สกว. - ภาวะโลกร้อนทําให้หลายประเทศในสหภาพยุโรป (อียู) หันมาสนับสนุนให้ภาคธุรกิจผลิตสินค้าที่ปลดปล่อยคาร์บอนต่ำ และขณะนี้เริ่มมีสินค้าติดฉลากคาร์บอน (carbon label) เพื่อแสดงให์ผู้บริโภคทราบว่า สินค้านั้นปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจากออกมาเป็นปริมาณเท่าไหร่วางจําหน่ายบ้างแล้ว อย่างเช่น มันฝรั่งอบกรอบ แชมพูสระผม น้ำผลไม้ ผงซักฟอก และหลอดไฟติดฉลากคาร์บอนจําหน่ายในห้าง TESCO ของสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ห้างค้าปลีกอื่นๆ เช่นในฝรั่งเศสและสวีเดน ก็มนโยบายจัดซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากคาร์บอนแล้วเช่นกัน
เป็นที่คาดกันว่า ในอนาคตฉลากคาร์บอนจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้บริโภคจะใช้ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ดังนั้นสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงสนับสนุนโครงการวิจัย “คาร์บอนฟุตพริ้นท์และฉลากคาร์บอน”เพื่อสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจในการวิเคราะห์และจัดการขนาดคาร์บอน (คาร์บอนฟุตพริ้นท์) เป็นการเตรียมความพร้อมหากภาคเอกชนไทยจําเป็นต้องตอบรับนโยบายการจัดซื้อสินค้าที่มีฉลากคาร์บอนของอียู
โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคเอกชนโดยมี ดร.รัตนาวรรณ มั่งคั่ง อาจารย์ประจําภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ หน่วยงานร่วมวิจัยประกอบด้วย ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัยร?วมด?านพลังงานและสิ่งแวดล?อม (JGSEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมีเอกชน 2 รายคือ บริษัทเพรซิเดนท์ไรซ์โปรดักส์ จํากัด (มหาชน) ผู้ผลิตเส้นหมี่ตรามาม่า และบริษัทบางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จํากัด ผู้ผลิตข้าวหอมมะลิตราหงษ์ทอง เป็นบริษัทนําร่องที่เข้าร่วมเป็นโครงการสาธิต
ในการเลือกผลิตภัณฑ์สาธิตเพื่อนํามาศึกษาขนาดคาร์บอนหรือ คาร์บอนฟุตพรินท์ (carbon footprint) ที่แต่ละผลิตภัณฑ์ปลดปล่อยออกมา บริษทเพรซิเดนท์ไรซ์โปรดักส์ จํากัด (มหาชน) เลือกศึกษาเส้นหมี่และเส้นก๋วยเตี๋ยวบรรจุซอง ส่วนบริษัทบางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จํากัด เลือกศึกษาข้าวสารบรรจุถุง โดยจะศึกษาประเมินปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เกิดจนตาย (cradle-to-grave) ตามมาตรฐาน PAS2050 2050: 2008 ของอังกฤษ คือศึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกข้าว การสีข้าว การแปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ การผลิตภาชนะบรรจุและการบรรจุ การจัดจําหน่ายไปยังผู้บริโภค การที่ผู้บริโภคนําไปปรุงอาหาร และการกําจัดขยะเศษอาหารว่า แต่ละขั้นตอนปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดต่างๆ เท่าไร แล้วคํานวณออกมาในรูปปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีหน่วยเป็นกิโลกรัม ผลการศึกษาที่ได้คาดว่าจะนําไปสูการจําแนกแนวทางในการจัดการเพื่อลดขนาดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ตัวอย่างดังกล่าว
ดร.รัตนาวรรณ กล่าวว่า ผลการศึกษาสามารถบ่งชี้วาขั้นตอนไหนปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุด ซึ่งบริษัทผู้ผลิตสามารถนําข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาแนวทางการจัดการเพื่อลดขนาดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรืออีกนัยหนึ่งคือการลดต้นทุนการผลิตนั่นเอง นอกจากนี้ยงใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากคาร์บอน ส่วนทางโครงการฯ ก็จะจัดทําคู่มือเชิงปฏิบัติการ และจัดสัมมนาเพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการวิเคราะห์และจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ให้กับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวรายอื่นๆ และผู้ประกอบการอุตสาหกกรมอื่นๆ ที่สนใจเรื่องคาร์บอนฟุตพริ้นท์ตอไป
รศ.ดร. แชบเบียร์ กีวาลา ผู้เชี่ยวชาญการประเมินวัฏจักรชีวิตจาก JGSEE กล่าวว่า “การแสดงข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในแต่ละขั้นตอนไว้ในฉลากคาร์บอนให้ผู้บริโภคทราบ เป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสําคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์
“ยกตัวอย่างเช่นผงซักฟอกในอียู ติดฉลากคาร์บอนบ่งชี้ว่า ในขั้นตอนการซักผ้าด้วยผงซักฟอก มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึง 450 กรัม จากผลรวมการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกขั้นตอน 600 กรัม ซึงเป็นเพราะคนยุโรปนิยมใช้น้ำอุ่นซักผ้าและใช้เครื่องอบผ้าให้แห้ง หากผู้บริโภคตระหนักถึงความจริงข้อนี้ และหันมาใช้น้ำเย็นซักผ้าและตากให้แห้งแทน ก็จะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทางหนึ่ง” รศ.ดร. แชบเบียร์ กล่าว
นางสุปราณี จงดีไพศาล ผู้อำนวยการฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ (ฝ่าย 3) สกว. กล่าวว่า ไม่เพียงแต่อียูเท่านั้น ขณะนี้หลายประเทศตื่นตัวเรื่องฉลากคาร์บอนมาก ในเอเชีย เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลีใต้ หรือรัฐแคลิฟอร์เนียของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็กําลังจะมีการพิจารณาออกกฎหมายบังคับใช้เรื่องนี้ นักวิชาการประเทศจีนก็เริ่มสนใจศึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในผลิตภัณฑ์ส่งออกหลักกับประเทศคู่ค้าสําคัญๆ ดังนั้นประเทศไทยควรเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมไทยในการวิเคราะห์และจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ โดยอาจเริ่มจากอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกไปอียูก่อน แล้วค่อยขยายไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ ต่อไป เพื่อเตรียมความพร้อมในการตอบสนองต่อความต้องการของตลาด และรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย
เป็นที่คาดกันว่า ในอนาคตฉลากคาร์บอนจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้บริโภคจะใช้ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ดังนั้นสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงสนับสนุนโครงการวิจัย “คาร์บอนฟุตพริ้นท์และฉลากคาร์บอน”เพื่อสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจในการวิเคราะห์และจัดการขนาดคาร์บอน (คาร์บอนฟุตพริ้นท์) เป็นการเตรียมความพร้อมหากภาคเอกชนไทยจําเป็นต้องตอบรับนโยบายการจัดซื้อสินค้าที่มีฉลากคาร์บอนของอียู
โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคเอกชนโดยมี ดร.รัตนาวรรณ มั่งคั่ง อาจารย์ประจําภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ หน่วยงานร่วมวิจัยประกอบด้วย ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัยร?วมด?านพลังงานและสิ่งแวดล?อม (JGSEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมีเอกชน 2 รายคือ บริษัทเพรซิเดนท์ไรซ์โปรดักส์ จํากัด (มหาชน) ผู้ผลิตเส้นหมี่ตรามาม่า และบริษัทบางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จํากัด ผู้ผลิตข้าวหอมมะลิตราหงษ์ทอง เป็นบริษัทนําร่องที่เข้าร่วมเป็นโครงการสาธิต
ในการเลือกผลิตภัณฑ์สาธิตเพื่อนํามาศึกษาขนาดคาร์บอนหรือ คาร์บอนฟุตพรินท์ (carbon footprint) ที่แต่ละผลิตภัณฑ์ปลดปล่อยออกมา บริษทเพรซิเดนท์ไรซ์โปรดักส์ จํากัด (มหาชน) เลือกศึกษาเส้นหมี่และเส้นก๋วยเตี๋ยวบรรจุซอง ส่วนบริษัทบางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จํากัด เลือกศึกษาข้าวสารบรรจุถุง โดยจะศึกษาประเมินปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เกิดจนตาย (cradle-to-grave) ตามมาตรฐาน PAS2050 2050: 2008 ของอังกฤษ คือศึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกข้าว การสีข้าว การแปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ การผลิตภาชนะบรรจุและการบรรจุ การจัดจําหน่ายไปยังผู้บริโภค การที่ผู้บริโภคนําไปปรุงอาหาร และการกําจัดขยะเศษอาหารว่า แต่ละขั้นตอนปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดต่างๆ เท่าไร แล้วคํานวณออกมาในรูปปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีหน่วยเป็นกิโลกรัม ผลการศึกษาที่ได้คาดว่าจะนําไปสูการจําแนกแนวทางในการจัดการเพื่อลดขนาดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ตัวอย่างดังกล่าว
ดร.รัตนาวรรณ กล่าวว่า ผลการศึกษาสามารถบ่งชี้วาขั้นตอนไหนปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุด ซึ่งบริษัทผู้ผลิตสามารถนําข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาแนวทางการจัดการเพื่อลดขนาดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรืออีกนัยหนึ่งคือการลดต้นทุนการผลิตนั่นเอง นอกจากนี้ยงใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากคาร์บอน ส่วนทางโครงการฯ ก็จะจัดทําคู่มือเชิงปฏิบัติการ และจัดสัมมนาเพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการวิเคราะห์และจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ให้กับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวรายอื่นๆ และผู้ประกอบการอุตสาหกกรมอื่นๆ ที่สนใจเรื่องคาร์บอนฟุตพริ้นท์ตอไป
รศ.ดร. แชบเบียร์ กีวาลา ผู้เชี่ยวชาญการประเมินวัฏจักรชีวิตจาก JGSEE กล่าวว่า “การแสดงข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในแต่ละขั้นตอนไว้ในฉลากคาร์บอนให้ผู้บริโภคทราบ เป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสําคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์
“ยกตัวอย่างเช่นผงซักฟอกในอียู ติดฉลากคาร์บอนบ่งชี้ว่า ในขั้นตอนการซักผ้าด้วยผงซักฟอก มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึง 450 กรัม จากผลรวมการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกขั้นตอน 600 กรัม ซึงเป็นเพราะคนยุโรปนิยมใช้น้ำอุ่นซักผ้าและใช้เครื่องอบผ้าให้แห้ง หากผู้บริโภคตระหนักถึงความจริงข้อนี้ และหันมาใช้น้ำเย็นซักผ้าและตากให้แห้งแทน ก็จะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทางหนึ่ง” รศ.ดร. แชบเบียร์ กล่าว
นางสุปราณี จงดีไพศาล ผู้อำนวยการฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ (ฝ่าย 3) สกว. กล่าวว่า ไม่เพียงแต่อียูเท่านั้น ขณะนี้หลายประเทศตื่นตัวเรื่องฉลากคาร์บอนมาก ในเอเชีย เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลีใต้ หรือรัฐแคลิฟอร์เนียของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็กําลังจะมีการพิจารณาออกกฎหมายบังคับใช้เรื่องนี้ นักวิชาการประเทศจีนก็เริ่มสนใจศึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในผลิตภัณฑ์ส่งออกหลักกับประเทศคู่ค้าสําคัญๆ ดังนั้นประเทศไทยควรเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมไทยในการวิเคราะห์และจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ โดยอาจเริ่มจากอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกไปอียูก่อน แล้วค่อยขยายไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ ต่อไป เพื่อเตรียมความพร้อมในการตอบสนองต่อความต้องการของตลาด และรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย