xs
xsm
sm
md
lg

รู้ไหมว่า...“สุริยุปราคา” เกิดขึ้นได้อย่างไร?

เผยแพร่:

ปรากฏการณ์ดวงจันทร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์หรือที่เรียกว่า “สุริยุปราคา” นั้น เป็นอีกปรากฏการณ์ที่ดึงดูดผู้ชมทั่วโลก สเปซดอตคอมได้สร้างภาพกราฟิกให้เราเข้าใจปรากฏการณ์นี้ได้อย่างง่ายๆ
สุริยุปราคาเกิดเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนมาอยู่ตรงกลางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยขนาดปรากฏของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้นมีผลต่อรูปแบบของสุริยุปราคา ซึ่งดวงจันทร์จะบังดวงอาทิตย์หมดหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับขนาดปรากฏ และจากภาพนี้แสดงขนาดปรากฏของทั้งสองดวงเมื่อมองจากโลก โดยเส้นวงกลมทึบสีฟ้าเป็นขนาดปรากฏเมื่อดวงจันทร์เข้าใกล้โลกมากที่สุด เส้นวงกลมทึบสีส้มเป็นขนาดปรากฏเมื่อดวงอาทิตย์เข้าใกล้โลกมากที่สุด เส้นประสีฟ้าเป็นขนาดปรากฏเมื่อดวงจันทร์อยู่ไกลโลกมากที่สุด และเส้นประสีส้มเป็นขนาดปรากฏเมื่อดวงอาทิตย์อยู่ไกลโลกมากที่สุด
ภาพแสดงความสัมพันธ์ของระยะทางระหว่างโลกและดวงจันทร์ โดยที่ระยะใกล้ที่สุดของดวงจันทร์หรือระยะเปริจี (perigee) อยู่ห่างจากโลกประมาณ 363,104 กิโลเมตร และระยะไกลที่สุดของดวงจันทร์หรือระยะอะโพจี (apogee) อยู่ห่างจากโลกประมาณ กิโลเมตร 405,696 กิโลเมตร
เมื่อเงาดวงจันทร์หรือคราสตกกระทบผิวโลกจะเกิดเงามืด (umbra) ซึ่งเป็นเงาที่มืดที่สุดและเมื่อตกกระทบผิวโลกแล้วจะกว้างไม่เกิน 267 กิโลเมตร กับเงามัว (penumbra) ซึ่งเป็นเงาที่จางกว่า
แผนภาพเส้นทางปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบต่างๆ ระหว่างปี 2001-2020 โดยแถบสีแดงคือเส้นทางปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ส่วนแถบสีน้ำเงินคือเส้นทางปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน (Fred Espenak/นาซา)
ปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบต่างๆ สุริยุปราคาบางส่วน (Partial Solar Eclipse) , สุริยุปราคาเต็มดวง (Total Solar Eclipse ) , สุริยุปราคาวงแหวน (Annular Solar Eclipse) และสุริยุปราคาแบบผสม (Hybrid Solar Eclipse) ที่บางส่วนของโลกเห็นเป็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง แต่บางส่วนของโลกเห็นเป็นสุริยุปราคาวงแหวน
เครดิตภาพทั้งหมด:สเปซดอตคอม/Karl Tate
กำลังโหลดความคิดเห็น