ตามธรรมเนียมฝรั่งพอถึงวันที่ 1 เม.ย. ของทุกปี จะมีการอำกันหรือโกหกกันใน “วันเมษาหน้าโง่” และเป็นอีกวันที่เราต้องใช้สติ ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารให้มากเพื่อไม่ตกเป็น “คนโง่” ที่โดนหลอกในวันนี้ ซึ่งแม้แต่วงการวิทยาศาสตร์ก็ยังหนีไม่พ้นเรื่อง “ลวงๆ”
ต้อนรับ “วันเมษาหน้าโง่” (April’s Fool Day) ที่ใครต่อใครโกหกกันหน้าตาเฉยในวันที่ 1 เม.ย. ทางเนชันนัลจีโอกราฟิก เลยนำภาพประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ ที่เป็นเรื่องลวงๆ มานำเสนอ ไปดูกันว่าเราเคยหลงเชื่อในภาพเหล่านี้หรือไม่?
“พิลท์ดาวน์แมน” (Piltdown Man) มนุษย์ครึ่งคนครึ่งลิง
เมื่อปี 1912 นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่า พวกเขาได้ค้นพบหลักฐานที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และลิง จากการค้นพบเศษกะโหลกคล้ายของมนุษย์และขากรรไกรคล้ายของลิงไม่มีหางในหลุมกรวดที่เมืองพิลท์ดาวน์ ประเทศอังกฤษ และต่อมาพิพิธภัณฑ์บริติซ (British Museum) ได้ประกอบกะโหลกและขากรรไกรเข้าด้วยกัน
แต่ในปี 1953 กลายเป็นว่าสิ่งที่ค้นพบนั้น ไม่ใช่หลักฐานการเชื่อมโยงระหว่างคนกับลิง หากแต่เป็นงานของคนทำปลอมขึ้นมาได้เหมือนจริงมากเท่านั้น โดยกะโหลกเป็นของมนุษย์ในยุคกลาง ส่วนขากรรไกรเป็นของอุรังอุตัง และฟันเป็นของชิมแปนซี
ในภาพนี้ อัลแวน ที.มาร์สตัน (Alvan T. Marston) ผู้พิสูจน์ว่ากะโหลกพิลท์ดาวน์ไม่ใช่ของจริง ได้แสดงให้เห็นว่าฟันของชิมแปนซีนั้นตรงกับกะโหลกดังกล่าวอย่างไร
ยักษ์คาร์ดิฟฟ์ (Cardiff Giant)
ยักษ์คาร์ดิฟฟ์เป็นอีกหนึ่งตำนานโกหก ซึ่งเมื่อปี 1869 ชาวไร่และคนผลิตซิการ์ได้ขุดพบร่างหินของยักษ์สูง 3 เมตร หนัก 1,360 กิโลกรัม ใกล้ๆ เมืองคาร์ดิฟฟ์ ในนิวยอร์ก สหรัฐฯ รูปปั้นร่างมนุษย์ขนาดใหญ่ที่ผู้เชี่ยวชาญปลอมๆ เรียกว่า “ยักษ์” นี้ปั้นขึ้นจากยิปซัม ซึ่งเห็นได้ชัดเจนอย่างไม่ต้องสงสัย แต่พี่น้องที่ช่วยกันสร้างยักษ์ปลอมนี้ขึ้นมาก็เก็บค่าเข้าชม “ยักษ์คาร์ดิฟฟ์” จากนักท่องเที่ยวที่สนใจกันคนละ 50 เซนต์
อาร์เคโอแรพเตอร์ (Archaeoraptor)
เป็นความจริงที่ว่าไดโนเสาร์และนกมีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกัน แต่ก็มีคนเล่นสกปรกในการหาหลักฐานปลอมเพื่อเติมการเชื่อมโยงที่หายไป โดยนิตยสารเนชันนัลจีโอกราฟิก (National Geographic) เคยตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตคล้ายนกที่ชื่อ อาร์เคโอแรพเตอร์ เลียโอนิงเอนซิส (Archaeoraptor liaoningensis) และยังได้จัดแสดงซากสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ที่สมาคมเนชันนัลจีโฮกราฟิกในวอชิงตัน สหรัฐฯ เมื่อปี 1999
ไม่ต่างจากพิลท์ดาวน์แมน ที่สิ่งมีชีวิตดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ว่า เป็นหลักฐานที่ดีจนไม่น่าเชื่อ ทุกวันนี้อาร์เคโอแรพเตอร์ถูกขนานว่าเป็น “ไก่พิลท์ดาวน์” (Piltdown Chicken) ซึ่งเกิดจากฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตต่างสายพันธุ์ 2 ชนิด และเนชันนัลจีโอกราฟิกได้ยืนยันความผิดพลาดดังกล่าวเมื่อเดือน เม.ย.2000
ไอ้ตีนโต (Bigfoot)
ในช่วงปี 1920 รอยเท้าขนาดใหญ่บนหิมะได้สร้างความตื่นกลัวให้แก่ชาวเหมืองในสหรัฐฯ แต่เมื่อปี 1982 แรนท์ มัลเลนส์ (Rant Mullens) คนตัดไม้ในภาพซ้ายได้ออกมายอมรับว่า เขามีส่วนในการทำเรื่องเล่นตลกนี้ โดยการประทับรอยเท้าลงบนหิมะบริเวณภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ (Mount St. Helens) ในวอชิงตัน โดยใช้เท้าไม้ดังที่เห็นเขาถือในภาพ ส่วนภาพขวาเป็นภาพเด็กชายในปี 1975 ถือรอยเท้าหล่อปูนปลาสเตอร์ซึ่งพ่อของเขาเชื่อว่าคือรอยเท้าของไอ้ตีนโตที่พบในเมืองปูยัลลัป วอชิงตัน
เรื่องราวหลอกลวงมีให้เห็นทุกวงการ อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ... ไม่เว้นเฉพาะวันเมษาหน้าโง่ ... ว่าแต่เราจะโดนหลอกอะไรอีกไหม?
ต้อนรับ “วันเมษาหน้าโง่” (April’s Fool Day) ที่ใครต่อใครโกหกกันหน้าตาเฉยในวันที่ 1 เม.ย. ทางเนชันนัลจีโอกราฟิก เลยนำภาพประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ ที่เป็นเรื่องลวงๆ มานำเสนอ ไปดูกันว่าเราเคยหลงเชื่อในภาพเหล่านี้หรือไม่?
“พิลท์ดาวน์แมน” (Piltdown Man) มนุษย์ครึ่งคนครึ่งลิง
เมื่อปี 1912 นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่า พวกเขาได้ค้นพบหลักฐานที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และลิง จากการค้นพบเศษกะโหลกคล้ายของมนุษย์และขากรรไกรคล้ายของลิงไม่มีหางในหลุมกรวดที่เมืองพิลท์ดาวน์ ประเทศอังกฤษ และต่อมาพิพิธภัณฑ์บริติซ (British Museum) ได้ประกอบกะโหลกและขากรรไกรเข้าด้วยกัน
แต่ในปี 1953 กลายเป็นว่าสิ่งที่ค้นพบนั้น ไม่ใช่หลักฐานการเชื่อมโยงระหว่างคนกับลิง หากแต่เป็นงานของคนทำปลอมขึ้นมาได้เหมือนจริงมากเท่านั้น โดยกะโหลกเป็นของมนุษย์ในยุคกลาง ส่วนขากรรไกรเป็นของอุรังอุตัง และฟันเป็นของชิมแปนซี
ในภาพนี้ อัลแวน ที.มาร์สตัน (Alvan T. Marston) ผู้พิสูจน์ว่ากะโหลกพิลท์ดาวน์ไม่ใช่ของจริง ได้แสดงให้เห็นว่าฟันของชิมแปนซีนั้นตรงกับกะโหลกดังกล่าวอย่างไร
ยักษ์คาร์ดิฟฟ์ (Cardiff Giant)
ยักษ์คาร์ดิฟฟ์เป็นอีกหนึ่งตำนานโกหก ซึ่งเมื่อปี 1869 ชาวไร่และคนผลิตซิการ์ได้ขุดพบร่างหินของยักษ์สูง 3 เมตร หนัก 1,360 กิโลกรัม ใกล้ๆ เมืองคาร์ดิฟฟ์ ในนิวยอร์ก สหรัฐฯ รูปปั้นร่างมนุษย์ขนาดใหญ่ที่ผู้เชี่ยวชาญปลอมๆ เรียกว่า “ยักษ์” นี้ปั้นขึ้นจากยิปซัม ซึ่งเห็นได้ชัดเจนอย่างไม่ต้องสงสัย แต่พี่น้องที่ช่วยกันสร้างยักษ์ปลอมนี้ขึ้นมาก็เก็บค่าเข้าชม “ยักษ์คาร์ดิฟฟ์” จากนักท่องเที่ยวที่สนใจกันคนละ 50 เซนต์
อาร์เคโอแรพเตอร์ (Archaeoraptor)
เป็นความจริงที่ว่าไดโนเสาร์และนกมีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกัน แต่ก็มีคนเล่นสกปรกในการหาหลักฐานปลอมเพื่อเติมการเชื่อมโยงที่หายไป โดยนิตยสารเนชันนัลจีโอกราฟิก (National Geographic) เคยตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตคล้ายนกที่ชื่อ อาร์เคโอแรพเตอร์ เลียโอนิงเอนซิส (Archaeoraptor liaoningensis) และยังได้จัดแสดงซากสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ที่สมาคมเนชันนัลจีโฮกราฟิกในวอชิงตัน สหรัฐฯ เมื่อปี 1999
ไม่ต่างจากพิลท์ดาวน์แมน ที่สิ่งมีชีวิตดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ว่า เป็นหลักฐานที่ดีจนไม่น่าเชื่อ ทุกวันนี้อาร์เคโอแรพเตอร์ถูกขนานว่าเป็น “ไก่พิลท์ดาวน์” (Piltdown Chicken) ซึ่งเกิดจากฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตต่างสายพันธุ์ 2 ชนิด และเนชันนัลจีโอกราฟิกได้ยืนยันความผิดพลาดดังกล่าวเมื่อเดือน เม.ย.2000
ไอ้ตีนโต (Bigfoot)
ในช่วงปี 1920 รอยเท้าขนาดใหญ่บนหิมะได้สร้างความตื่นกลัวให้แก่ชาวเหมืองในสหรัฐฯ แต่เมื่อปี 1982 แรนท์ มัลเลนส์ (Rant Mullens) คนตัดไม้ในภาพซ้ายได้ออกมายอมรับว่า เขามีส่วนในการทำเรื่องเล่นตลกนี้ โดยการประทับรอยเท้าลงบนหิมะบริเวณภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ (Mount St. Helens) ในวอชิงตัน โดยใช้เท้าไม้ดังที่เห็นเขาถือในภาพ ส่วนภาพขวาเป็นภาพเด็กชายในปี 1975 ถือรอยเท้าหล่อปูนปลาสเตอร์ซึ่งพ่อของเขาเชื่อว่าคือรอยเท้าของไอ้ตีนโตที่พบในเมืองปูยัลลัป วอชิงตัน
เรื่องราวหลอกลวงมีให้เห็นทุกวงการ อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ... ไม่เว้นเฉพาะวันเมษาหน้าโง่ ... ว่าแต่เราจะโดนหลอกอะไรอีกไหม?