xs
xsm
sm
md
lg

แสงซินโครตรอนพร้อมใช้เชิญภาคเอกชนร่วมวิจัยฟรี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ
รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ผู้ปฏิบัติงานผู้อำนวยการสถาบันแสงซินโครตรอน เชิญชวนเอกชนร่วมวิจัยใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนมากขึ้น ระบุสถาบันเป็นศูนย์ร่วมนักวิจัยและเครื่องมือระดับโลก และเปิดให้ใช้บริการฟรี

รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกรรมการบริหารสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนกล่าวระหว่างแถลงข่าวเมื่อวันที่ 1 ก.ย.52 ณ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ร่วมรับฟังด้วยว่า ขณะนี้เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนของสถาบันมีความพร้อมในให้บริการแก่ภาครัฐและเอกชนที่สนใจนำแสงซินโครตรอนไปใช้ประโยชน์และทำวิจัย โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

ทั้งนี้ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันฯ กล่าวว่าตั้งแต่นำเครื่องแสงซินโครตรอนที่ได้รับบริจาคมาจากญี่ปุ่น ได้ปรับปรุงให้เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนผลิตแสงในช่วงความถี่ที่กว้างมาก ตั้งแต่ช่วงแสงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน รังสีอินฟราเรด แสงที่ช่วยให้ตามองเห็น รังสียูวีที่ใช้ประโยชน์ในงานวิจัยผิวหน้าวัสดุ โดยผลิตแสงต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงเป็นเวลา 3-4 เดือน และหยุดพักเครื่องเป็นเวลานับเดือน ก่อนที่จะเดินเครื่องต่อเป็นเวลาหลายต่อเนื่อง สลับไปเรื่อยๆ

"สถาบันซินโครตรอนเป็นศูนย์รวมนักวิจัยและเครื่องมือ ผู้มาใช้ประโยชน์ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ภาคเอกชนยังเข้าไปทำวิจัยน้อย เพราะไม่ค่อยมีนักวิจัย แต่นักวิจัยในสถาบันอื่นๆ มาใช้ประโยชน์กันพร้อมแล้ว หากนักวิจัยในมหาวิทยาลัยมาใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนก็จะช่วยยกระดับงานวิจัยจากการใช้เครื่องมือระดับเวิร์ลคลาส ซึ่งทั่วโลกมีเพียง 50 แห่ง ที่มีเครื่องมืออย่างนี้ ส่วนในแถบภูมิภาคนี้นอกจากไทยแล้วก็มีแค่ที่สิงคโปร์ แต่เขาใช้งานเฉพาะด้านในเชิงอุตสาหกรรมเท่านั้น จึงอยากเชิญให้เข้ามาทำวิจัยกันเยอะๆ" รศ.ดร.วีระพงษ์กล่าว และบอกว่าปัจจุบันมีงานวิจัยที่ใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนที่หลากหลาย ทั้งงานวิจัยทางด้านการแพทย์ งานวิจัยทางวิศวกรรม
กำลังโหลดความคิดเห็น