(การไหลไม่ใช่แค่นั้น ตอนที่ 3)
วิทยาศาสตร์อธิบายระบบธรรมชาติจริงได้ฉันใด วิทยาศาสตร์สังคมก็น่าจะอธิบายระบบสังคมจริงได้ (ในระดับหนึ่ง) ฉันนั้น บางอย่างที่แตกต่างกันก็คือการไหลหรือการถ่ายโอนในทางกายภาพนั้น เป็นการย้ายตำแหน่งที่อยู่ของปริมาณที่เราสนใจ แต่การไหลในทางสังคมนั้นไม่จำเป็นว่าต้องเป็นการย้ายตำแหน่งที่อยู่ แต่อาจเป็นการเปลี่ยนมือของผู้ถือครองปริมาณ เช่น ทรัพยากร หรืออำนาจ หรือข้อมูลข่าวสาร
หลังจากที่ได้เล่าเรื่องการไหลหรือการถ่ายโอนปริมาณในระบบกายภาพและระบบสังคมกันมาบ้างแล้วในสองตอนที่ผ่านมา เราลองมาพิจารณาว่าการเปิดเขตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (A.E.C.) จะเกิดการไหลของอะไรขึ้นบ้าง
เรื่องอาเซียนนั้นน่าสนใจครับ เพราะว่าระบบอาเซียนเป็นระบบเชิงสังคมซึ่งมีเรื่องของขอบเขตและศักย์ของการไหลที่มีอำนาจมากจึงน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการอธิบายการไหลเชิงสังคมได้ และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือเรื่องของอาเซียนเป็นเรื่องที่กล่าวถึงในสื่อปัจจุบันอย่างกว้างขวาง
น่าสังเกตุว่าในสื่อต่างๆทุกวันนี้จะมีเรื่องของการรณรงค์ทำความเข้าใจเรื่องของอาเซียนและเรื่องของวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ผมก็ยังไม่เข้าใจว่ามันจะเข้ากันได้อย่างไร เท่าที่ผมทราบรากฐานของแนวเศรษฐกิจแบบพอเพียงนั้นมาจากการไม่โลภ การไม่หลง การผูกรวมคุณค่าเชิงจิตใจสังคมและวิถีชนเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ได้ถือเอาแนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบตะวันตกมาใช้เสียทั้งหมด และก็ไม่ได้อยู่ในแบบจำลองทางเศรษฐกิจแบบตะวันตก ที่ว่ามนุษย์ย่อมต้องการอรรถประโยชน์สูงสุดในการใช้จ่ายด้วยเงินหรือทรัพยากรที่น้อยที่สุด กิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่จำเป็นต้องใช้เงินเป็นตัวกลางในการซื้อขายเสมอไป จึงไม่อาจวัดได้ด้วยกลไกภาษี อากร หรืออื่นๆ โดยสมบูรณ์แบบ
การเปิดให้ประเทศในอาเซียนเป็นประชาคมเศรษฐกิจเดียว ก็คือการเปิดขอบเขตกำแพงซึ่งขวางกั้นศักย์แห่งการไหลเชิงเศรษฐกิจ เช่นเรื่องของกำแพงภาษีและกำแพงข้อกฎหมายอื่นๆ ซึ่งขวางกั้นศักย์ของปัจจัยการผลิตทั้งสี่คือทุน แรงงาน ผู้ประกอบการและการมีสิทธิ์ในที่ดินข้ามพรมแดนประเทศ ประเทศหลักๆในอาเซียนนั้นมีเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยทุน ดังนั้นการเป็นทุนนิยมที่แข่งขันโดยเสรีย่อมเหนี่ยวนำให้ระบบเศรษฐกิจวิวัฒน์ไปในรูปแบบที่สร้างช่องว่างทางชนชั้นมากยิ่งขึ้น และถูกกำกับโดยรัฐในการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นสาธารณูปโภคหลัก รากฐานของทุนนิยมเสรีนั้นคือการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้เกิดความอยากได้ อยากมี อยากใช้สินค้าและบริการ มีการแข่งขันในการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการเพื่อดึงดูดลูกค้าให้มีความมอยากได้ อยากมี อยากใช้สินค้าและบริการของแต่ละผู้ผลิตเพื่อไม่ให้ไปใช้สินค้าและบริการของผู้ผลิตรายอื่น
สังคมไทยทุกวันนี้เต็มไปด้วยคนตามน้ำ คนตามน้ำจะรู้ปลอดภัยและไม่รู้สึกว่าตนเองตกอยู่ในอันตรายที่ไม่ได้เข้าไปขวางความเห็นของใครแม้ว่าจะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ก่ออาจจะไม่ใช่แนวคิดที่ตนเองเห็นด้วยหรือไม่ได้เป็นแนวทางที่ดีที่สุด พฤติกรรมตามน้ำเช่นนี้สร้างความไร้เสถียรภาพเชิงพลวัตขึ้นได้ คล้ายๆกับการพังทลาย (avalanche) ของหิมะ คือมีปรากฎการณ์เทกระจาดที่ผู้มีอำนาจเพียงกลุ่มเล็กๆสั่งไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ ทุกคนก็จะตามน้ำคือทำตามโดยไม่ทักท้วง เช่นที่เห็นอยู่ในวงการศึกษาไทยที่กระบวนการตรวจสอบคุณภาพที่มีทำให้คนทำงานดีๆหลายคนหมดพลังลงไปมากมาย ทั้งๆที่มีผู้ไม่เห็นด้วยอยู่มากมายแต่ก็มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่แสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผย สังคมไทยไม่ได้ขาดแคลนคนเก่งและคนดี แต่สังคมไทยขาดคนกล้า หากมีประชากรแบบนี้ก็ทำให้ประเทศเสียเปรียบอย่างมากและประเทศจะถูกเอาเปรียบได้เมื่อมีการเปิดเขตเศรษฐกิจระหว่างประเทศขึ้น
มีข้อดีหลายข้อสำหรับการเปิดกำแพงอาเซียนซึ่งมีผู้กล่าวไว้ในที่ต่างๆแล้ว ในบทความนี้ผมอยากจะแสดงมุมมองอีกด้านหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยพยายามอธิบายด้วยทัศนะของฟิสิกส์ ตัวอย่างเช่นการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศ EU ในยุโรป โดยหลักการแล้วหากมีปัญหาทางเศรษฐกิจหรือการเมืองเกิดขึ้นระบบที่เป็นระบบเอกพันธ์จะรับรู้ถึงปัญหาร่วมกันและปัญหาที่เกิดขึ้นย่อมเป็นปัญหาของทุกประเทศร่วมกันเพราะมันสามารถลุกลามไปได้เนื่องจากปราศจากกำแพงทางเศรษฐกิจ การตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นควรเป็นไปในแนวทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมคือกลุ่มประเทศ EU ทั้งหมด แต่ในทางปฏิบัติแล้วนั้นรัฐบาลของแต่ละประเทศจะมุ่งรักษาผลประโยชน์ของประเทศของตนมากกว่าผลประโยชน์ของ EU ในภาพรวม นอกจากนี้แต่ละประเทศก็ยังมีปัญหาการเมืองภายใน ซึ่งส่งผลให้การตัดสินใจแก้ปัญหาเป็นไปอย่างเชื่องช้า และสายเกินแก้เช่นในกรณีที่เกิดขึ้นกับประเทศกรีซในปัจจุบัน
ในทางวิทยาศาสตร์นั้นระบบที่ถูกกั้นขวางด้วยกำแพง หรือขอบเขตทางกายภาพ นั้นจะมีสมบัติเชิงอำนาจหรือเชิงศักย์ของระบบแตกต่างกัน เช่น domain wall ที่กั้นระหว่างผลึกเดี่ยวของสารเฟร์โรอิเล็กตริก ในแต่ละ domainของผลึกเดี่ยวเหล่านี้จะมีทิศทางและขนาดของโมเมนต์ขั้วไฟฟ้า (electric dipole moment) แตกต่างกัน การหายไปของ domain wall จะเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิของสารเพิ่มขึ้นเกินกว่าค่า “อุณหภูมิกูรี” (Curie temperature) และสารระบบนี้จะเปลี่ยนไปเป็นระบบที่เรียกว่า พาราอิเล็กตริก (paraelectric) ซึ่งเป็นระบบเอกพันธ์คือเป็นเนื้อเดียว หากแต่ละประเทศเป็นเช่น domain wall ของสารนี้แล้ว การหายไปของขอบกำแพงเศรษฐกิจควรเกิดขึ้นเมื่อ “อุณหภูมิเชิงเศรษฐศาสตร์มหภาค” มีค่าเกินกว่าค่าวิกฤติค่าหนึ่ง ?
หากมีการไหลของปัจจัยการผลิต(รวมทั้งแรงงาน) เข้ามาและสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน (หากยอมให้ถือครองได้โดยชาวประเทศอื่นในอาเซียน) การทำลายล้างกระแสความคิดเก่าๆวัฒนธรรมและความเชื่อเดิมๆ นั้นอาจทำได้ไม่ยากเลย แค่รับเอากระแสธารทางวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามา การเปิดรับประชากรที่นิยามคำว่าคุณค่าแตกต่างไปจากความเป็นไทยแต่เดิมจากประเทศอื่นๆเข้ามาทำงานในประเทศ ลงหลักปักฐานในประเทศ และมีลูกหลานที่มีสัญชาติไทย แต่ใช้ภาษาเดิมเป็นภาษาในครอบครัว และดูโทรทัศน์ช่องภาษาอังกฤษจากประเทศอื่นและเรียนในโรงเรียนเฉพาะสำหรับเด็กนานาชาติ ประชากรที่เกิดใหม่กลุ่มนี้จะเป็นประชากรที่แตกต่างไปจากประชากรเดิม คงคล้ายกับสังคมอเมริกันที่มีชาวเอเชียอพยพเข้าไปอยู่เมื่อกว่าห้าสิบปีที่แล้ว
เพิ่งได้กล่าวไปข้างต้นว่านอกจากการไม่ได้รวมกันเป็นระบบเอกพันธ์เนื้อเดียวของกลุ่มประเทศ EU ที่อาจมีความไม่คล่องตัวต่อการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นจนทำให้ระบบขาดเสถียรภาพ เราลองมองข้อแตกต่างและข้อเสียของ EU และของทั้งสองมหาอำนาจเอเชียคือ จีนและอินเดียที่เราจะต้องแข่งขันด้วย
EU มีความคล้ายคลึงกันทางชาติพันธุ์ภาษาและศาสนาพอสมควร ในขณะที่ A.E.C. มีความแตกต่างกันทางภาษา ชาติพันธุ์และศาสนามากกว่า ความแตกต่างกันด้านภาษาและคุณค่าเชิงสังคมอาจเป็นปัญหาได้ สำหรับ E.U. แล้วประเทศต่างๆมีภูมิประเทศที่ต่อเนื่องกัน ไม่เหมือนกับ A.E.C. ที่มีทะเลขวางกั้นหลายประเทศออกจากกัน ระบบการปกครองของประเทศสมาชิกในทั้ง EU และ A.E.C. นั้นแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีปัญหาเรื่องของสิ่งแวดล้อมและมลภาวะสูงมาก หาก A.E.C. จะเป็นเหมือนทั้งสองประเทศนี้ ประเทศสมาชิกที่มีกฎหมายสิ่งแวดล้อมอ่อนแอและมีคนประเภทที่ตามน้ำย่อมถูกเอาเปรียบได้จากประเทศสมาชิกอื่นๆที่มีอำนาจทุนเหนือกว่า
ในแง่ของวิถีชีวิตและความเชื่อแล้ว สำหรับจีนคุณค่าของวิถีชีวิตและความเชื่อจีนโบราณได้ถูกทำลายลงไปหลายครั้งจากผลทางเหตุการณ์ทางการเมือง และสำหรับอินเดียแล้ววิถีแนวทางแบบโบราณกำลังค่อยๆถูกกลืนกินด้วยกระแสวัฒนธรรมตะวันตกที่มาพร้อมๆกันความเป็นทุนนิยม ในแง่ของชนชั้นและช่องว่างทางสังคมนั้นทั้งจีนและอินเดียล้วนมีปัญหาเรื่องชนชั้นทางสังคม ต่างกันก็ตรงที่อินเดียมีปัญหานี้มานานมากแล้ว
ในระบบสังคม เราอาจมี pole ของปัจจัยการผลิตได้หรือ pole ของผู้ผลิตที่มีศักยภาพได้กระจายตามที่ต่างๆ โดยมีศักย์ของปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการแตกต่างกัน pole เหล่านี้นิยามได้ในหลายประเด็น เช่น pole ของเงินทุน, pole ของผู้ประกอบการ, pole ของการผลิตสินค้าและบริการทางการศึกษา (เช่น pole ของมหาวิทยาลัยที่ดีๆ จะอยู่ตามเมืองใหญ่) pole แต่ละอันมีศักย์ที่มีค่ามากอยู่ เช่น ที่สิงค์โปร์ มี pole ที่มีศักย์สูงของการผลิตการบริการทางการให้การศึกษาชั้นสูงอยู่
การเปิดพรมแดนในแง่ของ ภาษี ข้อระเบียบ และกฎหมาย จึงเป็นการเปิดโอกาสให้มีการไหลถ่ายโอนของปัจจัยการผลิต ผู้บริโภค และผู้ผลิต ข้ามพรมแดนกันโดยสะดวกมากขึ้น การไหลบ่านี้ย่อมเปลี่ยนประเทศของเราไปอย่างมาก การไหลของหน่วยทางเศรษฐกิจเช่นนี้ย่อมทำให้โดยภาพรวมแล้วประชาคมอาเซียนจะแข็งแกร่งและมีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น แต่เมื่อมองแบบแยกส่วนทีละประเทศแล้วย่อมมีความได้เปรียบเสียเปรียบขึ้นอย่างแน่นอน
ผมแค่หวังว่าประเทศของเราคงไม่กลายเป็นสถานที่ตั้งโรงงานเพราะแรงงานเราราคาถูกกว่า และกฎหมายกับองค์กรทางสิ่งแวดล้อมของเราหลวมและมีช่องทางหลีกเลี่ยงได้มากกว่าประเทศอื่น หวังว่าคงไม่มีโลหะหนัก สารพิษทิ้งในบ้านเรา หวังว่าแรงงานของประเทศเราจะไม่ได้มีแต่กรรมกร แต่จะมีแรงงานที่เป็นวิชาชีพเฉพาะเช่น หมอ นักวิทยาศาสตร์ หรือวิศวกรด้วย และด้วยการไหลของผู้ผลิต ผู้บริโภค และปัจจัยการผลิตนี้ ผมได้แต่หวังว่าทรัพยากรบนแผ่นดินที่ปู่ ย่า ตา ยาย ของพวกเราได้ปกป้องรักษาเอาไว้ จะไม่ถูกสูบออกไปจากประเทศเราอย่างไม่เป็นธรรม
หวังว่าการไหลบ่าทางเศรษฐกิจและแน่นอนย่อมมีการไหลถ่ายทอดเชื้อชาติประชากรและวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาด้วยจะไม่ทำให้ความเป็นไทย ที่มีสถาบันทั้งสามอันเป็น “คุณค่า” ที่ตั้งอยู่ในใจของคนไทย คือ ชาติ ศาสนา และองค์ในหลวงอันเป็นที่รักยิ่งได้รับผลกระทบใดๆ และสุดท้ายหวังว่าคนไทยจะไม่ตั้งอยู่ในกระแสเสรีทุนนิยม บริโภคนิยมจนลืมคุณค่าทางจิตใจตามวิถีพอเพียง
พบกันใหม่ตอนหน้าครับ
Perspective 7
บุรินทร์ กำจัดภัย
สำเร็จการศึกษาด้านฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยาจากประเทศอังกฤษ
มีอาชีพเป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ปัจจุบันทำงานวิจัยและสอนในฐานะอาจารย์ประจำที่สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ฯ วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน หรือ IF มหาวิทยาลัยนเรศวร
Perspective 7 เป็นบทความเกี่ยวกับทรรศนะของตัวผู้เขียนเองซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ ต่อธรรมชาติ สังคม และปรัชญา ทรรศนะเหล่านี้นำเสนอในหลายประเด็นผ่านหลายเรื่องราวจากประสบการณ์ของผู้เขียนเองโดยผ่านเลนส์ตาของวิทยาศาสตร์
“สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าศีลธรรมและจารีต คือ สติและการรู้จักตัวตนของตัวเอง”
Editor's Note: บทความ Perspective7 มาล่าช้า เนื่องจาก ดร.บุรินทร์ ติดภารกิจและงดบทความประจำเดือน ส.ค. แฟนๆ รอติดตามได้อีก 2 เดือนข้างหน้า
วิทยาศาสตร์อธิบายระบบธรรมชาติจริงได้ฉันใด วิทยาศาสตร์สังคมก็น่าจะอธิบายระบบสังคมจริงได้ (ในระดับหนึ่ง) ฉันนั้น บางอย่างที่แตกต่างกันก็คือการไหลหรือการถ่ายโอนในทางกายภาพนั้น เป็นการย้ายตำแหน่งที่อยู่ของปริมาณที่เราสนใจ แต่การไหลในทางสังคมนั้นไม่จำเป็นว่าต้องเป็นการย้ายตำแหน่งที่อยู่ แต่อาจเป็นการเปลี่ยนมือของผู้ถือครองปริมาณ เช่น ทรัพยากร หรืออำนาจ หรือข้อมูลข่าวสาร
หลังจากที่ได้เล่าเรื่องการไหลหรือการถ่ายโอนปริมาณในระบบกายภาพและระบบสังคมกันมาบ้างแล้วในสองตอนที่ผ่านมา เราลองมาพิจารณาว่าการเปิดเขตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (A.E.C.) จะเกิดการไหลของอะไรขึ้นบ้าง
เรื่องอาเซียนนั้นน่าสนใจครับ เพราะว่าระบบอาเซียนเป็นระบบเชิงสังคมซึ่งมีเรื่องของขอบเขตและศักย์ของการไหลที่มีอำนาจมากจึงน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการอธิบายการไหลเชิงสังคมได้ และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือเรื่องของอาเซียนเป็นเรื่องที่กล่าวถึงในสื่อปัจจุบันอย่างกว้างขวาง
น่าสังเกตุว่าในสื่อต่างๆทุกวันนี้จะมีเรื่องของการรณรงค์ทำความเข้าใจเรื่องของอาเซียนและเรื่องของวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ผมก็ยังไม่เข้าใจว่ามันจะเข้ากันได้อย่างไร เท่าที่ผมทราบรากฐานของแนวเศรษฐกิจแบบพอเพียงนั้นมาจากการไม่โลภ การไม่หลง การผูกรวมคุณค่าเชิงจิตใจสังคมและวิถีชนเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ได้ถือเอาแนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบตะวันตกมาใช้เสียทั้งหมด และก็ไม่ได้อยู่ในแบบจำลองทางเศรษฐกิจแบบตะวันตก ที่ว่ามนุษย์ย่อมต้องการอรรถประโยชน์สูงสุดในการใช้จ่ายด้วยเงินหรือทรัพยากรที่น้อยที่สุด กิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่จำเป็นต้องใช้เงินเป็นตัวกลางในการซื้อขายเสมอไป จึงไม่อาจวัดได้ด้วยกลไกภาษี อากร หรืออื่นๆ โดยสมบูรณ์แบบ
การเปิดให้ประเทศในอาเซียนเป็นประชาคมเศรษฐกิจเดียว ก็คือการเปิดขอบเขตกำแพงซึ่งขวางกั้นศักย์แห่งการไหลเชิงเศรษฐกิจ เช่นเรื่องของกำแพงภาษีและกำแพงข้อกฎหมายอื่นๆ ซึ่งขวางกั้นศักย์ของปัจจัยการผลิตทั้งสี่คือทุน แรงงาน ผู้ประกอบการและการมีสิทธิ์ในที่ดินข้ามพรมแดนประเทศ ประเทศหลักๆในอาเซียนนั้นมีเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยทุน ดังนั้นการเป็นทุนนิยมที่แข่งขันโดยเสรีย่อมเหนี่ยวนำให้ระบบเศรษฐกิจวิวัฒน์ไปในรูปแบบที่สร้างช่องว่างทางชนชั้นมากยิ่งขึ้น และถูกกำกับโดยรัฐในการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นสาธารณูปโภคหลัก รากฐานของทุนนิยมเสรีนั้นคือการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้เกิดความอยากได้ อยากมี อยากใช้สินค้าและบริการ มีการแข่งขันในการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการเพื่อดึงดูดลูกค้าให้มีความมอยากได้ อยากมี อยากใช้สินค้าและบริการของแต่ละผู้ผลิตเพื่อไม่ให้ไปใช้สินค้าและบริการของผู้ผลิตรายอื่น
สังคมไทยทุกวันนี้เต็มไปด้วยคนตามน้ำ คนตามน้ำจะรู้ปลอดภัยและไม่รู้สึกว่าตนเองตกอยู่ในอันตรายที่ไม่ได้เข้าไปขวางความเห็นของใครแม้ว่าจะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ก่ออาจจะไม่ใช่แนวคิดที่ตนเองเห็นด้วยหรือไม่ได้เป็นแนวทางที่ดีที่สุด พฤติกรรมตามน้ำเช่นนี้สร้างความไร้เสถียรภาพเชิงพลวัตขึ้นได้ คล้ายๆกับการพังทลาย (avalanche) ของหิมะ คือมีปรากฎการณ์เทกระจาดที่ผู้มีอำนาจเพียงกลุ่มเล็กๆสั่งไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ ทุกคนก็จะตามน้ำคือทำตามโดยไม่ทักท้วง เช่นที่เห็นอยู่ในวงการศึกษาไทยที่กระบวนการตรวจสอบคุณภาพที่มีทำให้คนทำงานดีๆหลายคนหมดพลังลงไปมากมาย ทั้งๆที่มีผู้ไม่เห็นด้วยอยู่มากมายแต่ก็มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่แสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผย สังคมไทยไม่ได้ขาดแคลนคนเก่งและคนดี แต่สังคมไทยขาดคนกล้า หากมีประชากรแบบนี้ก็ทำให้ประเทศเสียเปรียบอย่างมากและประเทศจะถูกเอาเปรียบได้เมื่อมีการเปิดเขตเศรษฐกิจระหว่างประเทศขึ้น
มีข้อดีหลายข้อสำหรับการเปิดกำแพงอาเซียนซึ่งมีผู้กล่าวไว้ในที่ต่างๆแล้ว ในบทความนี้ผมอยากจะแสดงมุมมองอีกด้านหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยพยายามอธิบายด้วยทัศนะของฟิสิกส์ ตัวอย่างเช่นการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศ EU ในยุโรป โดยหลักการแล้วหากมีปัญหาทางเศรษฐกิจหรือการเมืองเกิดขึ้นระบบที่เป็นระบบเอกพันธ์จะรับรู้ถึงปัญหาร่วมกันและปัญหาที่เกิดขึ้นย่อมเป็นปัญหาของทุกประเทศร่วมกันเพราะมันสามารถลุกลามไปได้เนื่องจากปราศจากกำแพงทางเศรษฐกิจ การตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นควรเป็นไปในแนวทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมคือกลุ่มประเทศ EU ทั้งหมด แต่ในทางปฏิบัติแล้วนั้นรัฐบาลของแต่ละประเทศจะมุ่งรักษาผลประโยชน์ของประเทศของตนมากกว่าผลประโยชน์ของ EU ในภาพรวม นอกจากนี้แต่ละประเทศก็ยังมีปัญหาการเมืองภายใน ซึ่งส่งผลให้การตัดสินใจแก้ปัญหาเป็นไปอย่างเชื่องช้า และสายเกินแก้เช่นในกรณีที่เกิดขึ้นกับประเทศกรีซในปัจจุบัน
ในทางวิทยาศาสตร์นั้นระบบที่ถูกกั้นขวางด้วยกำแพง หรือขอบเขตทางกายภาพ นั้นจะมีสมบัติเชิงอำนาจหรือเชิงศักย์ของระบบแตกต่างกัน เช่น domain wall ที่กั้นระหว่างผลึกเดี่ยวของสารเฟร์โรอิเล็กตริก ในแต่ละ domainของผลึกเดี่ยวเหล่านี้จะมีทิศทางและขนาดของโมเมนต์ขั้วไฟฟ้า (electric dipole moment) แตกต่างกัน การหายไปของ domain wall จะเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิของสารเพิ่มขึ้นเกินกว่าค่า “อุณหภูมิกูรี” (Curie temperature) และสารระบบนี้จะเปลี่ยนไปเป็นระบบที่เรียกว่า พาราอิเล็กตริก (paraelectric) ซึ่งเป็นระบบเอกพันธ์คือเป็นเนื้อเดียว หากแต่ละประเทศเป็นเช่น domain wall ของสารนี้แล้ว การหายไปของขอบกำแพงเศรษฐกิจควรเกิดขึ้นเมื่อ “อุณหภูมิเชิงเศรษฐศาสตร์มหภาค” มีค่าเกินกว่าค่าวิกฤติค่าหนึ่ง ?
หากมีการไหลของปัจจัยการผลิต(รวมทั้งแรงงาน) เข้ามาและสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน (หากยอมให้ถือครองได้โดยชาวประเทศอื่นในอาเซียน) การทำลายล้างกระแสความคิดเก่าๆวัฒนธรรมและความเชื่อเดิมๆ นั้นอาจทำได้ไม่ยากเลย แค่รับเอากระแสธารทางวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามา การเปิดรับประชากรที่นิยามคำว่าคุณค่าแตกต่างไปจากความเป็นไทยแต่เดิมจากประเทศอื่นๆเข้ามาทำงานในประเทศ ลงหลักปักฐานในประเทศ และมีลูกหลานที่มีสัญชาติไทย แต่ใช้ภาษาเดิมเป็นภาษาในครอบครัว และดูโทรทัศน์ช่องภาษาอังกฤษจากประเทศอื่นและเรียนในโรงเรียนเฉพาะสำหรับเด็กนานาชาติ ประชากรที่เกิดใหม่กลุ่มนี้จะเป็นประชากรที่แตกต่างไปจากประชากรเดิม คงคล้ายกับสังคมอเมริกันที่มีชาวเอเชียอพยพเข้าไปอยู่เมื่อกว่าห้าสิบปีที่แล้ว
เพิ่งได้กล่าวไปข้างต้นว่านอกจากการไม่ได้รวมกันเป็นระบบเอกพันธ์เนื้อเดียวของกลุ่มประเทศ EU ที่อาจมีความไม่คล่องตัวต่อการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นจนทำให้ระบบขาดเสถียรภาพ เราลองมองข้อแตกต่างและข้อเสียของ EU และของทั้งสองมหาอำนาจเอเชียคือ จีนและอินเดียที่เราจะต้องแข่งขันด้วย
EU มีความคล้ายคลึงกันทางชาติพันธุ์ภาษาและศาสนาพอสมควร ในขณะที่ A.E.C. มีความแตกต่างกันทางภาษา ชาติพันธุ์และศาสนามากกว่า ความแตกต่างกันด้านภาษาและคุณค่าเชิงสังคมอาจเป็นปัญหาได้ สำหรับ E.U. แล้วประเทศต่างๆมีภูมิประเทศที่ต่อเนื่องกัน ไม่เหมือนกับ A.E.C. ที่มีทะเลขวางกั้นหลายประเทศออกจากกัน ระบบการปกครองของประเทศสมาชิกในทั้ง EU และ A.E.C. นั้นแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีปัญหาเรื่องของสิ่งแวดล้อมและมลภาวะสูงมาก หาก A.E.C. จะเป็นเหมือนทั้งสองประเทศนี้ ประเทศสมาชิกที่มีกฎหมายสิ่งแวดล้อมอ่อนแอและมีคนประเภทที่ตามน้ำย่อมถูกเอาเปรียบได้จากประเทศสมาชิกอื่นๆที่มีอำนาจทุนเหนือกว่า
ในแง่ของวิถีชีวิตและความเชื่อแล้ว สำหรับจีนคุณค่าของวิถีชีวิตและความเชื่อจีนโบราณได้ถูกทำลายลงไปหลายครั้งจากผลทางเหตุการณ์ทางการเมือง และสำหรับอินเดียแล้ววิถีแนวทางแบบโบราณกำลังค่อยๆถูกกลืนกินด้วยกระแสวัฒนธรรมตะวันตกที่มาพร้อมๆกันความเป็นทุนนิยม ในแง่ของชนชั้นและช่องว่างทางสังคมนั้นทั้งจีนและอินเดียล้วนมีปัญหาเรื่องชนชั้นทางสังคม ต่างกันก็ตรงที่อินเดียมีปัญหานี้มานานมากแล้ว
ในระบบสังคม เราอาจมี pole ของปัจจัยการผลิตได้หรือ pole ของผู้ผลิตที่มีศักยภาพได้กระจายตามที่ต่างๆ โดยมีศักย์ของปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการแตกต่างกัน pole เหล่านี้นิยามได้ในหลายประเด็น เช่น pole ของเงินทุน, pole ของผู้ประกอบการ, pole ของการผลิตสินค้าและบริการทางการศึกษา (เช่น pole ของมหาวิทยาลัยที่ดีๆ จะอยู่ตามเมืองใหญ่) pole แต่ละอันมีศักย์ที่มีค่ามากอยู่ เช่น ที่สิงค์โปร์ มี pole ที่มีศักย์สูงของการผลิตการบริการทางการให้การศึกษาชั้นสูงอยู่
การเปิดพรมแดนในแง่ของ ภาษี ข้อระเบียบ และกฎหมาย จึงเป็นการเปิดโอกาสให้มีการไหลถ่ายโอนของปัจจัยการผลิต ผู้บริโภค และผู้ผลิต ข้ามพรมแดนกันโดยสะดวกมากขึ้น การไหลบ่านี้ย่อมเปลี่ยนประเทศของเราไปอย่างมาก การไหลของหน่วยทางเศรษฐกิจเช่นนี้ย่อมทำให้โดยภาพรวมแล้วประชาคมอาเซียนจะแข็งแกร่งและมีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น แต่เมื่อมองแบบแยกส่วนทีละประเทศแล้วย่อมมีความได้เปรียบเสียเปรียบขึ้นอย่างแน่นอน
ผมแค่หวังว่าประเทศของเราคงไม่กลายเป็นสถานที่ตั้งโรงงานเพราะแรงงานเราราคาถูกกว่า และกฎหมายกับองค์กรทางสิ่งแวดล้อมของเราหลวมและมีช่องทางหลีกเลี่ยงได้มากกว่าประเทศอื่น หวังว่าคงไม่มีโลหะหนัก สารพิษทิ้งในบ้านเรา หวังว่าแรงงานของประเทศเราจะไม่ได้มีแต่กรรมกร แต่จะมีแรงงานที่เป็นวิชาชีพเฉพาะเช่น หมอ นักวิทยาศาสตร์ หรือวิศวกรด้วย และด้วยการไหลของผู้ผลิต ผู้บริโภค และปัจจัยการผลิตนี้ ผมได้แต่หวังว่าทรัพยากรบนแผ่นดินที่ปู่ ย่า ตา ยาย ของพวกเราได้ปกป้องรักษาเอาไว้ จะไม่ถูกสูบออกไปจากประเทศเราอย่างไม่เป็นธรรม
หวังว่าการไหลบ่าทางเศรษฐกิจและแน่นอนย่อมมีการไหลถ่ายทอดเชื้อชาติประชากรและวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาด้วยจะไม่ทำให้ความเป็นไทย ที่มีสถาบันทั้งสามอันเป็น “คุณค่า” ที่ตั้งอยู่ในใจของคนไทย คือ ชาติ ศาสนา และองค์ในหลวงอันเป็นที่รักยิ่งได้รับผลกระทบใดๆ และสุดท้ายหวังว่าคนไทยจะไม่ตั้งอยู่ในกระแสเสรีทุนนิยม บริโภคนิยมจนลืมคุณค่าทางจิตใจตามวิถีพอเพียง
พบกันใหม่ตอนหน้าครับ
Perspective 7
บุรินทร์ กำจัดภัย
สำเร็จการศึกษาด้านฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยาจากประเทศอังกฤษ
มีอาชีพเป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ปัจจุบันทำงานวิจัยและสอนในฐานะอาจารย์ประจำที่สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ฯ วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน หรือ IF มหาวิทยาลัยนเรศวร
Perspective 7 เป็นบทความเกี่ยวกับทรรศนะของตัวผู้เขียนเองซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ ต่อธรรมชาติ สังคม และปรัชญา ทรรศนะเหล่านี้นำเสนอในหลายประเด็นผ่านหลายเรื่องราวจากประสบการณ์ของผู้เขียนเองโดยผ่านเลนส์ตาของวิทยาศาสตร์
“สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าศีลธรรมและจารีต คือ สติและการรู้จักตัวตนของตัวเอง”
Editor's Note: บทความ Perspective7 มาล่าช้า เนื่องจาก ดร.บุรินทร์ ติดภารกิจและงดบทความประจำเดือน ส.ค. แฟนๆ รอติดตามได้อีก 2 เดือนข้างหน้า