xs
xsm
sm
md
lg

กรีนพีซระบุนำเงิน 1.38 พันล้านศึกษาพลังงานทดแทนดีกว่านิวเคลียร์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


กรีนพีชระบุพลังงานทดแทนมีศักยภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างปีที่ผ่านมามีพลังงานทางเลือกเข้าสู่ระบบ 3000 เมะวัตต์เทียบเท่าพลังงานจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่วางแผนจะสร้าง แจงไม่จำเป็นต้องใช้เงิน 1.38 พันล้านตั้งสำนักงานศึกษานิวเคลียร์ แนะเอามาศึกษาพลังงานทดแทนและลงทุนเบื้องต้นทำประโยชน์ให้กับประเทศได้เยอะกว่า

จากกรณีที่กลุ่มกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เรียกร้องให้รัฐบาลใหม่ยุบสำนักงานพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (สพน.) นั้น นายธารา บัวคำศรี ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลุ่มกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าหลังเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด อุตสาหกรรมนิวเคลียร์ทั่วโลกก็มีการปรับปรุงเตาปฏิกรณ์ไปเยอะมาก แต่เมื่อทางกรีนพีชเข้าไปศึกษาโดยกาสรเก็บข้อมูลเตาปฏิกรณ์ในฝรั่งเศศ ยุโรป ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ แล้วพบว่า

"เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่นๆ แล้วเทคโนโลยีนิวเคลียร์ไม่ได้ต้นทุนการสร้างพลังงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพลังงาน อีกทั้งยังพบอุบัติเหตุเล็กน้อยๆ ที่เกิดจากความผิดพลาดระหว่างการทำงานทั้งในยุโรป สหรัฐฯ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ซึ่งความผิดพลาดเหล่านี้ป้องกันได้บางระดับ แต่ก็ทำให้เกิดเป็นอุบัติภัยที่ใหญ่ได้" นายธารากล่าว

นายธารายังกล่าวอีกว่าทางกรีนพีซได้ศึกษาโดยว่าจ้างนักวิจัยที่มีความรู้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลายแห่งที่ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำจืดเมื่อใช้น้ำในการระบายความร้อนนั้น หากน้ำแห้งก็ต้องปิดโรงไฟฟ้าไม่สามารถดำเนินงานได้ หรือบางแห่งที่อยู่ใกล้ทะเลก็พบว่ามีการสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนสู่ทะเล โดยจากการศึกษาของกรีนพีซพบการรั่วไหลของซีเซียมจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และเมื่อเก็บสาหร่ายมาตรวจก็พบการปนเปื้อนของกัมมันตรังสี

"ตรงนี้เป็นข้อมูลอีกด้านที่เราอยากบอกว่าแท้จริงแล้วโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่สะอาดและปลอดภัยอย่างที่อ้างกัน" นายธารากล่าว พร้อมยกตัวอย่างการศึกษาอีกชิ้นที่คาดการณ์ว่า จะเกิดอะไรขึ้นหากมีรังสีรั่วไหลจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในฝรั่งเศสซึ่งผลการศึกษาระบุให้เห็นว่ามีคนนับล้านที่จะเดือดร้อน ดังนั้นการที่รัฐบาลตั้งสำนักงานเพื่อมาศึกษาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จึงเป็นการตั้งโจทย์ที่ผิด และชี้ว่าเราจำเป็นต้องมีทางเลือกอื่น

"คิดเล่นๆ ถ้าเขาสามารถอนุมัติ 1.38 ล้านบาทเพื่อศึกษาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ก็น่าจะสนับสนุนให้มีการศึกษาพลังงานทางเลือกในจำนวนเงินที่เท่ากัน แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่จำเป็นต้องใช้ถึงขนาดนั้น ซึ่งเงินจำนวนนี้นำไปศึกษาพลังงานทดแทน ลงทุนพัฒนาพลังงานทดแทนเบื้องต้น จะทำอะไรได้เยอะมาก และ 15 ปีจากนี้เราไม่จำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อีกทั้งพลังงานหมุนเวียนที่เข้าสู่ระบบก็เพิ่มขึ้นทุกปี อย่างปีที่ผ่านมาก็มีพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบ 3,000 เมกะวัตต์เทียบเท่ากับนิวเคลียร์ที่เขาจะสร้าง ตรงนี้เป็นข้อมูลจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตเอง นับว่ามีศักยภาพเยอะแต่พอถึงจุดหนึ่งเขากลับปิดประตูไม่รับซื้อพลังงานหมุนเวียน" นายธารากล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น