ครั้งหนึ่งเราเคยเชื่อว่าความโน้มถ่วงเป็นแบบที่ ไอแซค นิวตัน (Isaac Newton) เสนอขึ้น แต่การศึกษาต่อมาแสดงให้เห็นว่าความโน้มถ่วงในแบบ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ถูกต้องมากกว่า โดยที่ทฤษฎีของ “นิวตัน” นั้นเป็นกรณีประมาณหรือกรณีเฉพาะกรณีหนึ่งในทฤษฎีของไอน์สไตน์
แล้วทฤษฎีความโน้มถ่วงของทั้งสองคนนั้นต่างกันอย่างไร?
*อนุเคราะห์ข้อมูลโดย
ดร.บุรินทร์ กำจัดภัย สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ฯ วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐานแห่งมหาวิทยาลัยนเรศวรและศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ของ สกอ.
แล้วทฤษฎีความโน้มถ่วงของทั้งสองคนนั้นต่างกันอย่างไร?
ความโน้มถ่วงและฟิสิกส์แบบนิวตัน | ความโน้มถ่วงและฟิสิกส์แบบไอน์สไตน์ |
กาล (time) และ อวกาศ (space) แยกกันโดยสมบูรณ์ เวลาของทุกๆ คนเดินไปเร็วเท่าๆกัน | อวกาศและเวลามีความเกี่ยวข้องกัน เวลาของผู้สังเกตที่เคลื่อนที่ในการกรอบการเคลื่อนที่ที่มีความเร็วต่างกันนั้นจะวัดได้ไม่เท่ากัน |
กาลหรือเวลาเป็นสิ่งสมบูรณ์ไม่ขึ้นกับกรอบการเคลื่อนที่ ไม่มีการยืดออกของเวลา | เวลาบนวัตถุที่มีความเร็วสูงๆ จะเดินช้าลงคือยืดออก นอกจากนี้เวลายังเดินช้าลงเมื่ออยู่ใกล้กับวัตถุที่มีมวลมากๆ |
อวกาศแบนราบ มวลสสารไม่มีผลต่อการโค้งงอของอวกาศ | - มวลสารทำให้อวกาศโค้งงอได้ ความโค้งของอวกาศนี้ทำให้เกิดปรากฏการณ์จีโอติค -มวลสสารนี้หากหมุนหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง (ที่ไม่ได้เกิดจากความโน้มถ่วง) เมื่อใดแล้วจะเกิดการลากกรอบอ้างอิงซึ่งก็คือปรากฏการณ์เฟรมแดรกกิงนั่นเอง |
ความโน้มถ่วงถือเป็นแรงพื้นฐานประเภทหนึ่ง | ความโน้มถ่วงไม่ใช่แรง หากแต่เป็นลักษณะความโค้งของอวกาศ |
แสงเดินทางโดยไม่ใช้เวลา เหตุการณ์เกิดขึ้นทันทีทันใด สิ่งที่เราเห็นในปรากฏการณ์บนท้องฟ้าคือสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน | ความเร็วแสงมีขีดจำกัด คือ ประมาณ 3x108 เมตรต่อวินาที ปรากฏบนท้องฟ้าจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต |
*อนุเคราะห์ข้อมูลโดย
ดร.บุรินทร์ กำจัดภัย สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ฯ วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐานแห่งมหาวิทยาลัยนเรศวรและศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ของ สกอ.