บีบีซีนิวส์-ยูเอ็นอีพีเผยข้อมูลธารน้ำแข็งหดตัวก้าวกระโดดจากปีละ 30 เซนติเมตร ขึ้นเป็นปีละ 1.5 เมตรในเวลาไม่ถึง 10 ปี
โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (ยูเอ็นอีพี) เผยข้อมูลธารนำแข็งทั่วโลกหดตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จากช่วงปี 2523-2542 ที่ธารน้ำแข็งหดตัวเฉลี่ยปีละ 30 เซนติเมตรเป็น 1.5 เมตรในปี 2549 โดยเฉพาะเทือกเขาแอลป์ส (Alps) และเทือกเขาไพรีนีส (Pyrenees) ในยุโรปที่พบการหายไปของน้ำแข็งจำนวนมาก ทั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ธารน้ำแข็งในเทือกเขา 9 แห่ง
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้เรียกร้องให้มี "ปฏิบัติการโดยฉับพลัน" เพื่อพลิกแนวโน้มการหดอย่างรวดเร้วของธารน้ำแข็งที่เกิดขึ้นนี้ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) ทั้งนี้ประมาณกันว่าในปี 2549 มีปริมาณน้ำแข็งหดตัวไป 1.4 เมตร ขณะที่ในปี 2548 หดไป 0.5 เมตร
อชิม สไตเนอร์ (Achim Steiner) ผู้อำนวยการใหญ่โครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ กล่าวว่าผู้คนหลายล้านหรือไม่ก็หลายพันล้านขึ้นตรงต่อทรัพยากรน้ำที่กักเก็บไว้ในธรรมชาตินี้เพื่อดื่ม การเกษตร อุตสาหกรรมและการผลิตกระแสไฟฟ้าในช่วงสำคัญของปี โดยธารน้ำแข็งได้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอันเนื่องจากการเผาไหม้ถ่านหินและเราก็สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ พร้อมเผยว่าได้ดำเนินการเบื้องต้นที่จะพัฒนา "ธุรกิจเขียว" โดยการลงทุนด้านพลังงานทดแทนมากขึ้น
ดร.วิลฟรีด ฮาเบอร์ลี (Dr.Wilfried Haeberli) ผู้อำนวยการหน่วยติดตามธารน้ำแข็งโลก (World Glacier Monitoring Service) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยยูเอ็นดีพี กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดและการสูญเสียน้ำแข็งก็ยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งในช่วง 25 ปีที่ผ่านมานี้ โดยตั้งแต่ปี 2523 สูญธารน้ำแข็งไปแล้ว 10.5 เมตร โดยค่าเฉลี่ยธารน้ำแข็งที่หดไป 1 เมตรเทียบเท่ากับความหนาของน้ำแข็ง 1.1 เมตร นั่นหมายความว่ากว่า 20 ปีที่ผ่านมาความหนาของน้ำแข็งลดไปแล้ว 11.5 เมตร
ทั้งนี้ทีมวิจัยได้ศึกษาธารน้ำแข็งทำหมด 100 แห่งในประเทศแถบยุโรป ได้แก่ ออสเตรีย นอร์เวย์ สวีเดน อิตาลี สเปนและสวิตเซอร์แลนด์ โดยในช่วงแข็งมากที่สุดแห่งหนึ่ง.