เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมายานบินไร้คนขับหรือที่เรียกกันว่า “โดรน” นั้น ยังไม่เป็นที่รู้จักกันเท่าไรนัก แต่ตอนนี้ยานยูเอวีดังกล่าวถูกนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย และใกล้ชิดกับวิถีประจำวันของเรามากขึ้น
ไลฟ์ไซน์รวบรวม 8 ภารกิจเจ๋งๆ ของอากาศไร้คนขับ (unmanned aerial vehicles: UAVs) หรือโดรน (Drone) เทคโนโลยีทางการทหารที่ถูกนำมาใช้ในกิจการพลเรือนมากขึ้น
1.บันทึกภาพบ้่านหรูในธุรกิจอสังหาฯ
แดเนียล กาเรต (Daniel Gárate) หนุ่มอเมริกันหัวใสใช้ยานโดรนส่วนตัวมูลค่ากว่า 150,000 บาท บันทึกวิดีโอของอาคารหรูเพื่อใช้ในธุรกิจอสังหาของลอสแองเจลิส กระทั่งถูกตำรวจสั่งห้ามเนื่องจากยังไม่มีการอนุญาตให้ใช้โดรนเพื่อการพาณิชย์ แต่กฎหมายในปี 2012 ก็เปิดโอกาสให้ใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อประโยชน์ทางการค้าได้ ซึ่งเขาก็ใช้ช่องทางดังกล่าวแอบถ่ายคนเด่นคนดัง
2.ถ่ายภาพกีฬามันๆ
จะให้ตากล้องตามบันทึกภาพกีฬาเอกซ์ตรีมอย่างกระโดดเบสจัมป์ (B.A.S.E jump) หรือนักกีฬาสกี คงทุลักทุเลน่าดู ถึงจะมีกล้องติดตัวนักกีฬาไปด้วยแต่ภาพก็คงไม่สวยดั่งใจ ปัญหานี้ทางบริษัทฟอล์กอร์ซิสเต็มส์ (Falkor Systems) แก้ด้วยการส่งยานโดรนออกตามบันทึกภาพกีฬามันๆ ดังกล่าว เพื่อให้ได้มุมสวยตามต้องการ เมื่อบันทึกภาพเสร็จนักกีฬาก็นำใส่กระเป๋ากลับมาได้
3.ตรวจตราทางด่วน
สหรัฐฯ มีทางด่วนที่เป็นระยะทางกว่า 6 ล้านกิโลเมตรทางหน่วยงานดูแลทางด่วนและการจราจรของสหรัฐฯ จึงจับมือกันเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำโดรนมาตรวจตราการจราจรบนถนนและสะพานต่างๆ ทั้งสำรวจพื้นที่และทำแผนที่ด้วยเลเซอร์ รวมถึงรายงานอุบัติเหตุและปัญหาจราจรติดขัดแก่เจ้าหน้าที่ ซึ่งคาดว่าจะลดความเสี่ยงในการส่งเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติหน้าที่ด้วย
4.สำรวจสัตว์ป่า
สำนักสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ (U.S. Geological Survey) หรือยูเอสจีเอส (USGS) ทดสอบยานราเวน เอ (Raven A) ซึ่งเป็นโดรนขนาดเล็ก 1 เมตร ที่ติดตั้งกล้องบันทึกภาพ ว่าสามารถตรวจนับนกกระเรียนเนินทราย (sandhill crane) หายากและใกล้สูญพันธุ์ทางอากาศได้หรือไม่
ลีแอน แฮนสัน (Leanne Hanson) นักชีววิทยาภาคสนามของยูเอสจีเอส รายงานว่าได้ใช้โดรนบินสำรวจระหว่างนกกระเรียนพักผ่อน เดินเล่นและกินอาหาร ซึ่งในระหว่างพักผ่อนและเดินเล่นนั้นนกไม่ตื่นตระหนกเมื่อโดรนบินผ่าน ยกเว้นระหว่างกินอาหาร ดังนั้น พวกเขาวางแผนที่จะปฏิบัติการสำรวจระหว่างการพักผ่อนและเดินเล่น ซึ่งจะทำให้พฤติกรรมของนกไม่ถูกรบกวน
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดในการใช้โดรนสำรวจอุรังอุตังสุมาตรา ซึ่งมักมีรังอาศัยอยู่บนยอดไม้ และทำให้ยากแก่การศึกษาลิงที่มีวิกฤตใกล้สูญพันธุ์นี้ แต่อากาศยานไร้คนขับจะช่วยให้สำรวจลิงไพรเมทชนิดนี้ทางอากาศได้ง่าย ซึ่งจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่การอนุรักษ์ต่อไป
5.วิจัยชั้นบรรยากาศ
โอโซนในบรรยากาศชั้นบนมีบทบาทสำคัญในการปกป้องผิวโลกไม่ให้ได้รับอันตรายจากรังอัลตราไวโอเลต หรือ ยูวี (UV) ที่ร้ายแรง และเพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นว่าไอน้ำและโอโซนทำอันตรกริยาต่อกันอย่างไร องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) จึงได้ส่งยานยูเอวีขึ้นไปยังชั้นสตราโทสเฟียร์ ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศทีี่พบโอโซนปกป้องโลก
เที่ยวบินของยานยูเอวีที่นาซาส่งขึ้นไปสำรวจโอโซนนี้ เป็นเที่ยวบินแรกของโครงการระยะยาวหลายปี ที่มีเป้าหมายในการศึกษาว่าการเปลี่ยนแปลงของไอน้ำในชั้นสตราโทสเฟียร์นั้นส่งผลกระทบต่อภูมิอากาศโลกอย่างไร
6.ทั้งช่วยล่าสัตว์และต้านการล่าสัตว์
เหตุจากหมูป่าทำลายผลผลิตทางการเกษตร วิศวกรชาวอเมริกันจึงพัฒนา “ดีฮอกาฟลายเออร์” (Dehogaflier) ซึ่งเป็นยานโดรนที่ติดตั้งกล้องตรวจจับความร้อน เพื่อให้เกษตรกรใช้ส่องหาหมูป่าที่ดุร้ายในตอนกลาง เพื่อประหยัดเวลาไม่ต้องไปลุยโคลนในความมืด
ขณะเดียวกันนักพิทักษ์สิทธิสัตว์ก็ใช้โดรนเพื่อค้นหาว่ามีการล่าสัตว์่ป่าผิดกฎหมายเกิดขึ้นที่ใดหรือไม่ รวมถึงในพื้นที่ส่วนบุคคล โดยโดรนที่ติดตั้งกล้งวิดีโอนี้ถูกนำไปใช้โดยกลุ่มต่อต้านกีฬาป่าเถื่อน (League Against Cruel Sports) กลุ่มพิทักษ์สิทธิสัตว์ที่ต่อต้านการล่าหมาป่าอย่างผิดกฎหมาย
7.บรรเทาความเดือดร้อนจากภัยพิบัติ
การใช้โดรนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยพิบัตินั้นถูกใช้งานอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่การเข้าไปในพื้นที่มีรังสีเข้มข้น ซึ่งเป็นอันตรายในการส่งคนเข้าไปปฏิบัติงาน อย่างเช่นการใช้งานหลังเิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ ไปจนถึงการค้นหาผู้รอดชีวิตที่ติดอยู่ในซากปลักหักพัง
อีกทั้งเมื่อเร็วๆ นี้ จอร์จ บาร์บาสตาธิส (George Barbastathis) และทีมจากภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพฮาร์วาร์ด-เอ็มไอที (Harvard-MIT Division of Health Sciences and Technology) เพิ่งได้รับทุนวิจัยจากมูลนิธิบิลแอนด์มิลินดาเกตส์ (Bill and Melinda Gates Foundation) ในการพัฒนาโดรนนำส่งวัคซีนและยาไปยังพื้นที่เข้าถึงยากและเขตประสบภัยพิบัติ
8.การควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อม
ไม่ใช่แค่ในเมืองไทยแต่ในสหรัฐฯ ก็มีปัญหาการลักลอบทิ้งของเสียตอนกลางคืน รวมถึงการลักลอบทำผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ซึ่งโดรนจะช่วยควบคุมปัญหาดังกล่าวได้ โดยนักเล่นโดรนเป็นงานอดิเรกได้เห็นภาพแม่น้ำทรินิตี (Trinity River) เป็นสีเลือดจากการบันทึกโดยยานไร้คนขับ ซึ่งปรากฏว่าเป็นการลักลอบปล่อยน้ำเสียของโรงงานบรรจุเนื้อ และเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมของเท็กซัสกำลังเข้าไปตรวจสอบ
ไลฟ์ไซน์รวบรวม 8 ภารกิจเจ๋งๆ ของอากาศไร้คนขับ (unmanned aerial vehicles: UAVs) หรือโดรน (Drone) เทคโนโลยีทางการทหารที่ถูกนำมาใช้ในกิจการพลเรือนมากขึ้น
1.บันทึกภาพบ้่านหรูในธุรกิจอสังหาฯ
แดเนียล กาเรต (Daniel Gárate) หนุ่มอเมริกันหัวใสใช้ยานโดรนส่วนตัวมูลค่ากว่า 150,000 บาท บันทึกวิดีโอของอาคารหรูเพื่อใช้ในธุรกิจอสังหาของลอสแองเจลิส กระทั่งถูกตำรวจสั่งห้ามเนื่องจากยังไม่มีการอนุญาตให้ใช้โดรนเพื่อการพาณิชย์ แต่กฎหมายในปี 2012 ก็เปิดโอกาสให้ใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อประโยชน์ทางการค้าได้ ซึ่งเขาก็ใช้ช่องทางดังกล่าวแอบถ่ายคนเด่นคนดัง
2.ถ่ายภาพกีฬามันๆ
จะให้ตากล้องตามบันทึกภาพกีฬาเอกซ์ตรีมอย่างกระโดดเบสจัมป์ (B.A.S.E jump) หรือนักกีฬาสกี คงทุลักทุเลน่าดู ถึงจะมีกล้องติดตัวนักกีฬาไปด้วยแต่ภาพก็คงไม่สวยดั่งใจ ปัญหานี้ทางบริษัทฟอล์กอร์ซิสเต็มส์ (Falkor Systems) แก้ด้วยการส่งยานโดรนออกตามบันทึกภาพกีฬามันๆ ดังกล่าว เพื่อให้ได้มุมสวยตามต้องการ เมื่อบันทึกภาพเสร็จนักกีฬาก็นำใส่กระเป๋ากลับมาได้
3.ตรวจตราทางด่วน
สหรัฐฯ มีทางด่วนที่เป็นระยะทางกว่า 6 ล้านกิโลเมตรทางหน่วยงานดูแลทางด่วนและการจราจรของสหรัฐฯ จึงจับมือกันเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำโดรนมาตรวจตราการจราจรบนถนนและสะพานต่างๆ ทั้งสำรวจพื้นที่และทำแผนที่ด้วยเลเซอร์ รวมถึงรายงานอุบัติเหตุและปัญหาจราจรติดขัดแก่เจ้าหน้าที่ ซึ่งคาดว่าจะลดความเสี่ยงในการส่งเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติหน้าที่ด้วย
4.สำรวจสัตว์ป่า
สำนักสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ (U.S. Geological Survey) หรือยูเอสจีเอส (USGS) ทดสอบยานราเวน เอ (Raven A) ซึ่งเป็นโดรนขนาดเล็ก 1 เมตร ที่ติดตั้งกล้องบันทึกภาพ ว่าสามารถตรวจนับนกกระเรียนเนินทราย (sandhill crane) หายากและใกล้สูญพันธุ์ทางอากาศได้หรือไม่
ลีแอน แฮนสัน (Leanne Hanson) นักชีววิทยาภาคสนามของยูเอสจีเอส รายงานว่าได้ใช้โดรนบินสำรวจระหว่างนกกระเรียนพักผ่อน เดินเล่นและกินอาหาร ซึ่งในระหว่างพักผ่อนและเดินเล่นนั้นนกไม่ตื่นตระหนกเมื่อโดรนบินผ่าน ยกเว้นระหว่างกินอาหาร ดังนั้น พวกเขาวางแผนที่จะปฏิบัติการสำรวจระหว่างการพักผ่อนและเดินเล่น ซึ่งจะทำให้พฤติกรรมของนกไม่ถูกรบกวน
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดในการใช้โดรนสำรวจอุรังอุตังสุมาตรา ซึ่งมักมีรังอาศัยอยู่บนยอดไม้ และทำให้ยากแก่การศึกษาลิงที่มีวิกฤตใกล้สูญพันธุ์นี้ แต่อากาศยานไร้คนขับจะช่วยให้สำรวจลิงไพรเมทชนิดนี้ทางอากาศได้ง่าย ซึ่งจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่การอนุรักษ์ต่อไป
5.วิจัยชั้นบรรยากาศ
โอโซนในบรรยากาศชั้นบนมีบทบาทสำคัญในการปกป้องผิวโลกไม่ให้ได้รับอันตรายจากรังอัลตราไวโอเลต หรือ ยูวี (UV) ที่ร้ายแรง และเพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นว่าไอน้ำและโอโซนทำอันตรกริยาต่อกันอย่างไร องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) จึงได้ส่งยานยูเอวีขึ้นไปยังชั้นสตราโทสเฟียร์ ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศทีี่พบโอโซนปกป้องโลก
เที่ยวบินของยานยูเอวีที่นาซาส่งขึ้นไปสำรวจโอโซนนี้ เป็นเที่ยวบินแรกของโครงการระยะยาวหลายปี ที่มีเป้าหมายในการศึกษาว่าการเปลี่ยนแปลงของไอน้ำในชั้นสตราโทสเฟียร์นั้นส่งผลกระทบต่อภูมิอากาศโลกอย่างไร
6.ทั้งช่วยล่าสัตว์และต้านการล่าสัตว์
เหตุจากหมูป่าทำลายผลผลิตทางการเกษตร วิศวกรชาวอเมริกันจึงพัฒนา “ดีฮอกาฟลายเออร์” (Dehogaflier) ซึ่งเป็นยานโดรนที่ติดตั้งกล้องตรวจจับความร้อน เพื่อให้เกษตรกรใช้ส่องหาหมูป่าที่ดุร้ายในตอนกลาง เพื่อประหยัดเวลาไม่ต้องไปลุยโคลนในความมืด
ขณะเดียวกันนักพิทักษ์สิทธิสัตว์ก็ใช้โดรนเพื่อค้นหาว่ามีการล่าสัตว์่ป่าผิดกฎหมายเกิดขึ้นที่ใดหรือไม่ รวมถึงในพื้นที่ส่วนบุคคล โดยโดรนที่ติดตั้งกล้งวิดีโอนี้ถูกนำไปใช้โดยกลุ่มต่อต้านกีฬาป่าเถื่อน (League Against Cruel Sports) กลุ่มพิทักษ์สิทธิสัตว์ที่ต่อต้านการล่าหมาป่าอย่างผิดกฎหมาย
7.บรรเทาความเดือดร้อนจากภัยพิบัติ
การใช้โดรนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยพิบัตินั้นถูกใช้งานอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่การเข้าไปในพื้นที่มีรังสีเข้มข้น ซึ่งเป็นอันตรายในการส่งคนเข้าไปปฏิบัติงาน อย่างเช่นการใช้งานหลังเิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ ไปจนถึงการค้นหาผู้รอดชีวิตที่ติดอยู่ในซากปลักหักพัง
อีกทั้งเมื่อเร็วๆ นี้ จอร์จ บาร์บาสตาธิส (George Barbastathis) และทีมจากภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพฮาร์วาร์ด-เอ็มไอที (Harvard-MIT Division of Health Sciences and Technology) เพิ่งได้รับทุนวิจัยจากมูลนิธิบิลแอนด์มิลินดาเกตส์ (Bill and Melinda Gates Foundation) ในการพัฒนาโดรนนำส่งวัคซีนและยาไปยังพื้นที่เข้าถึงยากและเขตประสบภัยพิบัติ
8.การควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อม
ไม่ใช่แค่ในเมืองไทยแต่ในสหรัฐฯ ก็มีปัญหาการลักลอบทิ้งของเสียตอนกลางคืน รวมถึงการลักลอบทำผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ซึ่งโดรนจะช่วยควบคุมปัญหาดังกล่าวได้ โดยนักเล่นโดรนเป็นงานอดิเรกได้เห็นภาพแม่น้ำทรินิตี (Trinity River) เป็นสีเลือดจากการบันทึกโดยยานไร้คนขับ ซึ่งปรากฏว่าเป็นการลักลอบปล่อยน้ำเสียของโรงงานบรรจุเนื้อ และเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมของเท็กซัสกำลังเข้าไปตรวจสอบ