธงบนดวงจันทร์สำเร็จ
- จันทรายานส่งเรดาร์ลงสำรวจหลุมมืดที่สุดบนดวงจันทร์ ได้เป็นครั้งแรก
-
อินเดียงานเข้า! “จันทรายาน” ร้อนเกินสำรวจดวงจันทร์ต่อ
- อินเดียเชื่อ “จันทรายาน” โหม่งพื้นดวงจันทร์หลังติดต่อไม่ได้
-
อินเดียเปิดบ้าน “ประชุมอวกาศ” ฉลองครึ่งศตวรรษตะลุยนอกโลก
-
ญี่ปุ่น-จีน-อินเดียแข่งสำรวจดวงจันทร์