xs
xsm
sm
md
lg

ชมภาพ “สุริยุปราคาบางส่วน” ที่คนไทยได้ยล

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ประมวลภาพสุริยุปราคาบางส่วน และบรรยากาศการชมสุริยุปราคาบางส่วน วันที่ 15 ม.ค.53 ในประเทศไทย ซึ่งเกิดปรากฏการณ์ระหว่าง 14.00 น.-17.00 น.

สำหรับปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของสุริยุปราคาวงแหวนที่เห็นได้ในจีนและพม่า โดยในเมืองไทยเห็นเป็นแบบบางส่วนเนื่องจากอยู่ใกล้แนวคราสวงแหวน ซึ่งจังหวัดภาคเหนือจะเห็นการบดบังในสัดส่วนมากกว่าจังหวัดในภาคใต้ เช่น จ.แม่ฮ่องสอนเห็นการบดบังมากถึง 77% ส่วนกรุงเทพฯ เห็นการบดบังได้ 57.3% ขณะที่ภาคใต้เห็นการบดบังน้อยสุด จ.นราธิวาสเห็นการบดบังเพียง 36%

หลังปรากฏการณ์สุริยุปราคาในที่ 15 ม.ค.53 นี้ คนไทยต้องรออีก 2 ปีจึงจะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาอีกครั้งในประเทศไทย คือปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนวันที่ 20 พ.ค.2555 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสุริยุปราคาวงแหวนที่คราสพาดผ่านญี่ปุ่น และในวันที่ 8 มี.ค.59 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงที่คราสพาดผ่านเกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา และไทยจะเห็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวนในส่วนของภาคใต้วันที่ 21 พ.ค.74 ส่วนสุริยุปราคาเต็มดวงในเมืองไทยจะเกิดขึ้นในวันที่ 11 เม.ย.2613




ภาพสุริยุปราคาเมื่อเวลา 14.23 น. ซึ่งบันทึกโดยทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ผ่านกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงที่ติดแผ่นกรองแสง จึงได้ภาพปรากฏการณ์ที่กลับหัวจากภาพจริง และยังเห็น "จุดมืด" ทางด้านซ้ายของดวงอาทิตย์ด้วย





ภาพสุริยุปราคาเมื่อเวลา 14.43 น. ซึ่งบันทึกโดย ทีมสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ณ สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ จ.เชียงใหม่





ภาพสุริยุปราคาเมื่อเวลา 15.38 น. ซึ่งเป็นช่วงที่เงาดวงจันทร์เคลื่อนเข้าบดบังดวงอาทิตย์มากที่สุดจากพื้นที่สังเกตใน จ.เชียงใหม่ คิดเป็น 73.6% ของพื้นที่ดวงอาทิตย์ บันทึกโดย ทีมสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ณ สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ จ.เชียงใหม่





นักศึกษาและบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ตั้งใจฟังคำแนะนำจากนักวิทยาศาสตร์ก่อนเริ่มต้นสังเกตสุริยุปราคา เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. ของวันที่ 15 ม.ค. 53





เงาสะท้อนของสุริยุปราคาบางส่วนบนฉากรับ เมื่อเวลาประมาณ 15.57 น. ที่คณะอาจารย์และนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เตรียมไว้สำหรับชมสุริยุปราคาครั้งแรกของปี 53





ดวงอาทิตย์เมื่อถูกดวงจันทร์บดบังไปราว 30% เมื่อเวลาประมาณ 14.40 น. ณ จุดสังเกตบริเวณคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท





น้องๆ จากโรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์ และ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศน์รังสิต ตั้งใจฟังความรู้เกี่ยวกับสุริยุปราคา เพื่อเตรียมพร้อมก่อนชมสุริยุปราคาบางส่วนของจริง





เด็กๆ จากโรงเรียนต่างๆ ร่วมกิจกรรมชมสุริยุปราคาบางส่วน ที่ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย จัดขึ้นร่วมกับ ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทยร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา รังสิต ที่บริเวณด้านหน้าอาคารบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย





ดูสุริยุปราคาผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่ติดฟิล์มกรองแสงแล้วจึงจะปลอดภัยต่อดวงตา





ดูสุริยุปราคาโดยอ้อมจากภาพสะท้อนบนฉากรับภาพ ปลอดภัย 100%





ภาพสุริยุปราคาเมื่อคราสบังมากที่สุด เวลา 15.38 นาฬิกา ณ หอดูดาวบัณฑิต ฉะเชิงเทรา บันทึกโดย วรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต ด้วยกล้องชมิดท์ แคสซิเกรน ขนาดหน้ากล้อง 8 นิ้ว





ภาพสุริยุปราคาเน้นให้เห็นขอบดวงจันทร์ ซึ่งบังดวงอาทิตย์ และ "จุดมืด" บนดวงอาทิตย์ที่เพิ่งกลับมาให้เห็นอีกครั้ง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ไม่มีให้เห็น บันทึกเมื่อ เวลา 14.41 นาฬิกา ณ หอดูดาวบัณฑิต ฉะเชิงเทรา โดย วรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต ด้วยกล้องชมิดท์ แคสซิเกรน ขนาดหน้ากล้อง 11 นิ้ว

กำลังโหลดความคิดเห็น