ในปี 2000 แพทย์ชื่อ Jane Hightower แห่งเมือง San Francisco ได้รายงานว่า คนไข้หลายคนที่มาให้เธอรักษาต่างแสดงอาการแปลกๆ เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย ท้องเสียบ่อย ผมร่วง หลายคนมีปัญหาเรื่องสมาธิ และความจำเสื่อม ครั้นเมื่อเธอสอบถามพฤติกรรมบริโภคของคนไข้ เธอก็ได้ข้อมูลว่า คนเหล่านี้ชอบบริโภคปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาทูนา และปลา swordfish (ที่มีปากแหลมยาวเหมือนดาบ) เธอจึงทดสอบวัดปริมาณปรอทในปลาที่วางขายในตลาด และพบว่า เนื้อปลามีปรอทในปริมาณค่อนข้างมาก เธอจึงแนะนำให้คนไข้หยุดบริโภคปลาขนาดใหญ่ทันที ผลที่ตามมาคือภายในเวลาไม่นาน อาการผิดปกติต่างๆ ของคนไข้ก็หายไป
ประสบการณ์เช่นนี้คงทำให้แพทย์ธรรมดาทั่วไปรู้สึกเป็นสุข แต่ในกรณีของ Hightower เธอต้องการรู้ว่า เหตุใด อเมริกาจึงไม่มีกฎหมายที่ระบุชัดเจนว่า ปริมาณปรอทที่เริ่มเป็นพิษต่อร่างกายนั้น ไม่ควรเกินระดับใด ร่างกายจึงปลอดภัย ทั้งนี้เพราะเธอทราบว่า องค์การบริหารอาหารและยาของสหรัฐฯ (US Food and Drug Administration) ได้กำหนดเกณฑ์ปริมาณปรอทที่ปลอดภัยไม่เท่ากับที่องค์กรปกป้องสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ (US Environmental Protectron) เสนอคือมากกว่าถึง 4 เท่า
เมื่อข้อมูลจากสององค์กรระดับชาติขัดแย้งกันเช่นนี้ ความสับสนและไม่ไว้ใจจึงเกิดขึ้นในสังคมในประเด็นว่า “ผู้รู้” ทั้งหลายนั้นรู้จริงหรือไม่ หรือทางการกำลังปกปิดข้อมูลบางอย่าง เธอจึงเขียนหนังสือชื่อ Diagnosis: Mercury: Money, politics and poisson. ที่จัดพิมพ์โดย Island Press ในปี 2008 ซึ่งได้เน้นให้เห็นว่า ปรอทที่พบในธรรมชาติส่วนใหญ่มาจากสิ่งแวดล้อมและจากโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ไอปรอทที่ถูกปล่อยออกมาเวลาลงน้ำ ซึ่งถูกปลาบริโภคเข้าไป ดังนั้น คนที่กินปลา ร่างกายจึงได้รับปรอท และทำให้ป่วย
ในอดีตเมื่อ 60 ปีก่อน เหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้ได้เคยเกิดขึ้นที่ Minamata ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้ทำให้ผู้คนทั่วโลกเกิดความหวั่นกลัว
อ่าว Minamata ของญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของเกาะคิวชู และหน้าอ่าวหันออกทะเล Shiranui ตามชายฝั่งของอ่าวมีบ้านชาวประมงตั้งอยู่เรียงราย และมีเมือง Minamata อยู่ทางทิศตะวันออก เมื่อประมาณ 70 ปีก่อนชาวเมืองส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาบริษัท Chisso Corporation โดยการเข้าทำงานเป็นพนักงานของบริษัทซึ่งผลิตปุ๋ยและสินค้าพลาสติกเป็นงานหลัก โรงงานของบริษัทตั้งอยู่ไม่ไกลจากอ่าวมาก และโรงงานได้ระบายบรรดาของเสียต่างๆ ผ่านท่อน้ำเสียลงทะเลตั้งแต่สมัยโบราณ ชาวบ้านส่วนใหญ่ดำรงชีวิตโดยการบริโภคปลาและหอยที่จับได้ในอ่าว
ในปี 1932 บริษัท Chisso เริ่มผลิต acetaldehyde 210 ตัน/ปี และเพิ่มเป็น 30 เท่า ในอีก 20 ปีต่อมา ถึงปี 1960 ปริมาณการผลิตเพิ่มถึง 42,000 ตัน โดยใช้ปรอทซัลเฟตเป็นตัวเร่งปฏิกริยา และได้ methylmercury เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ ซึ่ง methylmercury นี้เป็นพิษ และได้ถูกปล่อยลงอ่าว Minamata ตั้งแต่ปีที่เริ่มผลิต acetaldehyde คือปี 1932 จนถึงปี 1968 โรงงานจึงหยุดผลิต
ในปี 1950 ชาวบ้านได้เริ่มสังเกตเห็นปลาจำนวนมากลอยตายที่ผิวน้ำ และเมื่อดูลักษณะการตายก็รู้ว่าปลาไม่ได้ตายตามธรรมชาติหรือตายเพราะถูกโยนทิ้งจากอวน และในเวลาต่อมาชาวบ้านก็ได้เห็นหอยจำนวนมากตายเพิ่มขึ้นๆ ด้วย
จนถึงปี 1952 เหตุการณ์ “สัตว์น้ำตาย” ที่น่าสงสัยนี้ก็ยิ่งรุนแรงขึ้น เมื่อมีฝูงปลาพากันตาย และลอยตัวเป็นแพ ส่วนหมึกในอ่าวก็ว่ายน้ำช้าลงๆ จนเด็กสามารถใช้มือจับตัวมันได้อย่างไม่ยากลำบากเลย
อีกหนึ่งปีต่อมา บรรดาแมวที่เลี้ยงในหมู่บ้านเริ่มเดินตัวเซ บางตัวมีน้ำลายฟูมปาก ชาวบ้านจึงเรียกอาการแปลกๆ นี้ว่า โรคแมว และโรคก็ได้เริ่มรุนแรงขึ้นๆ เพราะแมวที่เป็นโรคจะเดินเวียนวนจนหมดแรง แล้วฟุบขาดใจตาย อีก 5 ปีต่อมา แมวทุกตัวในหมู่บ้านได้พากันล้มตายจนหมด ลุถึงวันที่ 21 เมษายน ปี 1956 เด็กหญิงวัย 5 ขวบคนหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเด็ก เพราะอาการแสดงว่าร่างกายของเธอมีความผิดปกติ เช่น พูดเพ้อตลอดเวลา เดินไม่ได้ ชัก มือไม่มีแรง มองอะไรไม่ชัด และมีอารมณ์ขึ้น-ลงจนคนรอบข้างรับลูกไม่ทัน
อีก 5 สัปดาห์ต่อมา น้องสาวของเด็กผู้หญิงคนนี้กับเด็กเพื่อนบ้านอีก 5 คน ก็เริ่มแสดงอาการเดียวกัน และถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจึงรายงานความผิดปกติที่กำลังเกิดขึ้นทั้งในเมืองและนอกเมืองให้เจ้าหน้าที่สุขภาพแห่งเมือง Minamata ทราบว่า ขณะนี้ได้เกิดการระบาดของโรคระบบประสาทที่ไม่มีแพทย์คนใดเคยทราบสาเหตุมาก่อน และเมื่อถึงฤดูร้อนของปีนั้น ผู้ใหญ่หลายคน (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวหมู่บ้านแถบอ่าว Minamata) ก็แสดงอาการของโรคระบบประสาทนี้บ้าง ดังนั้น แพทย์จึงตั้งชื่อโรคว่า โรค Minamata
ครั้นเมื่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเริ่มสำรวจหาข้อมูลการระบาด ก็ได้พบว่าในบริเวณนั้นมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ประมาณ 30 คน คนไข้ส่วนใหญ่ได้ล้มป่วยเป็นมานานหลายปีแล้ว ในที่สุดแพทย์ก็ได้ข้อสรุปว่า สาเหตุคงเกิดจากการติดเหล้าของคนไข้จนทำให้สมองอักเสบ และคนไข้มีโรคอื่นๆ แทรก แต่โรคนี้ไม่ได้เป็นโรคติดต่อ
วันที่ 24 สิงหาคม 1956 เมื่อคณะแพทย์จากมหาวิทยาลัย Kumamoto ได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาศึกษาก็ได้พบว่า อาการป่วยทั้งหมดที่ปรากฏ เกิดจากการที่ร่างกายได้สะสมโลหะหนักในปริมาณมากเกินไปจนเป็นพิษ และร่างกายได้รับโลหะหนักนี้จากการบริโภคปลาหมึกและหอยในอ่าว Minamata นั่นเอง ถึงเดือนตุลาคมม 1956 จาก 40 คนที่ป่วยมีคนตาย 14 คน
สำหรับคนที่รับผิดชอบในการปล่อยโลหะหนักลงทะเล จนทำให้น้ำในอ่าวเป็นพิษนั้น คณะแพทย์ได้ตั้งข้อสงสัยว่าโรงงาน Chisso เป็น “ฆาตกร” เพราะโรงงานได้เทสารประกอบของปรอท ทองแดง ตะกั่ว เซเลเนียม อาร์เซนิค แมงกานีส และแทลเลี่ยม ลงอ่าวเป็นเวลานานหลายสิบปีแล้ว และโลหะหนักที่เป็นพิษได้กลายเป็นอาหารของสัตว์น้ำในอ่าว ดังนั้นเมื่อปลา และหอยได้บริโภคสารพิษ และสัตว์น้ำนี้ถูกคนบริโภคอีกทอดหนึ่ง พิษที่ตกค้างในสัตว์น้ำจึงเข้าสู่ร่างกายคนได้ในที่สุด
ลุถึงปลายปี 1956 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรค Minamata ได้เพิ่มมากถึง 52 ราย ก่อนเสียชีวิตคนเหล่านี้ล้วนพูดไม่ชัด ตัวสั่น อ่อนแรง เป็นอัมพฤกษ์ มีอาการชักกระตุก จนทำให้ร่างกายพิการ และตายในที่สุด สถิติระบุว่าจากคนไข้ทั้ง 52 คน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ได้เสียชีวิต 21 คน ภายในเวลา 1 ปี นับตั้งแต่ที่รู้ว่ากำลังเป็นโรค
แม้รายงานที่เกี่ยวกับเรื่องนี้จะแพร่ในหนังสือพิมพ์ แต่ก็ไม่มีใครสนใจ ผู้บริหารจึงไม่ได้วางแผนใดๆ ที่จะควบคุมจำนวนผู้ป่วยให้คงตัว หรือออกกฏหมายห้ามชาวบ้านบริโภคปลา ปู หอยที่จับได้ในอ่าว ดังนั้น เมื่อไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง โรงงาน Chisso ก็ยังปล่อยโลหะหนักลงอ่าวต่อไป จนกระทั่งถึงปี 1958 โรงงานจึงเปลี่ยนไปปล่อยของเสียลงแม่น้ำ Minamata ซึ่งไหลออกสู่ทะเล Shiranui โดยตรง
การชันสูตรศพของผู้เสียชีวิตในปี 1960 แสดงให้เห็นว่า ในกระเพาะผู้ตายทุกคนมีปรอทปริมาณมากผิดปกติ และต้นเหตุสำคัญของโรค คือ สารประกอบ methylmercury ที่แพทย์ได้พบว่าเป็นพิษต่อร่างกาย แต่ในขั้นตอนการได้ข้อสรุปนี้ ทางบริษัท Chisso มิได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของบริษัทมาร่วมประชุมด้วยเลย
ในปี 1959 แพทย์ประจำบริษัท Chisso ท่านหนึ่งได้ทดลองเอาน้ำเสียที่ถูกปล่อยจากโรงงานไปให้แมวกิน และแมวได้ป่วยเป็นโรค Minamata ทันทีที่รู้ข่าว บริษัท Chisso ได้เลิกจ้างแพทย์คนนั้น และสั่งห้ามไม่ให้ใครใดทำการทดลองเรื่องทำนองเดียวกันนี้อีกอย่างเด็ดขาด เพราะผู้บริหารของบริษัทเชื่อว่า ปรอทเป็นสารอนินทรีย์ที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสิ่งมีชีวิตใดๆ แม้การทดลองในห้องปฏิบัติการจะพบความจริงชัดว่า จุลินทรีย์และแบคทีเรียในอ่าว Minamata สามารถแปลงสารอนินทรีย์เช่นปรอทให้เป็นสารประกอบที่สามารถละลายน้ำได้ให้ปลาและหอยกินเข้าไปก็ตาม
แต่เมื่อแพทย์ตรวจเส้นผมของผู้เสียชีวิต และของชาวบ้านที่ยังเป็นปกติก็พบว่าปริมาณปรอทที่พบในคนตายมีมากถึง 175 เท่าของคนปกติที่อยู่ห่างไกล และมากเป็น 4 เท่าของคนที่อยู่แถบอ่าว Minamata
ดังนั้น ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ.1959 กระทรวงสาธารณสุขจึงประกาศอย่างเป็นทางการว่า โรค Minamata เป็นโรคที่ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง และโรคนี้เกิดจากการบริโภคปลาและหอยที่เนื้อมีสารประกอบของปรอท
ทันทีที่ทุกคนรู้ข่าวนี้ ผู้คนเลิกซื้อปลา และสัตว์น้ำที่จับได้ในอ่าว Minamata ทำให้ชาวประมงเดือดร้อน บริษัท Chisso ถูกศาลบังคับให้จ่ายเงินชดเชยแก่ผู้ได้รับความเดือดร้อน และบริษัทต้องฟื้นฟูธุรกิจประมงของชาวเมืองด้วย
ในส่วนของคนป่วย บริษัท Chisso ก็ตกลงจ่ายเงินชดเชยความเสียหายให้ ทั้งที่กำลังป่วยและที่เสียชีวิตไปแล้ว ถึงปี 1960 โลกก็ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรค Minamata อีกเลย หลังจากที่บริษัทได้ติดตั้งอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย และเลิกผลิต acctaldehyde โดยใช้ปรอทเป็นตัวเร่งปฏิกริยา
สำหรับสื่อมวลชนที่รายงานเหตุการณ์ Minamata นี้ได้เริ่มทำงานในตอนต้นปี 1960 โดยนักหนังสือพิมพ์ชื่อ Shisei Kuwabara แต่ภาพที่สะเทือนอารมณ์ที่สุด คือภาพที่ถ่ายโดย W. Eugene Smith ในปี 1972 ซึ่งทำให้โลกหันมาสนใจเหตุการณ์ที่เลวร้ายนี้ นั่นคือ ภาพ Tomoko Uemura in her Bath ที่แสดง Ryoko Uemura ผู้เป็นมารดากำลังอาบน้ำให้ลูกสาววัย 16 ปีชื่อ Tomoko ของเธอ ซึ่งเป็นคนพิการ เพราะใบหน้าและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายไม่สมประกอบเลย Tomoko ได้รับ methylmercury ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แม้เธอจะพิการแต่พ่อและแม่ก็รักลูก Tomoko มาก และอาบน้ำให้ทุกวัน
เมื่อภาพถูกเผยแพร่ Smith ถูกเจ้าหน้าที่ของโรงงาน Chisso ไล่ทุบตีอย่างทารุณ จน Smith ตาเสียไปข้างหนึ่ง และเสียชีวิตในปี 1978 ด้วยโรคเส้นเลือดอุดตันในสมอง ส่วน Tomoko ได้เสียชีวิตไปก่อนในปี 1977
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2006 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 50 ปีแห่งการพบโรค Minamata อย่างเป็นทางการที่พิพิธภัณฑ์ในเมือง Minamata ได้จัดพิธีรำลึกถึงเหตุการณ์ มีผู้เข้าร่วมพิธีกว่า 600 คน รวมทั้งประธานของบริษัท Chisso Corporation และรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม และในวันที่ 29 มีนาคม 2010 ทางบริษัท Chisso Corporation กับรัฐบาลญี่ปุ่นได้มอบเงินให้ผู้เสียหายคนละ 2.1 ล้านเยน รวมทั้งสิ้น 2,123 คน
คนเหล่านี้อยู่ในวัย 40 – 50 ปีแล้ว และสุขภาพกำลังเสื่อมทำให้ต้องพึ่งพาบิดามารดาซึ่งมีอายุ 70-80 ปี หรือบางคนก็เสียชีวิตไปแล้ว จึงต้องอาศัยสวัสดิการสังคม และญาติเป็นหลัก
เมื่อต้นเดือนมกราคมปีนี้ องค์การ European Environmental Bureau ที่กรุว Brussels ประเทศเบลเยียม ได้ลงนามในปฏิญญา Minamata กำหนดให้ แบตเตอรี่ที่ตามปกติต้องใช้ปรอทในการสร้างต้องเลิกใช้ปรอทภายในปี 2020 ส่วนโรงไฟฟ้าที่เผาถ่านหิน ซึ่งปล่อยปรอทออกสู่สิ่งแวดล้อมก็ต้องได้รับการควบคุมหนักขึ้น ด้วยเหตุผลว่า ปรอททำลายพัฒนาการของชีวิต และทำให้คนตายได้ ส่วนสัตว์ถ้าได้รับปรอทเข้าตัวมากก็จะทำร้ายระบบสืบพันธุ์
สถิติระบุว่าในปี 2010 โลกปล่อยปรอทกว่า 1,000 ตัน ออกสู่อากาศให้สิ่งมีชีวิตหายใจเข้าไป และที่เหลือจะตกลงน้ำเป็นอาหารของสัตว์น้ำต่อไป
นอกจากโรงไฟฟ้าแล้ว การทำเหมืองทองคำก็ใช้ปรอทในการสะกัดมากเช่นกันณ วันนี้ ประเทศต่างๆ ยังไม่ได้กำหนดวันที่จะไม่ใช้ถ่านหินในการผลิดไฟฟ้า แต่ทุกคนควรตระหนักถึงภัยนี้ และควรแสวงหาแหล่งพลังงานความร้อนรูปแบบใหม่
บ้านเราแม้จะไม่มีบริษัท Chisso Corporation แต่ก็มีโรงงานกำจัดขยะที่ปล่อย phenol สังกะสี, ทองแดงโครเมียม ฯลฯ ออกมาตลอดเวลา รวมถึงโรงงานไฟฟ้าที่เผาถ่านหิน ซึ่งปล่อยปรอทออกมาและกำจัดยากมาก ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ก็สมควรดูแลตนเองครับ
อ่านเพิ่มเติมจาก Minamata โดย W. Eugene Smith และ Aileen M. Smith จัดพิมพ์โดย Host, Rinehart and Winston ปี 1975
เกี่ยวกับผู้เขียน
สุทัศน์ ยกส้าน
ประวัติการทำงาน-ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถาน และ ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขากายภาพและคณิตศาสตร์
ประวัติการศึกษา - ปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัยลอนดอน, ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
อ่านบทความ สุทัศน์ ยกส้าน ได้ทุกวันศุกร์
ประสบการณ์เช่นนี้คงทำให้แพทย์ธรรมดาทั่วไปรู้สึกเป็นสุข แต่ในกรณีของ Hightower เธอต้องการรู้ว่า เหตุใด อเมริกาจึงไม่มีกฎหมายที่ระบุชัดเจนว่า ปริมาณปรอทที่เริ่มเป็นพิษต่อร่างกายนั้น ไม่ควรเกินระดับใด ร่างกายจึงปลอดภัย ทั้งนี้เพราะเธอทราบว่า องค์การบริหารอาหารและยาของสหรัฐฯ (US Food and Drug Administration) ได้กำหนดเกณฑ์ปริมาณปรอทที่ปลอดภัยไม่เท่ากับที่องค์กรปกป้องสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ (US Environmental Protectron) เสนอคือมากกว่าถึง 4 เท่า
เมื่อข้อมูลจากสององค์กรระดับชาติขัดแย้งกันเช่นนี้ ความสับสนและไม่ไว้ใจจึงเกิดขึ้นในสังคมในประเด็นว่า “ผู้รู้” ทั้งหลายนั้นรู้จริงหรือไม่ หรือทางการกำลังปกปิดข้อมูลบางอย่าง เธอจึงเขียนหนังสือชื่อ Diagnosis: Mercury: Money, politics and poisson. ที่จัดพิมพ์โดย Island Press ในปี 2008 ซึ่งได้เน้นให้เห็นว่า ปรอทที่พบในธรรมชาติส่วนใหญ่มาจากสิ่งแวดล้อมและจากโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ไอปรอทที่ถูกปล่อยออกมาเวลาลงน้ำ ซึ่งถูกปลาบริโภคเข้าไป ดังนั้น คนที่กินปลา ร่างกายจึงได้รับปรอท และทำให้ป่วย
ในอดีตเมื่อ 60 ปีก่อน เหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้ได้เคยเกิดขึ้นที่ Minamata ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้ทำให้ผู้คนทั่วโลกเกิดความหวั่นกลัว
อ่าว Minamata ของญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของเกาะคิวชู และหน้าอ่าวหันออกทะเล Shiranui ตามชายฝั่งของอ่าวมีบ้านชาวประมงตั้งอยู่เรียงราย และมีเมือง Minamata อยู่ทางทิศตะวันออก เมื่อประมาณ 70 ปีก่อนชาวเมืองส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาบริษัท Chisso Corporation โดยการเข้าทำงานเป็นพนักงานของบริษัทซึ่งผลิตปุ๋ยและสินค้าพลาสติกเป็นงานหลัก โรงงานของบริษัทตั้งอยู่ไม่ไกลจากอ่าวมาก และโรงงานได้ระบายบรรดาของเสียต่างๆ ผ่านท่อน้ำเสียลงทะเลตั้งแต่สมัยโบราณ ชาวบ้านส่วนใหญ่ดำรงชีวิตโดยการบริโภคปลาและหอยที่จับได้ในอ่าว
ในปี 1932 บริษัท Chisso เริ่มผลิต acetaldehyde 210 ตัน/ปี และเพิ่มเป็น 30 เท่า ในอีก 20 ปีต่อมา ถึงปี 1960 ปริมาณการผลิตเพิ่มถึง 42,000 ตัน โดยใช้ปรอทซัลเฟตเป็นตัวเร่งปฏิกริยา และได้ methylmercury เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ ซึ่ง methylmercury นี้เป็นพิษ และได้ถูกปล่อยลงอ่าว Minamata ตั้งแต่ปีที่เริ่มผลิต acetaldehyde คือปี 1932 จนถึงปี 1968 โรงงานจึงหยุดผลิต
ในปี 1950 ชาวบ้านได้เริ่มสังเกตเห็นปลาจำนวนมากลอยตายที่ผิวน้ำ และเมื่อดูลักษณะการตายก็รู้ว่าปลาไม่ได้ตายตามธรรมชาติหรือตายเพราะถูกโยนทิ้งจากอวน และในเวลาต่อมาชาวบ้านก็ได้เห็นหอยจำนวนมากตายเพิ่มขึ้นๆ ด้วย
จนถึงปี 1952 เหตุการณ์ “สัตว์น้ำตาย” ที่น่าสงสัยนี้ก็ยิ่งรุนแรงขึ้น เมื่อมีฝูงปลาพากันตาย และลอยตัวเป็นแพ ส่วนหมึกในอ่าวก็ว่ายน้ำช้าลงๆ จนเด็กสามารถใช้มือจับตัวมันได้อย่างไม่ยากลำบากเลย
อีกหนึ่งปีต่อมา บรรดาแมวที่เลี้ยงในหมู่บ้านเริ่มเดินตัวเซ บางตัวมีน้ำลายฟูมปาก ชาวบ้านจึงเรียกอาการแปลกๆ นี้ว่า โรคแมว และโรคก็ได้เริ่มรุนแรงขึ้นๆ เพราะแมวที่เป็นโรคจะเดินเวียนวนจนหมดแรง แล้วฟุบขาดใจตาย อีก 5 ปีต่อมา แมวทุกตัวในหมู่บ้านได้พากันล้มตายจนหมด ลุถึงวันที่ 21 เมษายน ปี 1956 เด็กหญิงวัย 5 ขวบคนหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเด็ก เพราะอาการแสดงว่าร่างกายของเธอมีความผิดปกติ เช่น พูดเพ้อตลอดเวลา เดินไม่ได้ ชัก มือไม่มีแรง มองอะไรไม่ชัด และมีอารมณ์ขึ้น-ลงจนคนรอบข้างรับลูกไม่ทัน
อีก 5 สัปดาห์ต่อมา น้องสาวของเด็กผู้หญิงคนนี้กับเด็กเพื่อนบ้านอีก 5 คน ก็เริ่มแสดงอาการเดียวกัน และถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจึงรายงานความผิดปกติที่กำลังเกิดขึ้นทั้งในเมืองและนอกเมืองให้เจ้าหน้าที่สุขภาพแห่งเมือง Minamata ทราบว่า ขณะนี้ได้เกิดการระบาดของโรคระบบประสาทที่ไม่มีแพทย์คนใดเคยทราบสาเหตุมาก่อน และเมื่อถึงฤดูร้อนของปีนั้น ผู้ใหญ่หลายคน (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวหมู่บ้านแถบอ่าว Minamata) ก็แสดงอาการของโรคระบบประสาทนี้บ้าง ดังนั้น แพทย์จึงตั้งชื่อโรคว่า โรค Minamata
ครั้นเมื่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเริ่มสำรวจหาข้อมูลการระบาด ก็ได้พบว่าในบริเวณนั้นมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ประมาณ 30 คน คนไข้ส่วนใหญ่ได้ล้มป่วยเป็นมานานหลายปีแล้ว ในที่สุดแพทย์ก็ได้ข้อสรุปว่า สาเหตุคงเกิดจากการติดเหล้าของคนไข้จนทำให้สมองอักเสบ และคนไข้มีโรคอื่นๆ แทรก แต่โรคนี้ไม่ได้เป็นโรคติดต่อ
วันที่ 24 สิงหาคม 1956 เมื่อคณะแพทย์จากมหาวิทยาลัย Kumamoto ได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาศึกษาก็ได้พบว่า อาการป่วยทั้งหมดที่ปรากฏ เกิดจากการที่ร่างกายได้สะสมโลหะหนักในปริมาณมากเกินไปจนเป็นพิษ และร่างกายได้รับโลหะหนักนี้จากการบริโภคปลาหมึกและหอยในอ่าว Minamata นั่นเอง ถึงเดือนตุลาคมม 1956 จาก 40 คนที่ป่วยมีคนตาย 14 คน
สำหรับคนที่รับผิดชอบในการปล่อยโลหะหนักลงทะเล จนทำให้น้ำในอ่าวเป็นพิษนั้น คณะแพทย์ได้ตั้งข้อสงสัยว่าโรงงาน Chisso เป็น “ฆาตกร” เพราะโรงงานได้เทสารประกอบของปรอท ทองแดง ตะกั่ว เซเลเนียม อาร์เซนิค แมงกานีส และแทลเลี่ยม ลงอ่าวเป็นเวลานานหลายสิบปีแล้ว และโลหะหนักที่เป็นพิษได้กลายเป็นอาหารของสัตว์น้ำในอ่าว ดังนั้นเมื่อปลา และหอยได้บริโภคสารพิษ และสัตว์น้ำนี้ถูกคนบริโภคอีกทอดหนึ่ง พิษที่ตกค้างในสัตว์น้ำจึงเข้าสู่ร่างกายคนได้ในที่สุด
ลุถึงปลายปี 1956 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรค Minamata ได้เพิ่มมากถึง 52 ราย ก่อนเสียชีวิตคนเหล่านี้ล้วนพูดไม่ชัด ตัวสั่น อ่อนแรง เป็นอัมพฤกษ์ มีอาการชักกระตุก จนทำให้ร่างกายพิการ และตายในที่สุด สถิติระบุว่าจากคนไข้ทั้ง 52 คน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ได้เสียชีวิต 21 คน ภายในเวลา 1 ปี นับตั้งแต่ที่รู้ว่ากำลังเป็นโรค
แม้รายงานที่เกี่ยวกับเรื่องนี้จะแพร่ในหนังสือพิมพ์ แต่ก็ไม่มีใครสนใจ ผู้บริหารจึงไม่ได้วางแผนใดๆ ที่จะควบคุมจำนวนผู้ป่วยให้คงตัว หรือออกกฏหมายห้ามชาวบ้านบริโภคปลา ปู หอยที่จับได้ในอ่าว ดังนั้น เมื่อไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง โรงงาน Chisso ก็ยังปล่อยโลหะหนักลงอ่าวต่อไป จนกระทั่งถึงปี 1958 โรงงานจึงเปลี่ยนไปปล่อยของเสียลงแม่น้ำ Minamata ซึ่งไหลออกสู่ทะเล Shiranui โดยตรง
การชันสูตรศพของผู้เสียชีวิตในปี 1960 แสดงให้เห็นว่า ในกระเพาะผู้ตายทุกคนมีปรอทปริมาณมากผิดปกติ และต้นเหตุสำคัญของโรค คือ สารประกอบ methylmercury ที่แพทย์ได้พบว่าเป็นพิษต่อร่างกาย แต่ในขั้นตอนการได้ข้อสรุปนี้ ทางบริษัท Chisso มิได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของบริษัทมาร่วมประชุมด้วยเลย
ในปี 1959 แพทย์ประจำบริษัท Chisso ท่านหนึ่งได้ทดลองเอาน้ำเสียที่ถูกปล่อยจากโรงงานไปให้แมวกิน และแมวได้ป่วยเป็นโรค Minamata ทันทีที่รู้ข่าว บริษัท Chisso ได้เลิกจ้างแพทย์คนนั้น และสั่งห้ามไม่ให้ใครใดทำการทดลองเรื่องทำนองเดียวกันนี้อีกอย่างเด็ดขาด เพราะผู้บริหารของบริษัทเชื่อว่า ปรอทเป็นสารอนินทรีย์ที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสิ่งมีชีวิตใดๆ แม้การทดลองในห้องปฏิบัติการจะพบความจริงชัดว่า จุลินทรีย์และแบคทีเรียในอ่าว Minamata สามารถแปลงสารอนินทรีย์เช่นปรอทให้เป็นสารประกอบที่สามารถละลายน้ำได้ให้ปลาและหอยกินเข้าไปก็ตาม
แต่เมื่อแพทย์ตรวจเส้นผมของผู้เสียชีวิต และของชาวบ้านที่ยังเป็นปกติก็พบว่าปริมาณปรอทที่พบในคนตายมีมากถึง 175 เท่าของคนปกติที่อยู่ห่างไกล และมากเป็น 4 เท่าของคนที่อยู่แถบอ่าว Minamata
ดังนั้น ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ.1959 กระทรวงสาธารณสุขจึงประกาศอย่างเป็นทางการว่า โรค Minamata เป็นโรคที่ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง และโรคนี้เกิดจากการบริโภคปลาและหอยที่เนื้อมีสารประกอบของปรอท
ทันทีที่ทุกคนรู้ข่าวนี้ ผู้คนเลิกซื้อปลา และสัตว์น้ำที่จับได้ในอ่าว Minamata ทำให้ชาวประมงเดือดร้อน บริษัท Chisso ถูกศาลบังคับให้จ่ายเงินชดเชยแก่ผู้ได้รับความเดือดร้อน และบริษัทต้องฟื้นฟูธุรกิจประมงของชาวเมืองด้วย
ในส่วนของคนป่วย บริษัท Chisso ก็ตกลงจ่ายเงินชดเชยความเสียหายให้ ทั้งที่กำลังป่วยและที่เสียชีวิตไปแล้ว ถึงปี 1960 โลกก็ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรค Minamata อีกเลย หลังจากที่บริษัทได้ติดตั้งอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย และเลิกผลิต acctaldehyde โดยใช้ปรอทเป็นตัวเร่งปฏิกริยา
สำหรับสื่อมวลชนที่รายงานเหตุการณ์ Minamata นี้ได้เริ่มทำงานในตอนต้นปี 1960 โดยนักหนังสือพิมพ์ชื่อ Shisei Kuwabara แต่ภาพที่สะเทือนอารมณ์ที่สุด คือภาพที่ถ่ายโดย W. Eugene Smith ในปี 1972 ซึ่งทำให้โลกหันมาสนใจเหตุการณ์ที่เลวร้ายนี้ นั่นคือ ภาพ Tomoko Uemura in her Bath ที่แสดง Ryoko Uemura ผู้เป็นมารดากำลังอาบน้ำให้ลูกสาววัย 16 ปีชื่อ Tomoko ของเธอ ซึ่งเป็นคนพิการ เพราะใบหน้าและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายไม่สมประกอบเลย Tomoko ได้รับ methylmercury ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แม้เธอจะพิการแต่พ่อและแม่ก็รักลูก Tomoko มาก และอาบน้ำให้ทุกวัน
เมื่อภาพถูกเผยแพร่ Smith ถูกเจ้าหน้าที่ของโรงงาน Chisso ไล่ทุบตีอย่างทารุณ จน Smith ตาเสียไปข้างหนึ่ง และเสียชีวิตในปี 1978 ด้วยโรคเส้นเลือดอุดตันในสมอง ส่วน Tomoko ได้เสียชีวิตไปก่อนในปี 1977
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2006 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 50 ปีแห่งการพบโรค Minamata อย่างเป็นทางการที่พิพิธภัณฑ์ในเมือง Minamata ได้จัดพิธีรำลึกถึงเหตุการณ์ มีผู้เข้าร่วมพิธีกว่า 600 คน รวมทั้งประธานของบริษัท Chisso Corporation และรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม และในวันที่ 29 มีนาคม 2010 ทางบริษัท Chisso Corporation กับรัฐบาลญี่ปุ่นได้มอบเงินให้ผู้เสียหายคนละ 2.1 ล้านเยน รวมทั้งสิ้น 2,123 คน
คนเหล่านี้อยู่ในวัย 40 – 50 ปีแล้ว และสุขภาพกำลังเสื่อมทำให้ต้องพึ่งพาบิดามารดาซึ่งมีอายุ 70-80 ปี หรือบางคนก็เสียชีวิตไปแล้ว จึงต้องอาศัยสวัสดิการสังคม และญาติเป็นหลัก
เมื่อต้นเดือนมกราคมปีนี้ องค์การ European Environmental Bureau ที่กรุว Brussels ประเทศเบลเยียม ได้ลงนามในปฏิญญา Minamata กำหนดให้ แบตเตอรี่ที่ตามปกติต้องใช้ปรอทในการสร้างต้องเลิกใช้ปรอทภายในปี 2020 ส่วนโรงไฟฟ้าที่เผาถ่านหิน ซึ่งปล่อยปรอทออกสู่สิ่งแวดล้อมก็ต้องได้รับการควบคุมหนักขึ้น ด้วยเหตุผลว่า ปรอททำลายพัฒนาการของชีวิต และทำให้คนตายได้ ส่วนสัตว์ถ้าได้รับปรอทเข้าตัวมากก็จะทำร้ายระบบสืบพันธุ์
สถิติระบุว่าในปี 2010 โลกปล่อยปรอทกว่า 1,000 ตัน ออกสู่อากาศให้สิ่งมีชีวิตหายใจเข้าไป และที่เหลือจะตกลงน้ำเป็นอาหารของสัตว์น้ำต่อไป
นอกจากโรงไฟฟ้าแล้ว การทำเหมืองทองคำก็ใช้ปรอทในการสะกัดมากเช่นกันณ วันนี้ ประเทศต่างๆ ยังไม่ได้กำหนดวันที่จะไม่ใช้ถ่านหินในการผลิดไฟฟ้า แต่ทุกคนควรตระหนักถึงภัยนี้ และควรแสวงหาแหล่งพลังงานความร้อนรูปแบบใหม่
บ้านเราแม้จะไม่มีบริษัท Chisso Corporation แต่ก็มีโรงงานกำจัดขยะที่ปล่อย phenol สังกะสี, ทองแดงโครเมียม ฯลฯ ออกมาตลอดเวลา รวมถึงโรงงานไฟฟ้าที่เผาถ่านหิน ซึ่งปล่อยปรอทออกมาและกำจัดยากมาก ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ก็สมควรดูแลตนเองครับ
อ่านเพิ่มเติมจาก Minamata โดย W. Eugene Smith และ Aileen M. Smith จัดพิมพ์โดย Host, Rinehart and Winston ปี 1975
เกี่ยวกับผู้เขียน
สุทัศน์ ยกส้าน
ประวัติการทำงาน-ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถาน และ ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขากายภาพและคณิตศาสตร์
ประวัติการศึกษา - ปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัยลอนดอน, ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
อ่านบทความ สุทัศน์ ยกส้าน ได้ทุกวันศุกร์