แม้ดวงจันทร์จะเป็นเพื่อนบ้านในอวกาศของโลกที่อยู่ใกล้เราที่สุด แต่มีหลายเรื่องของบริวารดวงนี้ที่เราอาจไม่เคยรู้ และสเปซด็อทคอมได้รวบรวมไว้ 10 เรื่อง ดังนี้
1.กำเนิดจากการชน
ตามทฤษฎีที่ยอมรับกันส่วนใหญ่ ดวงจันทร์เกิดจากหินอวกาศขนาดเท่าดาวอังคารพุ่งชนโลก หลังระบบสุริยะก่อตัวได้ไม่นาน เมื่อประมาณ 4.5 ล้านปีก่อน
2.ล็อคด้านเดียวเข้าหาโลก
การที่ดวงจันทร์ทั้งหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบโลกที่หมุนรอบตัวเองแล้วโคจรไปรอบดวงอาทิตย์ โดยที่หันด้านเดียวเข้าหาโลกนั้นเป็นเรื่องอัศจรรย์ โดยข้อมูลจากสเปซด็อทคอมระบุว่า แรงโน้มถ่วงโลกทำให้การหมุนรอบแกนหมุนของดวงจันทร์ช้าลง และการหมุนของดวงจันทร์ก็ช้าจนพอดีกับการโคจรรอบโลกและคงที่อยู่เช่นนั้น ซึ่งดวงจันทร์ของดาวเคราะห์อื่นๆ ก็มีรูปแบบคล้ายๆ กัน
เมื่อดวงจันทร์หมุนรอบโลกจะมีช่วงที่รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์มองไม่เห็นจากบนโลก เรียกระยะดังกล่าวว่า “เดือนมืด” (new moon) ดังนั้น จึงไม่มี “ด้านมืดของดวงจันทร์” แต่มีเพียงด้านที่เราไม่เคยได้เห็นเท่านั้น และเมื่อดวงจันทร์หมุนไปตามวงโคจรเราจะได้เห็นเสี้ยวของด้านที่สะท้อนแสงอาทิตย์ด้วยหรือที่เรียกว่า “จันทร์เสี้ยว” และเมื่อดวงจันทร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เราก็จะได้เห็นดวงจันทร์สะท้อนแสงอาทิตย์เต็มๆ หรือที่เรียกว่า “พระจันทร์เต็มดวง”
3.ต้นไม้จากดวงจันทร์
มีต้นไม้กว่า 400 ต้นที่เคยไปไกลถึงดวงจันทร์ก่อนหยั่งรากบนโลก โดยเมื่อปี 1971 สจ็วต รูสา (Stuart Roosa) มนุษย์อวกาศประจำปฏิบัติการอพอลโล 14 (Apollo 14) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ได้นำเมล็ดพันธุ์ติดต่อขึ้นไปด้วย ระหว่างที่ อลัน เชพเพิร์ด (Alan Shepard) และ เอ็ดการ์ มิทเชลล์ (Edgar Mitchell) กับยุ่งอยู่กับการสำรวจไปบนพื้นผิวดวงจันทร์นั้น รูสาก็ทำหน้าที่ปกป้องเมล็ดพันธุ์อยู่ในวงโคจรรอบดวงจันทร์
หลังจากกลับมายังโลกเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นก็ถูกปลูกไปทั่วสหรัฐฯ และเจริญงอกงามดี ซึ่งส่วนใหญ่ยังเติบโตดีและถูกเรียกว่า “ต้นดวงจันทร์”
4.ดวงจันทร์อาจมีน้องสาว
ดวงจันทร์อาจไม่ใช่บริวารเพียงดวงเดียวของโลก โดยเมื่อปี 1999 นักวิทยาศาสตร์ได้พบอุกกาบาตขนาด 5 กิโลเมตร ที่ถูกจับไว้ด้วยแรงโน้มถ่วงโลก เมื่อเป็นเช่นนั้นอุกกาบาตดังกล่าวซึ่งถูกเรียกว่า “ครูธเน” (Cruithne) จึงกลายเป็นบริวารของโลกไปโดยปริยาย น้องสาวของดวงจันทร์ดวงนี้ใช้เวลา 770 ปีโคจรรอบโลกเป็นรูปเกือกม้า ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ระบุว่าอุกกาบาตลูกนี้จะอยู่ในอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงโลกไปอย่างน้อย 5,000 ปี
5.ผ่านไปหลายล้านปีพื้นผิวก็ไม่เปลี่ยนแปลง
มีหลุมอุกกาบาตลึกขนาดใหญ่บนดวงจันทร์ ซึ่งเป็นผลจากการถูกหินอุกกาบาตพุ่งชนอย่างรุนแรงเมื่อระหว่าง 4.1-3.8 พันล้านปีก่อนหน้านี้ ซึ่งร่องรอยความรุนแรงดังกล่าวไม่สึกกร่อนเป็นเพราะ 2 เหตุผลหลัก คือ ดวงจันทร์ไม่มีความเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยามากเหมือนโลก ไม่ว่าภูเขาไฟหรือภูเขาก็ไม่ทำลายภูมิทัศน์เหมือนอย่างบนโลก และอีกเหตุผลคือดวงจันทร์แทบจะไม่มีชั้นบรรยากาศ ดังนั้น การสึกกร่อนจึงเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย
6.ดวงจันทร์ไม่กลม
รูปร่างของดวงจันทร์คล้ายรูปร่างของไข่มากกว่า และศูนย์กลางมวลของดวงจันทร์ไม่ได้อยู่ตรงศูนย์กลางตามรูปทรงเรขาคณิต แต่อยู่ห่างจากศูนย์กลางรูปทรงเรขาคณิตดังกล่าวออกมา 2 กิโลเมตร
7.“มูนเควก” ดวงจันทร์ไหว
มนุษย์อวกาศในโครงการอพอลโลได้ใช้เครื่องมือวัดการสั่นสะเทือนบนดวงจันทร์ และพบว่าดวงจันทร์เทาๆ นี้ยังไม่ได้ตายด้าน แต่ยังยังมีการสั่นสะเทือนเบาๆ ที่มีต้นกำเนิดแรงสั่นสะเทือนอยู่ลึกใต้พื้นผิวลงไปหลายกิโลเมตร ซึ่งเชื่อว่าการสั่นสะเทือนนั้นเป็นผลพวงจากแรงดึงของแรงโน้มถ่วงโลก บางครั้งมีรอยแยกบนพื้นผิวและมีก๊าซเล็ดลอดออกมา
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าบางทีดวงจันทร์อาจจะมีแกนกลางที่ร้อนจัดหรืออาจจะหลอมเหลวด้วยบางส่วน เหมือนแกนกลางของโลก แต่ข้อมูลจากยานอวกาศลูนาร์โพรสเปคเตอร์ (Lunar Prospector) ของนาซาได้เผยให้เห็นตั้งแต่ปี 1999 ว่า แกนกลางของดวงจันทร์นั้นเล็กมาก อาจมีมวลอยุ่เพียง 2-4% ของมวลทั้งหมด ซึ่งเล็กมากเมื่อเทียบกับโลกที่มีแกนเป็นเหล็กและมีมวลถึง 30% ของมวลทั้งหมด
8.ดวงจันทร์อาจจะเป็นดาวเคราะห์?
ดวงจันทร์ของเราใหญ่กว่าพลูโต และมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวๆ 1 ใน 4 ของเส้นผ่านศูนย์กลางโลก นักวิทยาศาสตร์บางส่วนเชื่อว่า ดวงจันทร์น่าจะเป็นดาวเคราะห์มากกว่า และเรียกระบบโลกกับดวงจันทร์ว่า “ดาวเคราะห์คู่” (double planet) ซึ่งพลูโตและชารอน (Charon) ซึ่งเป็นดวงจันทร์ก็ถูกเรียนกว่า “ระบบดาวเคราะห์คู่” จากนักวิทยาศาสตร์บางส่วนด้วย
9.กระตุกน้ำขึ้น-น้ำลง
เป็นที่ทราบดีว่าปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลงบนโลกนั้นได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากดวงจันทร์ ขณะที่ดวงอาทิตย์มีอิทธิพลต่อน้ำขึ้นน้ำลงเพียงเล็กน้อย โดยแรงดึงดูดของดวงจันทร์จะดึงน้ำในมหาสมุทร โดยน้ำขึ้นจะเกิดขึ้นเมื่อโลกเรียงอยู่ในระดับใต้ดวงจันทร์ และอีกกรณีคือด้านของโลกที่ไปไม่ได้หันเข้าหาดวงจันทร์จะเกิดน้ำขึ้น เพราะแรงดึงดูดดึงโลกเข้าหาดวงจันทร์มากกว่าดึงน้ำ และเมื่อพระจันทร์เต็มดวงกับคืนเดือนมืด ดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์จะเรียงเป็นแวเดียวกัน ทำให้เกิดน้ำขึ้นสูงกว่าปกติ
นอกจากนี้แรงดึงจากดวงจันทร์ยังทำให้โลกหมุนช้าลง เนื่องจากพลังงานการหมุนของโลกถูกดวงจันทร์ดึงไป ทำให้โลกของเราช้าลงประมาณ 1.5 มิลลิวินาทีทุกๆ 100 ปี
10.เตรียมบอกลาดวงจันทร์
ดวงจันทร์กำลังเคลื่อนออกห่างจากโลกไปเรื่อยๆ ในทุกปีดวงจันทร์ขโมยพลังงานจากโลก และใช้ในการขับดันตัวเองให้วงโคจรถ่างออกไป 3.8 เซ็นติเมตร ซึ่งนักวิจัยเผยว่า เมื่อดวงจันทร์เริ่มก่อกำเนิดนั้นอยู่ห่างจากโลกเพียง 22,530 กิโลเมตร แต่ตอนนี้ดวงจันทร์อยู่ห่างออกไป 450,000 แล้ว
1.กำเนิดจากการชน
ตามทฤษฎีที่ยอมรับกันส่วนใหญ่ ดวงจันทร์เกิดจากหินอวกาศขนาดเท่าดาวอังคารพุ่งชนโลก หลังระบบสุริยะก่อตัวได้ไม่นาน เมื่อประมาณ 4.5 ล้านปีก่อน
2.ล็อคด้านเดียวเข้าหาโลก
การที่ดวงจันทร์ทั้งหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบโลกที่หมุนรอบตัวเองแล้วโคจรไปรอบดวงอาทิตย์ โดยที่หันด้านเดียวเข้าหาโลกนั้นเป็นเรื่องอัศจรรย์ โดยข้อมูลจากสเปซด็อทคอมระบุว่า แรงโน้มถ่วงโลกทำให้การหมุนรอบแกนหมุนของดวงจันทร์ช้าลง และการหมุนของดวงจันทร์ก็ช้าจนพอดีกับการโคจรรอบโลกและคงที่อยู่เช่นนั้น ซึ่งดวงจันทร์ของดาวเคราะห์อื่นๆ ก็มีรูปแบบคล้ายๆ กัน
เมื่อดวงจันทร์หมุนรอบโลกจะมีช่วงที่รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์มองไม่เห็นจากบนโลก เรียกระยะดังกล่าวว่า “เดือนมืด” (new moon) ดังนั้น จึงไม่มี “ด้านมืดของดวงจันทร์” แต่มีเพียงด้านที่เราไม่เคยได้เห็นเท่านั้น และเมื่อดวงจันทร์หมุนไปตามวงโคจรเราจะได้เห็นเสี้ยวของด้านที่สะท้อนแสงอาทิตย์ด้วยหรือที่เรียกว่า “จันทร์เสี้ยว” และเมื่อดวงจันทร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เราก็จะได้เห็นดวงจันทร์สะท้อนแสงอาทิตย์เต็มๆ หรือที่เรียกว่า “พระจันทร์เต็มดวง”
3.ต้นไม้จากดวงจันทร์
มีต้นไม้กว่า 400 ต้นที่เคยไปไกลถึงดวงจันทร์ก่อนหยั่งรากบนโลก โดยเมื่อปี 1971 สจ็วต รูสา (Stuart Roosa) มนุษย์อวกาศประจำปฏิบัติการอพอลโล 14 (Apollo 14) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ได้นำเมล็ดพันธุ์ติดต่อขึ้นไปด้วย ระหว่างที่ อลัน เชพเพิร์ด (Alan Shepard) และ เอ็ดการ์ มิทเชลล์ (Edgar Mitchell) กับยุ่งอยู่กับการสำรวจไปบนพื้นผิวดวงจันทร์นั้น รูสาก็ทำหน้าที่ปกป้องเมล็ดพันธุ์อยู่ในวงโคจรรอบดวงจันทร์
หลังจากกลับมายังโลกเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นก็ถูกปลูกไปทั่วสหรัฐฯ และเจริญงอกงามดี ซึ่งส่วนใหญ่ยังเติบโตดีและถูกเรียกว่า “ต้นดวงจันทร์”
4.ดวงจันทร์อาจมีน้องสาว
ดวงจันทร์อาจไม่ใช่บริวารเพียงดวงเดียวของโลก โดยเมื่อปี 1999 นักวิทยาศาสตร์ได้พบอุกกาบาตขนาด 5 กิโลเมตร ที่ถูกจับไว้ด้วยแรงโน้มถ่วงโลก เมื่อเป็นเช่นนั้นอุกกาบาตดังกล่าวซึ่งถูกเรียกว่า “ครูธเน” (Cruithne) จึงกลายเป็นบริวารของโลกไปโดยปริยาย น้องสาวของดวงจันทร์ดวงนี้ใช้เวลา 770 ปีโคจรรอบโลกเป็นรูปเกือกม้า ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ระบุว่าอุกกาบาตลูกนี้จะอยู่ในอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงโลกไปอย่างน้อย 5,000 ปี
5.ผ่านไปหลายล้านปีพื้นผิวก็ไม่เปลี่ยนแปลง
มีหลุมอุกกาบาตลึกขนาดใหญ่บนดวงจันทร์ ซึ่งเป็นผลจากการถูกหินอุกกาบาตพุ่งชนอย่างรุนแรงเมื่อระหว่าง 4.1-3.8 พันล้านปีก่อนหน้านี้ ซึ่งร่องรอยความรุนแรงดังกล่าวไม่สึกกร่อนเป็นเพราะ 2 เหตุผลหลัก คือ ดวงจันทร์ไม่มีความเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยามากเหมือนโลก ไม่ว่าภูเขาไฟหรือภูเขาก็ไม่ทำลายภูมิทัศน์เหมือนอย่างบนโลก และอีกเหตุผลคือดวงจันทร์แทบจะไม่มีชั้นบรรยากาศ ดังนั้น การสึกกร่อนจึงเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย
6.ดวงจันทร์ไม่กลม
รูปร่างของดวงจันทร์คล้ายรูปร่างของไข่มากกว่า และศูนย์กลางมวลของดวงจันทร์ไม่ได้อยู่ตรงศูนย์กลางตามรูปทรงเรขาคณิต แต่อยู่ห่างจากศูนย์กลางรูปทรงเรขาคณิตดังกล่าวออกมา 2 กิโลเมตร
7.“มูนเควก” ดวงจันทร์ไหว
มนุษย์อวกาศในโครงการอพอลโลได้ใช้เครื่องมือวัดการสั่นสะเทือนบนดวงจันทร์ และพบว่าดวงจันทร์เทาๆ นี้ยังไม่ได้ตายด้าน แต่ยังยังมีการสั่นสะเทือนเบาๆ ที่มีต้นกำเนิดแรงสั่นสะเทือนอยู่ลึกใต้พื้นผิวลงไปหลายกิโลเมตร ซึ่งเชื่อว่าการสั่นสะเทือนนั้นเป็นผลพวงจากแรงดึงของแรงโน้มถ่วงโลก บางครั้งมีรอยแยกบนพื้นผิวและมีก๊าซเล็ดลอดออกมา
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าบางทีดวงจันทร์อาจจะมีแกนกลางที่ร้อนจัดหรืออาจจะหลอมเหลวด้วยบางส่วน เหมือนแกนกลางของโลก แต่ข้อมูลจากยานอวกาศลูนาร์โพรสเปคเตอร์ (Lunar Prospector) ของนาซาได้เผยให้เห็นตั้งแต่ปี 1999 ว่า แกนกลางของดวงจันทร์นั้นเล็กมาก อาจมีมวลอยุ่เพียง 2-4% ของมวลทั้งหมด ซึ่งเล็กมากเมื่อเทียบกับโลกที่มีแกนเป็นเหล็กและมีมวลถึง 30% ของมวลทั้งหมด
8.ดวงจันทร์อาจจะเป็นดาวเคราะห์?
ดวงจันทร์ของเราใหญ่กว่าพลูโต และมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวๆ 1 ใน 4 ของเส้นผ่านศูนย์กลางโลก นักวิทยาศาสตร์บางส่วนเชื่อว่า ดวงจันทร์น่าจะเป็นดาวเคราะห์มากกว่า และเรียกระบบโลกกับดวงจันทร์ว่า “ดาวเคราะห์คู่” (double planet) ซึ่งพลูโตและชารอน (Charon) ซึ่งเป็นดวงจันทร์ก็ถูกเรียนกว่า “ระบบดาวเคราะห์คู่” จากนักวิทยาศาสตร์บางส่วนด้วย
9.กระตุกน้ำขึ้น-น้ำลง
เป็นที่ทราบดีว่าปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลงบนโลกนั้นได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากดวงจันทร์ ขณะที่ดวงอาทิตย์มีอิทธิพลต่อน้ำขึ้นน้ำลงเพียงเล็กน้อย โดยแรงดึงดูดของดวงจันทร์จะดึงน้ำในมหาสมุทร โดยน้ำขึ้นจะเกิดขึ้นเมื่อโลกเรียงอยู่ในระดับใต้ดวงจันทร์ และอีกกรณีคือด้านของโลกที่ไปไม่ได้หันเข้าหาดวงจันทร์จะเกิดน้ำขึ้น เพราะแรงดึงดูดดึงโลกเข้าหาดวงจันทร์มากกว่าดึงน้ำ และเมื่อพระจันทร์เต็มดวงกับคืนเดือนมืด ดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์จะเรียงเป็นแวเดียวกัน ทำให้เกิดน้ำขึ้นสูงกว่าปกติ
นอกจากนี้แรงดึงจากดวงจันทร์ยังทำให้โลกหมุนช้าลง เนื่องจากพลังงานการหมุนของโลกถูกดวงจันทร์ดึงไป ทำให้โลกของเราช้าลงประมาณ 1.5 มิลลิวินาทีทุกๆ 100 ปี
10.เตรียมบอกลาดวงจันทร์
ดวงจันทร์กำลังเคลื่อนออกห่างจากโลกไปเรื่อยๆ ในทุกปีดวงจันทร์ขโมยพลังงานจากโลก และใช้ในการขับดันตัวเองให้วงโคจรถ่างออกไป 3.8 เซ็นติเมตร ซึ่งนักวิจัยเผยว่า เมื่อดวงจันทร์เริ่มก่อกำเนิดนั้นอยู่ห่างจากโลกเพียง 22,530 กิโลเมตร แต่ตอนนี้ดวงจันทร์อยู่ห่างออกไป 450,000 แล้ว