xs
xsm
sm
md
lg

ชี้ยกระดับมาตรฐาน "สัตว์ทดลอง" สร้างโอกาสผลิตขายในอาเซียน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นพ.ยงยุทธ วัชรดุลย์
ราชบัณฑิตชี้ยกระดับมาตรฐาน "สัตว์ทดลอง" ในไทย ไม่เพียงสร้างมาตรฐานการทำวิจัย แต่ยังเพิ่มโอกาสทำธุรกิจเป็นแหล่งผลิตขายในอาเซียน ชี้วงการสัตวืทดลองยังไปไม่ก้าวหน้า เพราะจำนวนคนใช้ยังน้อย ไม่คุ้มต่อการลงทุน

นพ.ยงยุทธ วัชรดุลย์ ราชบัณฑิตประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาแพทยศาสตร์ และประธานเครือข่ายสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนาฯ แห่งราชบัณฑิตสถาน ในพระราชูปถัมภ์สมเด้จพระเทพรัตนราสุดา สยามบรมราชกุมารี กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า งานทางด้านสัตว์ทดลองในเมืองไทยนั้น ยังจัดการและประสานงานระหว่างผู้ผลิตสัตว์ทดลอง ผู้ใช้และระบบระเบียบต่างๆ ไม่เข้าที่-เข้าทาง

“การพัฒนาวงการสัตว์ทดลองในไทย ต้องมีเครือข่าย ไม่ใช่ทำแค่หน่วยงานราชการอย่างเดียว เพื่อให้มีการประสานงานที่ไม่เกียวกับงานวิจัยด้วย จึงควรให้เอกชนเข้ามาบทบาทด้วย เพื่อทำให้มาตรฐานดีขึ้น การเลี้ยงสัตว์ทดลองต้องมีเทคโนโลยี จึงจะได้มาซึ่งมาตรฐานที่ดี" ประธานเครือข่ายสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนาฯ กล่าว

ทั้งนี้ เครือข่ายสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนาฯ แห่งราชบัณฑิตสถาน ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้ร่วมกับคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อพัฒนางานเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักสัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และสมาคมสัตว์ทดลองแห่งประเทศไทย จัดการประชุมนานาชาติเรื่องสัตว์ทดลอง (International Symposium on Laboratory animal Science: ILAS 2009) ระหว่างวันที่ 26-29 เม.ย.52 ณ หอประชุมกองทัพเรือราชนาวี

การประชุมดังกล่าว นพ.ยงยุทธกล่าวว่าเป็นการประชุมระดับนานาชาติที่ประเทศต่างๆ เวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดงาน ซึ่งการจัดงานภายหลังเหตุการณ์ไม่สงบภายในกรุงเทพฯ ถือเป็น "เกียรติภูมิ" ของประเทศ และเป็นการจัดให้ชาวต่างชาติที่เข้าร่วมประชุม ได้เห็นสภาพที่เป็นจริง ถึงแม้จะเป็นเพียงเวทีเล็กๆ ไม่เทียบเท่าเวทีอาเซียน แต่ก็ช่วยกู้นหน้าให้กับประเทศไทยได้ และการจัดงานครั้งนี้ยังคาดหวังว่าคนไทยที่ทำงานและเกี่ยวข้องกับสัตว์ทดลอง จะได้จดจำในสิ่งที่วิทยากรจากต่างประเทศมาเล่าประสบการณ์ ได้เห็นตัวอย่างและเรียนรู้ เพื่อยกระดับมาตรฐานงานด้านสัตว์ทดลองในไทย

“ที่เป็นปัญหาในตอนนี้คือ คนทดลองยังไม่มากพอ จึงผลิตได้น้อย ทั้งๆ ที่ต้องลงทุนมาก ทำให้งานทางด้านนี้ยิ่งไม่แพร่หลาย ส่งผลทำให้งานวิจัยทำได้ไม่แพร่หลายด้วย คนไทยยังใช้สัตว์ทดลองไม่มากพอ ที่จริงเราควรต้องพัฒนาสัตว์ทดลองเพื่อส่งออก ทำในตอนนี้ ตอนที่เวียดนามยังตั้งตัวไม่ทัน และพม่า สิงคโปร์ มาเลย์เซีย ก็หนึ่งในกลุ่มลูกค้า แต่ก่อนอื่นเราต้องสร้างมาตรฐานของเราให้ได้ก่อน และยังต้องมีหัวใจที่เป็นพ่อค้า และฉวยโอกาสตอนที่คนไทยเป็นเลขาธิการอาเซียนอยู่ในขณะนี้" นพ.ยงยุทธกล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น