Earth | Time Lapse View from Space, Fly Over | NASA, ISS from Michael König on Vimeo.
แม้บางครั้งโลกอาจโหดร้ายกับเราบ้าง แต่เมื่อมองลงมาจากความสูงกว่า 350 กิโลเมตรนั้น ทำให้เราได้เห็นความงามอันน่าตื่นตะลึงของ ดาวเคราะห์ดวงเดียวที่เป็น “บ้าน” ของเราทุกคน
คลิปดังกล่าวผลิตขึ้นโดย ไมเคิล เคอนิก (Michael König) และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ Vimeo โดยเขาได้ยกเครดิตของภาพถ่าย 18 ชุดที่นำมาผลิตคลิปให้แก่ รอน การัน (Ron Garan) ซาโตชิ ฟูรุกาวะ (Satoshi Furukawa) และลูกเรือประจำสถานีอวกาศนานาชาติชุดที่ 28 และ 29 ซึ่งบันทึกภาพโลกของเราจากสถานีอวกาศที่โคจรรอบโลก ณ ความสูงประมาณ 350 กิโลเมตร ขณะปฏิบัติหน้าที่ระหว่างเดือน ส.ค.-ต.ค.54
คลิปความยาว 5 นาทีนี้ผลิตขึ้นจากภาพโลก 18 ชุด ซึ่งเผยให้เห็นทั้งแสงเหนือ (Aurora Borealis) และแสงใต้ (Aurora Australis) หรือแสงออโรรา (Aurora) จากบริเวณต่างๆ ของโลก อาทิ แสงเหนือซึ่งผ่านสหรัฐฯ ตอนกลางคืน แสงใต้ที่ผ่านตั้งแต่มาดากัสการ์ไปจนถึงตะวันตกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย ภาพค่ำคืนของแอฟริกากลางและตะวันออกกลาง ยามเย็นเหนือทะเลทรายซาฮาราและตะวันออกกลาง เป็นต้น
เคอนิกอธิบายว่าเขาพยายามทำคลิปความละเอียดสูงระดับเอชดี (HD) โดยพยายามปรับแต่งแต่ให้ภาพคงลักษณะเดิมให้มากที่สุดและเลี่ยงการปรับแต่งสี เพราะในความเห็นของเขาภาพต้นฉบับนั้นก็ดูเกือบเกินจริงอยู่แล้ว
ภาพชุดที่ปรากฏในคลิป ได้แก่
1.แสงเหนือผ่านสหรัฐฯ ในยามค่ำคืน
2.แสงเหนือและตะวันออกของสหรัฐฯ ในตอนกลางคืน
3.แสงใต้จากมาดากัสการ์ถึงตะวันตกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย
4.แสงใต้ทางตอนใต้ของออสเตรเลีย
5.ภาพชายฝั่งจะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ ถึงอเมริกาใต้ตอนกลางในยามค่ำคืน
6.แสงใต้จากมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ถึงมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ
7.เดินทางครึ่งโลก
8.ยามค่ำคืนเหนือแอฟริกากลางและตะวันออกกลาง
9.ยามเย็นเหนือทะเลทรายซาฮาราและตะวันออกกลาง
10.สถานีอวกาศผ่านกลางคืนเหนือแคนาดาและสหรัฐฯ ตอนกลาง
11.สถานีผ่านแคลฟอร์เนียตอนใต้ถึงอ่าวฮัดสัน
12.หมู่เกาะในทะเลฟิลิปปินส์ตอนกลางคืน
13.สถานีอวกาศผ่านเอเชียตะวันออกไปถึงทะเลฟิลิปปินส์และกวม
14.ทิวทัศน์ของตะวันออกกลางยามค่ำคืน
15.สถานีอวกาศผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตอนกลางคืน
16.แสงเหนือและสหรัฐฯ ตอนกลางคืน
17.แสงใต้เหนือมหาสมุทรอินเดีย
18.ยุโรปตะวันออกถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนกลางคืน
ดูคลิปนี้แล้วคุณรู้สึกอย่างไรบ้าง?