กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ประยุกต์ใช้แบบจำลองอากาศ “จีวาฟ” (gWRF) พัฒนาขีดความสามารถด้านระบบคาดการณ์สภาพอากาศของไทยให้มีความแม่นยำมากขึ้นถึง 90% พร้อมสำหรับเตือนภัยและใช้บริหารจัดการน้ำของประเทศ
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า “ปัจจุบันสภาพอากาศมีความแปรปรวน ภัยธรรมชาติมีความรุนแรงและเกิดถี่มากขึ้น การวางแผนรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นเรื่องสำคัญ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) จึงได้ติดตั้งระบบแบบจำลองอากาศ หรือ “วาฟ” (WRF: Weather Research and Forecasting Model) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ดีที่สุดสำหรับการพยากรณ์และคาดการณ์อากาศในยุคปัจจุบัน โดยที่ผ่านมาในหลายประเทศที่มีปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน ได้เริ่มใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวแล้ว”
จากความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดย สสนก.และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กับ Academia Sinica Grid Computing (ASGC) ประเทศไต้หวัน ทำให้สามารถเข้าถึงการประมวลผล “วาฟ” บนระบบ Grid Computing ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลให้ได้เร็วขึ้น สามารถเตือนภัยพิบัติต่างๆ ได้ทันท่วงที ซึ่งเรียกระบบใหม่ว่า “จีวาฟ” (gWRF) ทำให้ระบบพยากรณ์อากาศที่มีอยู่เดิม เพิ่มความแม่นยำมากขึ้น
“จีวาฟ” จะมีข้อมูลทุกชนิดจากทั่วโลกเกี่ยวกับเรื่องการคาดการณ์อากาศ คือ ลม อุณหภูมิ ความกดอากาศ ความชื้น และแสงแดด เป็นซอฟต์แวร์ที่ให้บริการฟรีสำหรับการวิจัยสภาพอากาศ สามารถนำมาใช้คาดการณ์สภาพอากาศล่วงหน้าได้ 3-7 วัน โดยในประเทศไทยมีหน่วยงานที่สามารถเข้าถึงซอฟต์แวร์ดังกล่าว คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กับ สสนก.ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ สำหรับ สสนก.นั้น จำเป็นต้องใช้จีวาฟเพื่อการบริหารจัดการน้ำโดยเฉพาะ ซึ่งการบริหารจัดการน้ำจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นหากมีระบบการคาดการณ์เข้ามาช่วย
นายวรวัจน์ กล่าวด้วยว่า ส่วนใหญ่การคาดการณ์อากาศในประเทศไทยทุกวันนี้ รวมทั้งของ สสนก.นั้นจะมีความแม่นยำประมาณ 80% ซึ่งถือว่าแม่นยำพอสมควรแล้ว แต่เมื่อนำเทคโนโลยี “จีวาฟ” เข้ามาช่วยทำงาน ความแม่นยำจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 90% ทำให้สามารถเตือนภัยพิบัติต่างๆ เช่น พายุ น้ำท่วม ดินถล่ม ได้อย่างทันท่วงที ช่วยให้ระบบบริหารจัดการน้ำของประเทศมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และยังช่วยป้องกันหรือลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า “ปัจจุบันสภาพอากาศมีความแปรปรวน ภัยธรรมชาติมีความรุนแรงและเกิดถี่มากขึ้น การวางแผนรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นเรื่องสำคัญ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) จึงได้ติดตั้งระบบแบบจำลองอากาศ หรือ “วาฟ” (WRF: Weather Research and Forecasting Model) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ดีที่สุดสำหรับการพยากรณ์และคาดการณ์อากาศในยุคปัจจุบัน โดยที่ผ่านมาในหลายประเทศที่มีปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน ได้เริ่มใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวแล้ว”
จากความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดย สสนก.และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กับ Academia Sinica Grid Computing (ASGC) ประเทศไต้หวัน ทำให้สามารถเข้าถึงการประมวลผล “วาฟ” บนระบบ Grid Computing ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลให้ได้เร็วขึ้น สามารถเตือนภัยพิบัติต่างๆ ได้ทันท่วงที ซึ่งเรียกระบบใหม่ว่า “จีวาฟ” (gWRF) ทำให้ระบบพยากรณ์อากาศที่มีอยู่เดิม เพิ่มความแม่นยำมากขึ้น
“จีวาฟ” จะมีข้อมูลทุกชนิดจากทั่วโลกเกี่ยวกับเรื่องการคาดการณ์อากาศ คือ ลม อุณหภูมิ ความกดอากาศ ความชื้น และแสงแดด เป็นซอฟต์แวร์ที่ให้บริการฟรีสำหรับการวิจัยสภาพอากาศ สามารถนำมาใช้คาดการณ์สภาพอากาศล่วงหน้าได้ 3-7 วัน โดยในประเทศไทยมีหน่วยงานที่สามารถเข้าถึงซอฟต์แวร์ดังกล่าว คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กับ สสนก.ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ สำหรับ สสนก.นั้น จำเป็นต้องใช้จีวาฟเพื่อการบริหารจัดการน้ำโดยเฉพาะ ซึ่งการบริหารจัดการน้ำจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นหากมีระบบการคาดการณ์เข้ามาช่วย
นายวรวัจน์ กล่าวด้วยว่า ส่วนใหญ่การคาดการณ์อากาศในประเทศไทยทุกวันนี้ รวมทั้งของ สสนก.นั้นจะมีความแม่นยำประมาณ 80% ซึ่งถือว่าแม่นยำพอสมควรแล้ว แต่เมื่อนำเทคโนโลยี “จีวาฟ” เข้ามาช่วยทำงาน ความแม่นยำจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 90% ทำให้สามารถเตือนภัยพิบัติต่างๆ เช่น พายุ น้ำท่วม ดินถล่ม ได้อย่างทันท่วงที ช่วยให้ระบบบริหารจัดการน้ำของประเทศมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และยังช่วยป้องกันหรือลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้