ก.วิทย์ - สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ร่วมกับศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ประสบความสำเร็จในการใช้เภสัชรังสีเพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดในระยะเริ่มแรก ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปอดรู้และรักษาได้ทันก่อนเข้าระยะสุดท้าย
มะเร็งปอดถือเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตประชาชนชาวไทยเป็นอันดับต้นๆ จากสถิติสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ระบุว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดที่มาเข้ารับการรักษาประมาณร้อยละ 70 จะเป็นผู้ป่วยที่มีระยะโรคอยู่ที่ระยะที่ 4 ซึ่งเป็นระยะแพร่กระจายและยากต่อการรักษา หากแต่การวินิจฉัยโรคในระยะแรกที่แม่นยำ หากสามารถรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นทำให้โอกาสการรักษาให้มีชีวิตของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งสามารถรู้ระยะการป่วยได้เร็วขึ้น และสามารถทำการรักษาได้ทันท่วงที กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดยสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จึงนำผลงานวิจัยการจัดเตรียมสารเภสัชรังสีสำเร็จรูป ไตรอะมิโน (TRI AMINO) เพื่อสนับสนุนศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ สำหรับใช้ในการตรวจวินิจฉัย บอกระยะโรค การวางแผนการรักษา และประเมินการตอบสนองต่อการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งปอด หรือผู้ป่วยที่มีก้อนในปอดเพียงก้อนเดียว ที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งปอด
การวินิจฉัยดังกล่าวทำโดยเปรียบเทียบกับ 18F-FDG PET/CT ซึ่งเป็นเภสัชรังสีวินิจฉัยตัวเดิม ไม่ได้มีความจำเพาะต่อมะเร็ง ทำให้ไม่สามารถแยกในกรณีที่สงสัยว่าเป็นการติดเชื้อ เช่น วัณโรค หรือ มะเร็งปอด โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่ตรวจพบว่ามีก้อนในปอดเพียงก้อนเดียว พร้อมทั้งเปรียบเทียบความไว (Sensitivity) และความจำเพาะ (Speciticity) ของการตรวจโดยเครื่องเพทสแกนและไซโคลตรอน (PET/CT) ด้วยสารเภสัชรังสีระหว่าง 18F-FDG และ 68 Ga-NOTA-RGD ในผู้ป่วยมะเร็งปอด หรือผู้ป่วยที่มีก้อนในปอดเพียงก้อนเดียว
ผลการวินิจฉัยปรากฏว่า การใช้ไตรอะมิโนมีแนวโน้มที่จะใช้ตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดได้ดี เพราะในผู้ป่วยที่มีก้อนในปอดที่ไม่ใช่มะเร็งจะไม่มีการจับเภสัชรังสีดังกล่าว โดยนักวิจัย สทน.จะร่วมมือกับคณะแพทย์ ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อทดสอบทางคลินิกอีกสักระยะหนึ่ง หลังจากนั้นจะผลิตให้มีปริมาณมากขึ้นเพื่อนำไปใช้กับผู้ป่วยมะเร็งปอดได้อย่างแพร่หลาย
ดร.สมพร จองคำ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยนิวเคลียร์แห่งชาติ เผยว่า ปัจจุบันสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์สามารถเตรียมเภสัชรังสีไตรอะมิโนที่มีคุณภาพดี และเป็นองค์กร 1 ใน 10 จากทั่วโลกที่ดำเนินการพัฒนาเภสัชรังสีตัวนี้ หากในอนาคตอันใกล้นี้มีการใช้สารเภสัชรังสีตัวนี้อย่างแพร่หลายในประเทศไทย จะทำให้การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดในระยะแรกๆ ทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การรักษาทำได้รวดเร็ว อัตราการรอดของผู้ป่วยมะเร็งปอดมีโอกาสเพิ่มขึ้นไปด้วย
มะเร็งปอดถือเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตประชาชนชาวไทยเป็นอันดับต้นๆ จากสถิติสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ระบุว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดที่มาเข้ารับการรักษาประมาณร้อยละ 70 จะเป็นผู้ป่วยที่มีระยะโรคอยู่ที่ระยะที่ 4 ซึ่งเป็นระยะแพร่กระจายและยากต่อการรักษา หากแต่การวินิจฉัยโรคในระยะแรกที่แม่นยำ หากสามารถรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นทำให้โอกาสการรักษาให้มีชีวิตของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งสามารถรู้ระยะการป่วยได้เร็วขึ้น และสามารถทำการรักษาได้ทันท่วงที กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดยสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จึงนำผลงานวิจัยการจัดเตรียมสารเภสัชรังสีสำเร็จรูป ไตรอะมิโน (TRI AMINO) เพื่อสนับสนุนศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ สำหรับใช้ในการตรวจวินิจฉัย บอกระยะโรค การวางแผนการรักษา และประเมินการตอบสนองต่อการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งปอด หรือผู้ป่วยที่มีก้อนในปอดเพียงก้อนเดียว ที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งปอด
การวินิจฉัยดังกล่าวทำโดยเปรียบเทียบกับ 18F-FDG PET/CT ซึ่งเป็นเภสัชรังสีวินิจฉัยตัวเดิม ไม่ได้มีความจำเพาะต่อมะเร็ง ทำให้ไม่สามารถแยกในกรณีที่สงสัยว่าเป็นการติดเชื้อ เช่น วัณโรค หรือ มะเร็งปอด โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่ตรวจพบว่ามีก้อนในปอดเพียงก้อนเดียว พร้อมทั้งเปรียบเทียบความไว (Sensitivity) และความจำเพาะ (Speciticity) ของการตรวจโดยเครื่องเพทสแกนและไซโคลตรอน (PET/CT) ด้วยสารเภสัชรังสีระหว่าง 18F-FDG และ 68 Ga-NOTA-RGD ในผู้ป่วยมะเร็งปอด หรือผู้ป่วยที่มีก้อนในปอดเพียงก้อนเดียว
ผลการวินิจฉัยปรากฏว่า การใช้ไตรอะมิโนมีแนวโน้มที่จะใช้ตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดได้ดี เพราะในผู้ป่วยที่มีก้อนในปอดที่ไม่ใช่มะเร็งจะไม่มีการจับเภสัชรังสีดังกล่าว โดยนักวิจัย สทน.จะร่วมมือกับคณะแพทย์ ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อทดสอบทางคลินิกอีกสักระยะหนึ่ง หลังจากนั้นจะผลิตให้มีปริมาณมากขึ้นเพื่อนำไปใช้กับผู้ป่วยมะเร็งปอดได้อย่างแพร่หลาย
ดร.สมพร จองคำ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยนิวเคลียร์แห่งชาติ เผยว่า ปัจจุบันสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์สามารถเตรียมเภสัชรังสีไตรอะมิโนที่มีคุณภาพดี และเป็นองค์กร 1 ใน 10 จากทั่วโลกที่ดำเนินการพัฒนาเภสัชรังสีตัวนี้ หากในอนาคตอันใกล้นี้มีการใช้สารเภสัชรังสีตัวนี้อย่างแพร่หลายในประเทศไทย จะทำให้การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดในระยะแรกๆ ทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การรักษาทำได้รวดเร็ว อัตราการรอดของผู้ป่วยมะเร็งปอดมีโอกาสเพิ่มขึ้นไปด้วย