ก.วิทย์ - ก.วิทย์ชี้คนไทยใช้เครื่องวัดความดันแพร่หลายถึงระดับครัวเรือน ห่วงอันตรายหากไม่ได้มาตรฐาน ผุดโครงการตรวจสอบคุณภาพเครื่องทั่วประเทศ ส่งเสริมการแพทย์และสาธารณสุขวินิจฉัยถูกต้อง เพิ่มความเชื่อมั่น ปชช. ยกระดับมาตรฐานสากลเตรียมพร้อมเป็น Medical Hub ของภูมิภาคอาเซียน
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันคนไทยตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี รวมถึงอุปกรณ์การตรวจสุขภาพบางอย่างก็สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านทั่วไป ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนมากขึ้น โดยอุปกรณ์อย่างหนึ่งซึ่งมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย คือเครื่องวัดความดันโลหิต ที่มีการใช้งานทั้งในโรงพยาบาลหลัก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไปจนถึงประชาชนทั่วไปที่ซื้อใช้งานในครัวเรือนมีจำนวนมาก อาจส่งผลต่อการดูแลรับผิดชอบได้ไม่ทั่วถึง
นายวรวัจน์ กล่าวต่อว่า ก.วิทย์ ตระหนักถึงความสำคัญของคุณภาพและมาตรฐานเครื่องวัดความดันโลหิตเหล่านี้ ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของประชาชนโดยรวม หากเป็นเครื่องที่ไม่ได้มาตรฐานเพียงพอก็อาจเสี่ยงต่อผลการตรวจวัดที่คลาดเคลื่อน นำไปสู่อันตรายได้ ดังนั้น ทางกระทรวงจึงให้การสนับสนุนสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนามาตรฐานการวัดแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และถ่ายทอดความถูกต้องด้านการวัดสู่กิจกรรมการวัดต่างๆ ภายในประเทศ
มว.จึงจัดทำโครงการ “สถาปนาขีดความสามารถในการตรวจสอบความถูกต้องของระบบเครื่องมือวัดความดันโลหิตในประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล” โดยร่วมมือกับ กระทรวงสาธารณสุข ในหน่วยงานหลักด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.) และ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดำเนินการทดสอบคุณภาพของเครื่องวัดความดันโลหิตตามหลักมาตรฐานสากล อันจะนำไปสู่การวินิจฉัยโรคของแพทย์ได้อย่างถูกต้อง เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับประชาชน สร้างความน่าเชื่อถือในประชาคมอาเซียน เตรียมพร้อมในการเป็น Medical Hub ต่อไป
โดยที่ผ่านมาสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) และสามารถ “สร้างองค์ความรู้” วิธีการทดสอบเครื่องวัดความดันโลหิตตามมาตรฐานสากลขึ้นในประเทศไทย จัดทำเอกสารคู่มือ “ขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน วิธีการทำการทดสอบเครื่องวัดความดันโลหิต” ร่วมกับกรมการวิทยาศาสตร์แพทย์ได้สำเร็จ ซึ่งมาตรฐานดังกล่าว สอดคล้องกับมาตรฐานสากล OIML R 16-1, OIML R 16-2, ISO 81060-1: 2007 และ IEC 80601-2-30:2009
ดังนั้น ทาง ก.วิทย์ มีความมุ่งมั่น ผลักดันเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ในการสานต่อโครงการนี้ให้เป็นที่สำเร็จ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการยกระดับอุปกรณ์การวัดผลทางการแพทย์อื่นๆ ให้ได้มาตรฐานสากลต่อไปในอนาคต
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันคนไทยตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี รวมถึงอุปกรณ์การตรวจสุขภาพบางอย่างก็สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านทั่วไป ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนมากขึ้น โดยอุปกรณ์อย่างหนึ่งซึ่งมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย คือเครื่องวัดความดันโลหิต ที่มีการใช้งานทั้งในโรงพยาบาลหลัก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไปจนถึงประชาชนทั่วไปที่ซื้อใช้งานในครัวเรือนมีจำนวนมาก อาจส่งผลต่อการดูแลรับผิดชอบได้ไม่ทั่วถึง
นายวรวัจน์ กล่าวต่อว่า ก.วิทย์ ตระหนักถึงความสำคัญของคุณภาพและมาตรฐานเครื่องวัดความดันโลหิตเหล่านี้ ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของประชาชนโดยรวม หากเป็นเครื่องที่ไม่ได้มาตรฐานเพียงพอก็อาจเสี่ยงต่อผลการตรวจวัดที่คลาดเคลื่อน นำไปสู่อันตรายได้ ดังนั้น ทางกระทรวงจึงให้การสนับสนุนสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนามาตรฐานการวัดแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และถ่ายทอดความถูกต้องด้านการวัดสู่กิจกรรมการวัดต่างๆ ภายในประเทศ
มว.จึงจัดทำโครงการ “สถาปนาขีดความสามารถในการตรวจสอบความถูกต้องของระบบเครื่องมือวัดความดันโลหิตในประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล” โดยร่วมมือกับ กระทรวงสาธารณสุข ในหน่วยงานหลักด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.) และ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดำเนินการทดสอบคุณภาพของเครื่องวัดความดันโลหิตตามหลักมาตรฐานสากล อันจะนำไปสู่การวินิจฉัยโรคของแพทย์ได้อย่างถูกต้อง เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับประชาชน สร้างความน่าเชื่อถือในประชาคมอาเซียน เตรียมพร้อมในการเป็น Medical Hub ต่อไป
โดยที่ผ่านมาสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) และสามารถ “สร้างองค์ความรู้” วิธีการทดสอบเครื่องวัดความดันโลหิตตามมาตรฐานสากลขึ้นในประเทศไทย จัดทำเอกสารคู่มือ “ขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน วิธีการทำการทดสอบเครื่องวัดความดันโลหิต” ร่วมกับกรมการวิทยาศาสตร์แพทย์ได้สำเร็จ ซึ่งมาตรฐานดังกล่าว สอดคล้องกับมาตรฐานสากล OIML R 16-1, OIML R 16-2, ISO 81060-1: 2007 และ IEC 80601-2-30:2009
ดังนั้น ทาง ก.วิทย์ มีความมุ่งมั่น ผลักดันเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ในการสานต่อโครงการนี้ให้เป็นที่สำเร็จ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการยกระดับอุปกรณ์การวัดผลทางการแพทย์อื่นๆ ให้ได้มาตรฐานสากลต่อไปในอนาคต