เอเอฟพี - ทั่วโลกมีความตื่นตัวต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม และกำลังมุ่งสู่ "เศรษฐกิจที่ยั่งยืนตื่นตัว" กลุ่มศึกษาวิจัยที่ใช้ชื่อว่า เวิลด์วอตช์ ระบุในรายงาน "สถานะของโลก" ที่เผยแพร่เมื่อวันพุธ (9)
"มีสัญญาณที่ชี้ว่า เศรษฐกิจที่ยังยืนตื่นตัวกำลังเกิดขึ้น อันเป็นผลผลิตของกระแสการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ธรรมดาและไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งเกิดขึ้นจากภาคส่วนต่างๆ เช่น เอ็นจีโอ กลุ่มผู้บริโภค และรัฐบาล และยังแพร่กระจายเข้าสู่โลกการเงินและธุรกิจด้วย" คริส เฟลวิน ประธานเวิลด์วอตช์กล่าวกับผู้สื่อข่าว
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นเครื่องมือลดภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจโลกที่มีมากขึ้น ซึ่งภัยคุกคามเหล่านั้น เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เฟลวินกล่าวจากกรุงวอชิงตัน
"คำถามข้อสำคัญก็คือ การเปลี่ยนแปลงนั้นเพียงพอหรือยัง?" เขาเอ่ยถาม
แกรี การ์ดเนอร์ ประธานร่วมของคณะผู้จัดทำรายงานฉบับนี้ เปรียบเทียบช่วงเริ่มต้นเศรษฐกิจยั่งยืนทั่วโลก กับการทำไร่
"เรากำลังมองออกไปในไร่นาตอนช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ และเริ่มเห็นการแตกหน่อ ในรูปแบบของนวัตกรรมต่างๆ" เขากล่าว
"เราจะได้พืชผลเต็มที่ไหม เราจะมีไร่ที่สามารถเก็บเกี่ยวพืชผลได้ตอนฤดูใบไม้ร่วงหรือไม่ ไร่นาที่เราเรียกได้ว่า เศรษฐกิจแบบยั่งยืนนั่นแหละ มันเหมือนจะชัดเจนว่า ถ้าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เพิ่มขึ้นทวีคูณ โอกาสที่เราจะมีเศรษฐกิจแบบยั่งยืนนั้นสดใสมาก"
ในรายงานนี้ ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นปีที่ 25 แล้ว แดเนียล เอสตี อาจารย์ด้านนโยบายและกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยเยล กล่าวว่า "กลุ่มธุรกิจเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อสิ่งแวดล้อมไปมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา"
บริษัทระดับโลก เช่น เจเนอรัลอิเลคทริก (จีอี) โตโยต้า และดาวเคมีคอล กำลังปรับใช้เทคโนโลยี "สะอาด" ไม่ใช่เพราะพวกเขาเป็น "พวกชอบทำประโยชน์ให้สังคม" แต่เพราะมันทำกำไรได้
สถาบันทางการเงินยักษ์ใหญ่ เช่น ซิตี้กรุ๊ปและโกลด์แมนแซคส์ กำลัง "ลงทุนเงินอย่างจริงจัง" เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบยั่งยืน เฟลวินชี้
มีการลงทุนราว 52,000 ล้านดอลลาร์ในพลังงานหมุนเวียนเมื่อปี 2006 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 33%
"เรายังเห็นบริษัทเอกชนจำนวนมากที่มองว่า การพัฒนาสิ่งแวดล้อมเป็นแรงผลักดันสำคัญในแง่การวางแผนธุรกิจในอนาคต" เฟลวินเสริม โดยยกตัวอย่างร้านค้าปลีกยักษ์ใหญ่วอลมาร์ตของสหรัฐฯ
เขาบอกว่า วอลมาร์ตไม่ได้แค่มุ่งเน้นเรื่องปริมาณผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ตัวเองก่อเท่านั้น แต่ยังให้ซัปพลายเออร์ของวอลมาร์ตทั่วโลกซึ่งมีอยู่มากมาย โดยเฉพาะในจีน เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย โดยได้เพิ่มเกณฑ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้าไปในสินค้า
นอกจากนี้ เฟลวินยังมองว่า จีนจะผงาดขึ้นเป็นผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียนของโลกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
"ผมคิดว่า จีนจะเป็นที่หนึ่งในอีกไม่ถึง 3 ปีข้างหน้าในตลาดพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก" เฟลวินให้ความเห็น
"ผมมั่นใจมากขึ้นทุกทีในกรณีของจีนโดยเฉพาะว่า จะมีความสามารถในการก้าวไปเป็นแนวหน้าแห่งการเปลี่ยนแปลง" แม้ว่าจีนจะมีบทบาทที่ดูขัดกันอยู่ก็ตาม
"ในด้านหนึ่ง จีนเกือบจะแซงหน้าสหรัฐฯในการเป็นผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รายใหญ่ที่สุดของโลก แต่ในขณะเดียวกัน จีนก็กำลังกลายเป็นผู้พลิกโฉม" แวดวงพลังงานหมุนเวียน
จีนเป็นทั้งผู้ผลิตสินค้าพลังงานใหม่ระดับแนวหน้า เช่น หลอดไฟประหยัดพลังงานที่ในอนาคตผู้บริโภคของสหรัฐฯจะหันมาใช้ และจีนยังแสดงถึง "ความเป็นผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียนจากการที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริม" เฟลวินบอก
"แม้ว่าในยุโรปจะประสบความสำเร็จเรื่องพลังงานหมุนเวียนอยู่บ้าง แต่ผมคิดว่า ไม่มีใครสามารถเทียบได้กับจีนในแง่ความรวดเร็ว ซึ่งทำให้ตลาดใหม่ๆเกิดขึ้นแล้ว และไม่มีใครเทียบได้ในแง่ที่กฎหมายใหม่มีความครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ"
"มีสัญญาณที่ชี้ว่า เศรษฐกิจที่ยังยืนตื่นตัวกำลังเกิดขึ้น อันเป็นผลผลิตของกระแสการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ธรรมดาและไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งเกิดขึ้นจากภาคส่วนต่างๆ เช่น เอ็นจีโอ กลุ่มผู้บริโภค และรัฐบาล และยังแพร่กระจายเข้าสู่โลกการเงินและธุรกิจด้วย" คริส เฟลวิน ประธานเวิลด์วอตช์กล่าวกับผู้สื่อข่าว
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นเครื่องมือลดภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจโลกที่มีมากขึ้น ซึ่งภัยคุกคามเหล่านั้น เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เฟลวินกล่าวจากกรุงวอชิงตัน
"คำถามข้อสำคัญก็คือ การเปลี่ยนแปลงนั้นเพียงพอหรือยัง?" เขาเอ่ยถาม
แกรี การ์ดเนอร์ ประธานร่วมของคณะผู้จัดทำรายงานฉบับนี้ เปรียบเทียบช่วงเริ่มต้นเศรษฐกิจยั่งยืนทั่วโลก กับการทำไร่
"เรากำลังมองออกไปในไร่นาตอนช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ และเริ่มเห็นการแตกหน่อ ในรูปแบบของนวัตกรรมต่างๆ" เขากล่าว
"เราจะได้พืชผลเต็มที่ไหม เราจะมีไร่ที่สามารถเก็บเกี่ยวพืชผลได้ตอนฤดูใบไม้ร่วงหรือไม่ ไร่นาที่เราเรียกได้ว่า เศรษฐกิจแบบยั่งยืนนั่นแหละ มันเหมือนจะชัดเจนว่า ถ้าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เพิ่มขึ้นทวีคูณ โอกาสที่เราจะมีเศรษฐกิจแบบยั่งยืนนั้นสดใสมาก"
ในรายงานนี้ ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นปีที่ 25 แล้ว แดเนียล เอสตี อาจารย์ด้านนโยบายและกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยเยล กล่าวว่า "กลุ่มธุรกิจเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อสิ่งแวดล้อมไปมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา"
บริษัทระดับโลก เช่น เจเนอรัลอิเลคทริก (จีอี) โตโยต้า และดาวเคมีคอล กำลังปรับใช้เทคโนโลยี "สะอาด" ไม่ใช่เพราะพวกเขาเป็น "พวกชอบทำประโยชน์ให้สังคม" แต่เพราะมันทำกำไรได้
สถาบันทางการเงินยักษ์ใหญ่ เช่น ซิตี้กรุ๊ปและโกลด์แมนแซคส์ กำลัง "ลงทุนเงินอย่างจริงจัง" เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบยั่งยืน เฟลวินชี้
มีการลงทุนราว 52,000 ล้านดอลลาร์ในพลังงานหมุนเวียนเมื่อปี 2006 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 33%
"เรายังเห็นบริษัทเอกชนจำนวนมากที่มองว่า การพัฒนาสิ่งแวดล้อมเป็นแรงผลักดันสำคัญในแง่การวางแผนธุรกิจในอนาคต" เฟลวินเสริม โดยยกตัวอย่างร้านค้าปลีกยักษ์ใหญ่วอลมาร์ตของสหรัฐฯ
เขาบอกว่า วอลมาร์ตไม่ได้แค่มุ่งเน้นเรื่องปริมาณผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ตัวเองก่อเท่านั้น แต่ยังให้ซัปพลายเออร์ของวอลมาร์ตทั่วโลกซึ่งมีอยู่มากมาย โดยเฉพาะในจีน เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย โดยได้เพิ่มเกณฑ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้าไปในสินค้า
นอกจากนี้ เฟลวินยังมองว่า จีนจะผงาดขึ้นเป็นผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียนของโลกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
"ผมคิดว่า จีนจะเป็นที่หนึ่งในอีกไม่ถึง 3 ปีข้างหน้าในตลาดพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก" เฟลวินให้ความเห็น
"ผมมั่นใจมากขึ้นทุกทีในกรณีของจีนโดยเฉพาะว่า จะมีความสามารถในการก้าวไปเป็นแนวหน้าแห่งการเปลี่ยนแปลง" แม้ว่าจีนจะมีบทบาทที่ดูขัดกันอยู่ก็ตาม
"ในด้านหนึ่ง จีนเกือบจะแซงหน้าสหรัฐฯในการเป็นผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รายใหญ่ที่สุดของโลก แต่ในขณะเดียวกัน จีนก็กำลังกลายเป็นผู้พลิกโฉม" แวดวงพลังงานหมุนเวียน
จีนเป็นทั้งผู้ผลิตสินค้าพลังงานใหม่ระดับแนวหน้า เช่น หลอดไฟประหยัดพลังงานที่ในอนาคตผู้บริโภคของสหรัฐฯจะหันมาใช้ และจีนยังแสดงถึง "ความเป็นผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียนจากการที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริม" เฟลวินบอก
"แม้ว่าในยุโรปจะประสบความสำเร็จเรื่องพลังงานหมุนเวียนอยู่บ้าง แต่ผมคิดว่า ไม่มีใครสามารถเทียบได้กับจีนในแง่ความรวดเร็ว ซึ่งทำให้ตลาดใหม่ๆเกิดขึ้นแล้ว และไม่มีใครเทียบได้ในแง่ที่กฎหมายใหม่มีความครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ"