xs
xsm
sm
md
lg

ข้อมูลใหม่! อุกกาบาตลูกเล็กใช้พลังงานน้อยนิดเผาป่า "ทังกัสกา" ราบเรียบ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอพี -พื้นที่กว่า 800 ตารางไมล์ที่ถูกทำลายล้างลง ณ ป่าตังกัสกาในไซบีเรียเมื่อร้อยปีก่อนอาจเกิดจากฤทธิ์ล้างผลาญของอุกกาบาตพุ่งชนโลกซึ่งมีขนาดเล็กและมีอนุภาพทำลายล้างมากกว่าที่เคยคิดไว้ อ้างอิงจากแบบจำลองของนักฟิสิกส์สหรัฐฯ

มาร์ก บอสลัฟ (Mark Boslough) นักฟิสิกส์จากห้องปฏิบัติการซานเดียแห่งสหรัฐฯ (Sandia National Laboratories) เผยว่าแบบจำลอง 3 มิติจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ได้แสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลกในปี 2451 หรือ 1 ศตวรรษก่อน ซึ่งทำให้เกิดไฟเผาไหม้ป่าทังกัสกา (Tunguska) นั้นอาจมีขนาดเล็กกว่าที่เคยคิดไว้มาก โดยแบบจำลองของเขาเผยให้เห็นว่าอุกกาบาตดังกล่าวมีขนาดเพียง 1 ใน 4 หรือ 1 ใน 3 ของระเบิดอานุภาพทำลายล้าง 10-20 เมกะตัน

บอสลัฟชี้ว่าความเข้าใจที่ดีขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้นกับป่าตังกัสกาจะช่วยให้ประเมินความเสี่ยงจากการพุ่งชนของอุกกาบาตได้ดีขึ้นซึ่งจะทำให้ผู้มีส่วนกำหนดนโยบายตัดสินใจได้ว่าจะหาทางเบี่ยงเบนเส้นทางพุ่งชนของอุกกาบาตหรืออพยพผู้คนออกจากเส้นทางดังกล่าว

"ยังไม่ชัดเจนว่าอุกกาบาตขนาด 10 เมกะตันนั้นรุนแรงกว่าเฮอร์ริเคนแคทรีนา (Katrina) หรือไม่ แต่เราสามารถคาดการณ์ถึงตำแหน่งที่จะถูกพุ่งชนและเวลาที่เกิดขึ้นได้เที่ยงตรงมากขึ้นและแม่นยำกว่าคาดการณ์การเกิดเฮอร์ริเคน ดังนั้นคุณแค่นำผู้คนออกจากจุดมรณะที่อยู่เบื้องล่างมัน" บอสลัฟว่า

เมื่อเร็วๆ นี้ ในวันที่ 29 ม.ค.51 ดาวเคราะห์น้อย "2007 ทียู 24" (2007TU24) ซึ่งมีขนาด 800 ฟุตเพิ่งโคจรเฉียดโลกไปหมาดๆ โดยเฉียดเข้าใกล้โลกมากกว่าดาวเคราะห์น้อยอื่นๆ ก่อนหน้าที่ระยะเพียง 534,400 กิโลเมตรจากพื้นโลกหรือ 1.4 เท่าของระยะจากโลกถึงดวงจันทร์แต่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าไม่มีโอกาสที่จะเกิดการพุ่งชนจากอุกกาบาตดังกล่าว

การพุ่งชนโลกด้วยอุกกาบาตขนาด 2007 ทียู 24 นี้เกิดขึ้นเฉลี่ยทุกๆ 37,000 ปี โดยอุกกาบาตขนาดเล็กเข้าใกล้โลกบ่อยกว่าอุกกาบาตขนาดใหญ่ 3 เท่า ซึ่งหมายความว่าหากอุกกาบาตขนาดใหญ่เข้าใกล้โลกทุกๆ 1,000 ปี ดังนั้นอุกกาบาตขนาดเล็กจะเข้าใกล้โลกทุกๆ 300 ปี

อย่างไรก็ดี บอสลัฟเผยแม้แบบจำลองซูเปอร์คอมพิวเตอร์จะระบุว่าอุกกาบาตที่เผาป่าทังกัสกาจะเล็กกว่าที่คิดไว้ แต่ก็ยังไม่อาจระบุขนาดทางกายภาพได้ซึ่งขนาดของอุกกาบาตขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างความเร็ว รูปร่าง ความหนาแน่น รูพรุน ตลอดจนองค์ประกอบของอุกกาบาต

"แน่นอนว่ายังความไม่แน่นอนอย่างมาก" บอสลัฟเสริม โดยเขาได้ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จำลองภาพเหตุการณ์แบบ 3 มิติที่เสร็จเมื่อปี 2550 แล้วนำเสนอในการประชุมวิชาการทางวิทยาศาสตร์เมื่อเดือน พ.ย.และ ธ.ค.ปีที่ผ่านมา โดยรายงานปรากฏการณ์ธรรมชาติดังกล่าวซึ่งศึกษาร่วมกับ "เดฟ ครอว์ฟอร์ด" (Dave Crawford) นักวิจัยของห้องปฏิบัติการแซนเดียได้ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ "อิมแพ็คเอ็นจิเนียริง" (International Journal of Impact Engineering)

แบบจำลองใหม่ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่รับรู้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับป่าทังกัสกาได้ดีกว่านี้แสดงให้เห็นว่าศูนย์กลางมวลของอุกกาบาตระเบิดเหนือพื้นดินแล้วก่อให้เกิดลูกไฟที่เผาไหม้เบื้องล่างอย่างรวดเร็วกว่าความเร็วเหนือเสียง แต่ลูกไฟก็ไม่ได้กระทบถึงพื้นดังนั้นแถบต้นไม้หลายกิโลเมตรที่อยู่นอกจุดศูนย์กลางจึงราบเรียบ ส่วนต้นไม้บริเวณจุดศูนย์กลางยืนต้นตายและไหม้เกรียมโดยปราศจากกิ่งก้านซึ่งคล้ายกับเสาโทรเลขของคณะสำรวจทังกัสกาของรัสเซีย ซึ่งกว่าจะเดินทางไปถึงก็ใช้เวลาถึงปี 2470 เนื่องจากระยะทางที่ห่างไกล เงื่อนไขการเดินทางยุคก่อนและช่วงเวลาที่วุ่นวายในรัสเซีย

"ถ้าอุกกาบาตมีขนาดใหญ่เท่าที่เคยคาดไว้ ผลที่เกิดขึ้นกับพื้นดินต้องแตกต่างไปจากนี้ มันไม่เพียงเผาไหม้เหนือต้นไม้ แต่ต้องมีบริเวณพื้นดินที่ถูกเผาไหม้เป็นระยะทางหลายกิโลเมตร ไม่ว่าลูกไฟจะมาในทิศทางไหน สิ่งที่กระทบกับมันต้องถูกไหม้กลายเป็นก๊าซ " บอสลัฟกล่าว

"อุกกาบาตหรือดาวเคราะห์น้อยที่เข้าในชั้นบรรยากาศโลกมีโมเมนตัมมหาศาล ซึ่งแนวคิดที่ว่ามันถูกกดลงสู่ชั้นบรรยากาศดูค่อนข้างสมเหตุสมผล สิ่งที่ต้องเน้นคือมันใช้พลังงานเพียงน้อยนิดซึ่งเทียบเท่าระเบิดลูกเล็กสร้างความเสียหายดังที่เกิดในทังกัสกาได้"" อลัน แฮร์ริส (Alan Harris) นักวิทยาศาสตร์ด้านดาวเคราะห์ของสถาบันวิทยาศาสตร์อวกาศ (Space Science Institution) ในเมืองโบลเดอร์ รัฐโคโรลาโด สหรัฐฯเผย

แฮร์ริสผู้ติดตามการศึกษาของบอสลัฟต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับตังกัสกามาหลายปียังศึกษาความถี่ของการพุ่งชนเพื่อประเมินอันตราย ทั้งนี้เขาจะนำการศึกษาของบอสลัฟมาพิจารณาและประเมินความเสียหายจากการพุ่งของวัตถุขนาดเล็กอีกครั้ง


กำลังโหลดความคิดเห็น