xs
xsm
sm
md
lg

ผลถอดจีโนมชี้ “เสือ-สิงห์” คือ “แมวตัวโต”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

แทกึก (Taegeuk) เสือไซบีเรียจากสวนสัตว์เอเวอร์แลนด์ (Everland Zoo) ในเกาหลีใต้ ต้นแบบที่ถูกถอดจีโนม
ผลงานวิจัยถอดจีโนมเสือ สิงโต และเสือดาวหิมะ ของทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติในความพยายามอนุรักษ์สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ พบมียีนร่วมกับแมวถึง 96% และยังเป็นเบาะแสให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจว่า แมวใหญ่เหล่านี้มีวิวัฒนาการจนกลายเป็นนักล่าที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรง และกลายเป็นสัตว์กินเนื้อได้อย่างไร

งานวิจัยดังกล่าวตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์คอมมูนิเคชันส์ (Nature Communications) ซึ่งบีบีซีนิวส์ระบุว่า จนถึงปัจจุบันมีเพียงแมวบ้านที่ได้รับการทำแผนที่พันธุกรรม แต่ล่าสุดทีมนักวิทยาศาสตร์ที่นำโดย ยุน ซุง โช (Yun Sung Cho) จากสถาบันจีโนมส่วนบุคคล (Personal Genomics Institute) ของมูลนิธิวิจัยจีโนม (Genome Research Foundation) ในเกาหลีใต้ ได้ถอดจีโนม เสือโคร่งไซบีเรีย เสือโคร่งเบงกอล สิงโตแอฟริกัน เสือดาวหิมะ และสิงโตขาวแอฟริกัน
ซันดอล (SunDol) สิงโตแอฟริกันจากสวนสัตว์เอเวอร์แลนด์ ที่เป็นต้นแบบในการถอดจีโนมสิงโตแอฟริกัน
การถอดจีโนมดังกล่าวจะทำให้พวกเขาเปรียบเทียบได้ว่ายีนในสัตว์เหล่านี้ตรงกับของสมาชิกอื่นๆ ในตระกูลแมวอย่างไร และพันธุกรรมเฉพาะจะแสดงให้เห็นว่า แมวใหญ่เหล่านี้มีกล้ามเนื้อที่แข้งแรงมาได้อย่างไร รวมถึงความสามารถในการกินเนื้อปริมาณมหาศาล และมีสัมผัสในการดมกลิ่นที่ยอดเยี่ยมได้อย่างไร

งานวิจัยนี้ยังจะเป็นข้อมูลพันะกรรมที่บอกได้ว่า สิงดตขาวนั้นมีขนสีซีดคลุมกายได้เช่นไร แล้วเสือดาวหิมะปรับตัวให้เข้ากับภูมิประเทศที่รายล้อมด้วยภูเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะได้อย่างไร ซึ่งหนึ่งในทีมวิจัยคือ จง ปัค (Jong Bhak) กล่าวว่า การส้รางแผนที่พันธุกรรมเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ
สโนว์เกิร์ล (Snow girl) จากสวนสัตว์เดียวกัน เป็นต้นแบบจีโนมสิงโตขาว
ประเมินว่าประชากรเสือในธรรมชาติปัจจุบันเหลืออยู่น้อยกว่า 4,000 ตัว ซึ่งตอนนี้การอนุรักษ์เสือในธรรมชาติกลานเป็นเป้าหมายหลักของการอนุรักษ์ โดยปัคกล่าวว่าข้อมูลจีดนมอ้างอิงของเสือที่พวกเขาทำขึ้นมานั้น นำไปใช้เป็นฐานสำหรับเปรียบกับเสืออื่นๆ ทั่วโลกได้ ซึ่งจะทำให้รู้ถึงความหลากหลายทางพันธุกรรมของเสือ และจะวางแผนได้อย่างเป็นรูปธรรมในการผสมพันธุ์เสือในสวนสัตว์โดยรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมไว้

ปัคกล่าวอีกว่า สัตว์ตระกูลแมวประสบความสำเร็จสูงในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในฐานะนักล่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นในพันธุกรรมของทั้งเสือและแมวบ้าน

“เสือก็แค่แมวบ้านตัวใหญ่นั่นเอง พวกมันอาจมีความใกล้ชิดกันมากกว่าที่เรานึก” ปัคกล่าว

คาร์ลอส ดริสคอลล์ (Carlos Driscoll) ประธาน WWF ในด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมของสถาบันสัตว์ป่าแห่งอินเดีย (Wildlife Institute of India) กล่าวถึงรายงานวิจัยการถอดจีโนมเสือนี้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนในการอนุรักษ์ และเป็นการถอดจีโนมเสือคครั้งแรก ซึ่งเป็นการนำศาสตร์ทางด้านพันธุกรรมมาสู่การอนุรักษ์สัตว์เหล่านี้ ซึ่งจะเป็นการปกป้องที่แผ่ไปยังสัตว์อื่นและถิ่นอาศัยของสัตว์

สำหรับงานวิจัยนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์เกาหลียังมีความร่วมมือกับทีมนักวิจัยในจีน สหรัฐฯ รัสเซีย นามิเบีย แอฟริกาใต้ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ซาอุดิอารเบีย อินเดีย และมองโกลเลีย







กำลังโหลดความคิดเห็น