สซ. - สซ. เตรียมจัดประชุมนานาชาติ เพื่อขยายฐานการให้บริการแสงซินโครตรอนเพื่อศึกษาโครงสร้างโปรตีนระดับอาเซียน เน้นให้ความรู้เรื่องเทคนิคการเตรียมผลึกโปรตีน และวิเคราะห์โครงสร้างด้วยแสงซินโครตรอน เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมอบรมถึง 15 มี.ค. นี้
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) หรือ สซ. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ‘The 2nd Southeast Asian Crystallography Workshop – A Taste of Protein Crystallography’ เพื่อขยายฐานการให้บริการถ่ายทอดเทคนิคการเตรียมผลึกโปรตีน และการศึกษาโครงสร้างโปรตีน ให้กับกลุ่มผู้ใช้บริการรายใหม่ที่มีศักยภาพ และผู้ใช้กลุ่มวิจัยโปรตีน ที่มีประสบการณ์ด้าน Macromolecule Crystallography (MX) ระหว่างวันที่ 5-8 เมษายน 2553 ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จังหวัดนครราชสีมา
รศ.ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนได้เปิดให้บริการสถานีทดลองทางด้านการศึกษาโครงสร้างผลึกโปรตีนด้วยเทคนิค Macromolecule X-ray Crystallography (MX) โดยหลอดรังสีเอ็กซ์ชนิด rotating anode พบว่า กลุ่มนักวิจัยที่ประสงค์จะศึกษาโครงสร้างโปรตีนไม่สามารถเตรียมผลึกเดี่ยวของโปรตีนที่สนใจเพื่อนำมาใช้บริการได้ ดังนั้นทางสถาบันจึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ‘The 2nd Southeast Asian Crystallography Workshop –A Taste of Protein Crystallography’ ขึ้นระหว่างวันที่ 5-8 เมษายน 2553 ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จังหวัดนครราชสีมา โดยความร่วมมือระหว่างสถาบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และชมรมวิจัยโปรตีนแห่งประเทศไทย ให้กับกลุ่มผู้ใช้บริการรายใหม่ที่มีศักยภาพ และมีงานวิจัยโครงการวิจัยด้านโปรตีน และผู้ใช้กลุ่มวิจัยโปรตีน ที่มีประสบการณ์ด้าน MX ในการถ่ายทอดเทคนิคการเตรียมผลึกโปรตีนเดี่ยว ขั้นตอนการเก็บข้อมูลการหักเหรังสีเอกซ์ การประมวลผล ตลอดจนการวิเคราะห์โครงสร้างเบื้องต้น
นอกจากนี้ยังถ่ายทอดเทคนิคในการศึกษาโครงสร้างของโปรตีนโดยเทคนิค Anomalous Dispersion เพื่อเพิ่มศักยภาพในการศึกษาโครงสร้างโปรตีนชนิดใหม่แก่กลุ่มวิจัยโปรตีน ซึ่งเป็นผู้ใช้ที่เคยมีประสบการณ์ศึกษาโครงสร้างโดยใช้โปรตีนต้นแบบ ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมเมื่อใช้บริการแสงซินโครตรอน ณ ห้องปฏิบัติการแสงสยาม โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากห้องปฎิบัติการแสงซินโครตรอนต่างประเทศมีความร่วมมือในเทคนิคนี้กับสถาบัน อาทิ ประเทศไต้หวัน สิงคโปร์ และสวีเดน ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านโปรตีนของไทย
ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 15 มีนาคม 2553 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.slri.or.th
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) หรือ สซ. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ‘The 2nd Southeast Asian Crystallography Workshop – A Taste of Protein Crystallography’ เพื่อขยายฐานการให้บริการถ่ายทอดเทคนิคการเตรียมผลึกโปรตีน และการศึกษาโครงสร้างโปรตีน ให้กับกลุ่มผู้ใช้บริการรายใหม่ที่มีศักยภาพ และผู้ใช้กลุ่มวิจัยโปรตีน ที่มีประสบการณ์ด้าน Macromolecule Crystallography (MX) ระหว่างวันที่ 5-8 เมษายน 2553 ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จังหวัดนครราชสีมา
รศ.ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนได้เปิดให้บริการสถานีทดลองทางด้านการศึกษาโครงสร้างผลึกโปรตีนด้วยเทคนิค Macromolecule X-ray Crystallography (MX) โดยหลอดรังสีเอ็กซ์ชนิด rotating anode พบว่า กลุ่มนักวิจัยที่ประสงค์จะศึกษาโครงสร้างโปรตีนไม่สามารถเตรียมผลึกเดี่ยวของโปรตีนที่สนใจเพื่อนำมาใช้บริการได้ ดังนั้นทางสถาบันจึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ‘The 2nd Southeast Asian Crystallography Workshop –A Taste of Protein Crystallography’ ขึ้นระหว่างวันที่ 5-8 เมษายน 2553 ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จังหวัดนครราชสีมา โดยความร่วมมือระหว่างสถาบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และชมรมวิจัยโปรตีนแห่งประเทศไทย ให้กับกลุ่มผู้ใช้บริการรายใหม่ที่มีศักยภาพ และมีงานวิจัยโครงการวิจัยด้านโปรตีน และผู้ใช้กลุ่มวิจัยโปรตีน ที่มีประสบการณ์ด้าน MX ในการถ่ายทอดเทคนิคการเตรียมผลึกโปรตีนเดี่ยว ขั้นตอนการเก็บข้อมูลการหักเหรังสีเอกซ์ การประมวลผล ตลอดจนการวิเคราะห์โครงสร้างเบื้องต้น
นอกจากนี้ยังถ่ายทอดเทคนิคในการศึกษาโครงสร้างของโปรตีนโดยเทคนิค Anomalous Dispersion เพื่อเพิ่มศักยภาพในการศึกษาโครงสร้างโปรตีนชนิดใหม่แก่กลุ่มวิจัยโปรตีน ซึ่งเป็นผู้ใช้ที่เคยมีประสบการณ์ศึกษาโครงสร้างโดยใช้โปรตีนต้นแบบ ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมเมื่อใช้บริการแสงซินโครตรอน ณ ห้องปฏิบัติการแสงสยาม โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากห้องปฎิบัติการแสงซินโครตรอนต่างประเทศมีความร่วมมือในเทคนิคนี้กับสถาบัน อาทิ ประเทศไต้หวัน สิงคโปร์ และสวีเดน ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านโปรตีนของไทย
ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 15 มีนาคม 2553 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.slri.or.th