xs
xsm
sm
md
lg

พบเส้นทางข้ามทะเลไปผสมพันธุ์ของปลาไหลยุโรป

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นักวิทยาศาสตร์ติดตามเส้นทางผสมพันธุ์ของปลาไหลยุโรป สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งมีแหล่งผสมพันธุ์เดียวอยู่ในทะเลของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ
พบเส้นทางผสมพันธุ์อันลึกลับของปลาไหลหายากของยุโรปที่อาศัยอยู่ในแถบเมดิเตอร์เรเนียนถึงสแกนดิเนเวีย ซึ่งว่ายน้ำจากแม่น้ำและแหล่งน้ำกร่อยเป็นระยะทางนับพันกิโลเมตรข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังทะเลซาร์กัสโซ ซึ่งเป็นพื้นที่ทะเลเปิดที่อุ่นกว่า เค็มกว่า น้ำทะเลที่ฟ้าเข้มกว่าและใสกว่าน้ำ ทะเลอื่นที่อยู่รอบๆ

ไลฟ์ไซน์ ระบุว่า การเดินทางไปผสมพันธุ์ของปลาไหลยุโรปข้างต้นนั้นยังคงเป็นปริศนาต่อวงการวิทยาศาสตร์ เพราะไม่เคยมีไข่ หรือปลาไหลที่โตแล้วถูกจับได้ในทะเลซาร์กัสโซ (Sargasso Sea) ซึ่งอยู่ตอนกลางของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ และรายล้อมด้วยกระแสน้ำอุ่น แต่ล่าสุด นักวิจัยได้ติดแผ่นป้ายติดตามด้วยดาวเทียมให้ปลาไหล 600 ตัวจากแหล่งต่างๆ ในยุโรป และที่สุดก็สามารถสร้างแผนที่เส้นทางไปวางไข่ของปลาไหลได้

คิม อาเรสรัป (Kim Aarestrup) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคนิคเดนมาร์ก (Technical University of Denmark) กล่าวว่า จากการติดตามสัญญาณดาวเทียมพวกเขาสามารถติดตามสัญาได้ไกลถึงแถบกระแสน้ำอุ่นเอซอร์ส (Azores Current) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวิธีในการออมพลังงานของปลาไหล โดยให้กระแสน้ำด้วยพัดพาไปยังเป้าหมาย

นอกจากนี้ ข้อมูลจากโครงการติดตามปลาไหลยุโรปที่เรียกว่า “อีลเอด” (eeliad) ยังเผยข้อมูลพันธุกรรมของปลาไหลซึ่งอยู่ในสปีชีส์ แองกุยลา แองกุยลา (Anguilla anguilla) ซึ่งแสดงถึงการจับคู่สมพันธุ์แบบสุ่มที่เรียกว่า “แพนมิคติค” (panmictic) อันเป็นสิ่งบ่งชี้ว่า ฝูงปลาไปรวมกันที่จุดวางไข่เพียงจุดเดียว ไม่ใช่หรือหลายๆ จุด โดย

โธมัส แดมม์ อัลส์ (Thomas Damm Als) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคนิคเดนมาร์กบอกทาง ยัวร์อิสด็อทคอม (youris.com) ซึ่งสำนักข่าวไม่แสวงกำไร ว่า ข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้อย่างชัดเจนว่า ปลาไหลยุโรปนั้นวางไข่ที่ทะเลซาร์กัสไซเพียงแห่งเดียว และไม่มีที่อื่นอีก

ไลฟ์ไซน์รายงานจากยัวร์อิสด็อทคอม อีกว่า ตอนนี้ประชากรของปลาไหลยุโรปเหลือไม่ถึง 5% ของปริมาณปลาไหลเมื่อ 40 ปีก่อน และเป็นสปีชีส์ที่ถูกจัดให้อยู่ในบัญชีรายชื่อสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (critically endangered) ของสหพันธ์นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature: IUCN)







กำลังโหลดความคิดเห็น