รอยเตอร์/เอเจนซี- กระทรวงสิ่งแวดล้อมสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ความเห็นชอบ “โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ” ที่ตัวเขื่อนมีความสูงที่สุดในโลก ทั้งๆที่รู้ว่าจะส่งผลกระทบต่อพืชและสัตว์น้ำ ตัวเขื่อนมีความสูง 314 เมตร เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสนับสนุนพลังงานไฟฟ้าชวงเจียงโข่ว บนแม่น้ำต้าตู้ ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลซื่อชวน คาดว่าต้องใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 10 ปี และใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 24,680 ล้านหยวน หรือ 4,020 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้การดำเนินการของรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าจีน
กระทรวงสิ่งแวดล้อมออกแถลงการณ์เมื่อวันอังคาร(14 พ.ค.)ที่ผ่านมา ว่า ผลการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมชี้ว่า โครงการสร้างเขื่อนนี้ไม่มีผลกระทบต่อสัตว์น้ำใกล้สูญพันธุ์ จุลชีพ และพืชน้ำ
ทั้งนี้ รัฐบาลจีนมีแผนการจัดการด้านพลังงานโดยตั้งเป้าหมายว่า สัดส่วนพลังงานที่มาจากแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลต้องลดลง และภายในปี 2020 พลังงานทางเลือกจะมีสัดส่วนสูงเป็น 15 เปอร์เซ็นต์ของแหล่งพลังงาน ซึ่งแหล่งพลังงานน้ำจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง
เมื่อเปรียบเทียบกันเขื่อนสามโตรกที่กั้นขวางแม่น้ำฉางเจียง มีความสูง 185 เมตร และเขื่อนนูเร็คในประเทศทาจิกิสถานซึ่งเป็นเขื่อนที่สูงที่สุดในโลกขณะนี้ด้วยความ สูง 300 เมตร ตามด้วยเขื่อนเสี่ยววัน ประเทศจีน ความสูง 292 เมตร กั้นขวางแม่น้ำโขงหรือแม่น้ำหลานชาง
โครงการพลังงานไฟฟ้าชวงเจียงโข่ว ณ มณฑลซื่อชวน หรือเสฉวนแห่งนี้ จะเป็นเขื่อนที่มีความสูงที่สุดในโลก ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทั้งสิ้น 20 กิกะวัตต์ ทั้งนี้รัฐบาลจีนวางแผนไว้ว่าภายในปี 2015 กระแสไฟฟ้าที่มาจากแหล่งพลังงานน้ำจะสูงถึง 290 กิกะวัตต์ จากระดับกำลังการผลิต 220 กิกะวัตต์ในปัจจุบัน และแม้จะมีกระแสต่อต้านก็ตามที รัฐบาลกลางก็จะผลักดันโครงการไฟฟ้าบนแม่น้ำนู่ มณฑลอวิ๋นหนัน (ยูนนาน)
ทั้งนี้ เขื่อนสามโตรกแห่งลุ่มน้ำฉางเจียง หรือแยงซีเกียง มูลค่า 2.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งอยู่ในเมืองอี๋ชัง มณฑลหูเป่ย ยังครองอันดับเป็นเขื่อนใหญ่ที่สุดในโลก เฉพาะตัวเขื่อนมีความยาวร่วม 3 กิโลเมตร และอ่างเก็บน้ำมีความยาว 640 กิโลเมตร
อนึ่ง กั๋วเตี้ยน เป็นบริษัทภายใต้การกำกับของรัฐ ซึ่งกรมบัญชีกลางของจีนอ้างว่ามีการเริ่มดำเนินโครงการทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลกลาง โดยในปี 2011 บริษัททุ่มเงินลงทุนกว่า 30,000 ล้านหยวน ใน 21 โครงการที่ยังไม่ได้รับการเห็นชอบ และกลุ่มบรรษัทด้านพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของจีนอย่าง กลุ่มหวาเตี้ยนก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เช่นเดียวกัน เมื่อเริ่มก่อสร้างโครงการพลังงานหวงเติง ก่อนได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล
กระทรวงสิ่งแวดล้อมออกแถลงการณ์เมื่อวันอังคาร(14 พ.ค.)ที่ผ่านมา ว่า ผลการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมชี้ว่า โครงการสร้างเขื่อนนี้ไม่มีผลกระทบต่อสัตว์น้ำใกล้สูญพันธุ์ จุลชีพ และพืชน้ำ
ทั้งนี้ รัฐบาลจีนมีแผนการจัดการด้านพลังงานโดยตั้งเป้าหมายว่า สัดส่วนพลังงานที่มาจากแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลต้องลดลง และภายในปี 2020 พลังงานทางเลือกจะมีสัดส่วนสูงเป็น 15 เปอร์เซ็นต์ของแหล่งพลังงาน ซึ่งแหล่งพลังงานน้ำจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง
เมื่อเปรียบเทียบกันเขื่อนสามโตรกที่กั้นขวางแม่น้ำฉางเจียง มีความสูง 185 เมตร และเขื่อนนูเร็คในประเทศทาจิกิสถานซึ่งเป็นเขื่อนที่สูงที่สุดในโลกขณะนี้ด้วยความ สูง 300 เมตร ตามด้วยเขื่อนเสี่ยววัน ประเทศจีน ความสูง 292 เมตร กั้นขวางแม่น้ำโขงหรือแม่น้ำหลานชาง
โครงการพลังงานไฟฟ้าชวงเจียงโข่ว ณ มณฑลซื่อชวน หรือเสฉวนแห่งนี้ จะเป็นเขื่อนที่มีความสูงที่สุดในโลก ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทั้งสิ้น 20 กิกะวัตต์ ทั้งนี้รัฐบาลจีนวางแผนไว้ว่าภายในปี 2015 กระแสไฟฟ้าที่มาจากแหล่งพลังงานน้ำจะสูงถึง 290 กิกะวัตต์ จากระดับกำลังการผลิต 220 กิกะวัตต์ในปัจจุบัน และแม้จะมีกระแสต่อต้านก็ตามที รัฐบาลกลางก็จะผลักดันโครงการไฟฟ้าบนแม่น้ำนู่ มณฑลอวิ๋นหนัน (ยูนนาน)
ทั้งนี้ เขื่อนสามโตรกแห่งลุ่มน้ำฉางเจียง หรือแยงซีเกียง มูลค่า 2.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งอยู่ในเมืองอี๋ชัง มณฑลหูเป่ย ยังครองอันดับเป็นเขื่อนใหญ่ที่สุดในโลก เฉพาะตัวเขื่อนมีความยาวร่วม 3 กิโลเมตร และอ่างเก็บน้ำมีความยาว 640 กิโลเมตร
อนึ่ง กั๋วเตี้ยน เป็นบริษัทภายใต้การกำกับของรัฐ ซึ่งกรมบัญชีกลางของจีนอ้างว่ามีการเริ่มดำเนินโครงการทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลกลาง โดยในปี 2011 บริษัททุ่มเงินลงทุนกว่า 30,000 ล้านหยวน ใน 21 โครงการที่ยังไม่ได้รับการเห็นชอบ และกลุ่มบรรษัทด้านพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของจีนอย่าง กลุ่มหวาเตี้ยนก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เช่นเดียวกัน เมื่อเริ่มก่อสร้างโครงการพลังงานหวงเติง ก่อนได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล