xs
xsm
sm
md
lg

กสศ.พร้อมกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ระบุ ผลกระทบจากโควิด-19 ส่งผล ปิดเทอมใหญ่นี้จะวิกฤต เป็น 2 เดือนอันตราย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



วันนี้ (16 มี.ค.) คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ติดตามความคืบหน้าการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา Big Rock 1 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย ผ่านกลไกต้นแบบ “สวนผึ้งโมเดล” ปักหมุดอำเภอแรกของ จ.ราชบุรี ภายใต้โครงการ “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” ความร่วมมือระหว่างอำเภอสวนผึ้ง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)  บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ราชบุรี)  
 
รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา กล่าวว่า สองปีที่ผ่านมาวิกฤตโควิด-19 ทำให้ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทยรุนแรงขึ้นกว่าเดิม เด็กที่ได้รับผลกระทบสูงสุดในทุกประเทศคือเด็กยากจน ด้อยโอกาส กลุ่มเปราะบาง ผลกระทบที่รุนแรงที่สุดเรื่องหนึ่ง  คือ การหลุดออกจากระบบการศึกษาของเด็กเป็นจำนวนมาก ทั้งสาเหตุจากความจำเป็นในชีวิต ปัญหาปากท้อง  ปัญหาการเรียนไม่ทัน ความรู้ถดถอย เรากำลังก้าวเข้าสู่ช่วงปิดเทอมที่วิกฤต ประเทศไทยมีโอกาสจะสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ สูญเสียเด็กๆ ที่ล่วงหล่นไม่ได้ไปต่อในเส้นทางการศึกษา และจะกระทบตลอดช่วงชีวิตของคนรุ่นนี้  ดังนั้น ทุกฝ่ายต้องช่วยกันอย่าให้เป็นปิดเทอมสุดท้ายของเด็กยากจนชายขอบ  
 
“ต้องทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม ว่า การปล่อยให้เด็กหลุดออกไปจากการศึกษาถือเป็นอาชญากรรมของสังคม เพราะเด็กเหล่านี้จะลืมตาอ้าปากได้ลำบากมากในอนาคตข้างหน้า การอ่านหนังสือไม่ออกจะทำให้เด็กไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้เลย ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมกับหน่วยงานรัฐ หรือแม้กระทั่งการใช้ขนส่งมวลชน ดังนั้นต้องทำให้มีเด็กน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ที่หลุดออกจากระบบการศึกษา” รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าว
 
รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าวว่า  หลังจากผลกระทบของโควิด-19 ที่ยาวนาน แนวทางการปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ก็ต้องปรับเพื่อแก้ปัญหาให้ทันสถานการณ์ ต้องอาศัยการจัดการที่รวดเร็ว โดยใช้กลไกการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ (Area-based Education: ABE) ส่งเสริมการกระจายอำนาจการจัดการปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาสู่กลไกเชิงพื้นที่ ผมขอส่งสัญญาณให้ท้องถิ่นและจังหวัดทั้งประเทศดึงกลไกจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ (ABE) เข้ามาเป็นเจ้าภาพในเรื่องการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพราะมีความยืดหยุ่นที่จะออกแบบเป้าหมาย  สร้างระบบเอื้ออำนวยต่อการจัดการแก้ปัญหาได้มากกว่าส่วนกลาง และมีอิสระในการใช้ทรัพยากรทางการบริหาร  
 
“สวนผึ้งโมเดล  Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน เป็นหนึ่งในต้นแบบ ที่สะท้อนให้เห็นว่า พื้นที่มีความเข้าใจปัญหาลึกซึ้ง และตระหนักว่าต้องปฏิรูปทั้งการสร้างโอกาสและพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปพร้อมกัน เพื่อให้เด็กทุกคนเรียนรู้อย่างมีความสุข ด้วยระบบการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่นตอบโจทย์ชีวิตป้องกันการหลุดจากระบบซ้ำ สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ จนพึ่งพาตัวเองในการดำรงชีวิตได้ ตอบโจทย์การปฏิรูปประเทศ Big Rock ที่ 1 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา” รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าว
 
ด้าน ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา กล่าวว่า การระบาดของ COVID-19 ทำให้รายได้ครัวเรือนที่ยากจนที่สุดร้อยละ 15 ของประเทศมีรายได้ลดลงราว 1 ใน 5 ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ผ่านการถูกเลิกจ้างทั้งชั่วคราว และถาวร รวมถึงรายได้จากการประกอบอาชีพค้าขายหรือรับจ้างมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้จำนวนนักเรียนยากจนพิเศษเพิ่มขึ้นราว 3 แสนคน อยู่ที่ราว 1.2 ล้านคนในปีการศึกษา 2564 นี้ และเมื่อรวมกับจำนวนนักเรียนยากจนอีกราว 7 แสนคนแล้ว ทำให้ปัจจุบันมีเด็กยากจนและยากจนพิเศษที่มีความเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษาจำนวนกว่า 1.9 ล้านคนทั่วประเทศ การปิดเทอมใหญ่ที่กำลังจะถึงนี้จึงเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของเด็กเยาวชนกลุ่มนี้ซึ่งมีความเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษาในช่วงรอยต่อระหว่างปีการศึกษา จากการลงพื้นที่ เราพบว่า มีเด็กจำนวนมากที่แม้จะเรียนอยู่เพียงชั้นประถมศึกษาตอนปลายเท่านั้น แต่ต้องตัดสินใจออกมาทำงาน เลี้ยงปากท้องช่วยครอบครัว เพราะความยากจนที่รุนแรงขึ้น จึงต้องเลือกระหว่างการเรียนที่มีต้นทุนต้องใช้จ่าย และค่าเสียโอกาสในการหารายได้เลี้ยงดูครอบครัว ทั้งที่อายุยังไม่ถึงวัยทำงาน เด็กเหล่านี้กลายเป็นแรงงานนอกระบบเฉียบพลัน มีความเสี่ยงในชีวิตทุกด้าน และมีโอกาสสูงที่จะยังคงตกอยู่ในวงจรความยากจนข้ามชั่วคนต่อไปอีกหนึ่งรุ่น
 
ดร.ไกรยส กล่าวว่า ท่ามกลางสถานการณ์จากวิกฤตโควิด-19 นี้ กสศ. มีภารกิจเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบในการป้องกันปัญหาเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา การแก้ไขปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) และการสนับสนุนการระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งในภาคนโยบาย และภาคปฏิบัติให้กลุ่มเป้าหมายต่างๆ สามารถฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปสู่ปีการศึกษา 2565 โดยใช้การวิจัยพัฒนา องค์ความรู้ ฐานข้อมูล และนวัตกรรมการจัดการที่สามารถช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบที่ยั่งยืนได้ โดยปัจจุบัน กสศ.ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เป็นต้นสังกัดทางการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการอุดมศึกษาฯ รวมถึงเชื่อมโยงเครือข่ายภาคเอกชน และภาคประชาชนเพื่อพัฒนาพื้นที่นำร่องการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในหลายแห่งทั่วประเทศไทย ทั้งระดับสถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น และจังหวัด ทั้งนี้ กสศ. พร้อมสนับสนุนการทำงานของกลไกจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ (Area-based Education: ABE) ร่วมกับพื้นที่ ท้องถิ่น จังหวัดที่ต้องการร่วมขบวน เป็นผู้นำการปฏิรูปแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่อย่างยั่งยืน
 
“ช่วงปิดเทอมเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะได้รับการดูแลจากครูและสถานศึกษาที่รู้จักเด็กเป็นอย่างดี บางโรงเรียนรู้จักเด็กมาตั้งแต่อนุบาล ระหว่างปิดเทอมไปเยี่ยมบ้านและรู้สถานการณ์แต่ละบ้านว่าเด็กจะมีโอกาสหลุดออกจากระบบการศึกษาหรือไม่ โดยเฉพาะช่วงรอยต่อจากประถมศึกษาไปสู่มัธยมศึกษา หรือช่วงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการจะไปเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรืออาชีวศึกษา ดังนั้น ช่วงปิดเทอมคือช่วงสำคัญที่สุดที่เราต้องเปิดโครงการ “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” เพราะใน 2 เดือนข้างหน้านี้ ไปจนถึง 15 พฤษภาคม เป็นเหมือนการนับถอยหลัง 2 เดือนอันตราย ที่จะมีเด็กจำนวนมากที่เลือกไม่กลับมาสู่ระบบการศึกษา ส่วนสถานศึกษามีเส้นตายในวันที่ 10 มิถุนายนที่จะต้องนับจำนวนเด็กที่ยังอยู่ในระบบ เพื่อใช้คำนวณงบประมาณนี่ยังคงเหลือในการจัดสรรการเรียนการสอนในตลอดทั้งปีจากตัวเลขของเด็กที่จะเพิ่มหรือลดในช่วงนี้เช่นกัน” ดร.ไกรยส กล่าว
 
ดร.ไกรยส กล่าวว่า การปฏิรูปที่เริ่มต้นจากกลไกในพื้นที่คือ แนวทางที่ เป็น “อนาคต” ของการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ที่สอดคล้องกับทิศทางและความเคลื่อนไหวของประเทศที่ประสบความสำเร็จทางสัมฤทธิ์ผลการศึกษาที่ใช้กลยุทธ์การลดขนาดของการจัดการปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาระดับประเทศให้มีขนาดเล็กลงมา และสอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูปการศึกษาของประเทศตามแนวทางของร่าง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ..... ที่อยู่ระหว่างพิจารณาของรัฐสภาอีกด้วย
 
ด้าน นายสมัชชา พรหมศิริ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความเสมอภาคทางการศึกษาเป็นปัญหาเร่งด่วนของประเทศ ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคเอกชน และประชาชนจะต้องผนึกกำลังกันสร้างความเปลี่ยนแปลงไม่ให้เด็กที่มีความเสี่ยงกว่า 1.9 ล้านคนทั่วประเทศต้องหลุดจากการศึกษา แสนสิริในฐานะองค์กรเอกชนที่ระดมทุนเพื่อบริจาคเงินจำนวน 100 ล้านบาทให้กับ กสศ.เพื่อใช้ในโครงการ “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” มีความยินดีที่ได้เป็นฟันเฟืองเล็กๆ ในการร่วมผลักดัน “สวนผึ้งโมเดล” ให้เกิดเป็นรูปธรรมและเป็นกลไกต้นแบบในการแก้ปัญหาความเสมอภาคทางการศึกษาอย่างยั่งยืนต่อไป
 
นายศุเรนทร์ ฐปนางกูร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวงและโครงการตามพระราชดำริ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า จากการทำงานร่วมกับโรงเรียนในอำเภอสวนผึ้ง ซึ่งมีเด็กยากจนและอยู่ในความเสี่ยงหลุดออกจากระบบจำนวนมาก ทำให้มองเห็นถึงปัญหาของเด็กแต่ละคนที่มีความแตกต่างกันไป  จำเป็นต้องมีกลไกในการดูแลรายบุคคลอย่างใกล้ชิด  มจธ. ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่มองว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องร่วมรับผิดชอบ และไม่ปล่อยให้เป็นภาระหน้าที่ของโรงเรียนเพียงผู้เดียว จึงได้ดำเนินงานภายใต้เป้าหมายการช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในอำเภอสวนผึ้ง โดยอิงความต้องการของเด็กและโรงเรียน เริ่มจากการลงพื้นที่พูดคุยกับผู้เกี่ยวข้อง และให้การสนับสนุนในเรื่องที่โรงเรียนต้องการ เช่น การส่งเสริมโครงการทักษะอาชีพให้กับเด็กที่มีปัญหาด้านรายได้ และส่งเสริมการพัฒนาทักษะต่างๆ ตามความต้องการของครูและโรงเรียน การสร้างสังคมการเรียนรู้อย่างมีความสุข เป็นเรื่องของทุกคน เป็น All For Education  ต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ โรงเรียน ชุมชน และผู้ปกครอง สำหรับเด็กๆในพื้นที่ห่างไกล การศึกษาเพื่อนำไปสู่การมีงานทำเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ต้องให้เด็กมีความรู้ มีทักษะอาชีพติดตัวไป  ควบคู่ไปกับการเรียนวิชาการในห้องเรียน

ส่วนการทำงานในพื้นที่ จ.ราชบุรี นายยรรยงค์ เจริญศรี  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 กล่าวว่า การดำเนินงานเพื่อนำเด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาและวางแนวทางป้องกันเพื่อไม่ให้เด็กหลุดซ้ำสามารถดำเนินตาม 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สร้างการรับรู้และสร้างความตระหนักต่อผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปกครองให้เห็นความสำคัญและแนวทางในการนำเด็กกลับสู่ระบบร่วมกัน 2) สำรวจรายชื่อเด็ก สภาพปัญหา และปัจจัยที่ทำให้เด็กไม่กลับเข้าสู่ระบบเป็นรายคนและทำทุกโรงเรียน 3) แบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มตามสภาพปัญหา เช่น กลุ่มรุนแรงที่ออกจากระบบแล้ว, กลุ่มมีแนวโน้มจะหลุดออกจากระบบ และกลุ่มเด็กปกติที่ยังไม่พบปัญหา 4) ออกแบบแนวทางแก้ปัญหาเด็กแต่ละกลุ่ม ซึ่งปลายทางของเด็กทุกกลุ่มคือสามารถเรียนจนจบการศึกษาในแต่ละขั้น 5) เตรียมความพร้อมของแต่ละโรงเรียน โดยเฉพาะพัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนการสอนที่สามารถดึงเด็กให้อยู่ในระบบ สนับสนุนผู้ปกครอง และระดมทุกภาคส่วนเข้ามาขับเคลื่อนทั้งสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน 6) ดำเนินการช่วยเหลือเด็กแต่ละคนตามแนวทางที่วางไว้ และ 7) ติดตาม ประเมินผล และสรุปผลโครงการ
 
“ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้บุคลาการทางการศึกษาทุกภาคส่วนต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รวมถึงผู้ปกครองต้องเห็นความสำคัญของการศึกษาของบุตรหลาน ส่วนภาคเอกชนหรือหน่วยงานที่เข้ามาก็ต้องมีแนวทางช่วยเหลือที่ชัดเจนและต่อเนื่อง แต่ที่สำคัญนักเรียนต้องได้เรียนอย่างมีความสุข พวกเขาต้องได้รับการศึกษาในหลายรูปแบบตามความเหมาะสม อย่างเช่น เด็กบางคนเรียนในระบบไม่ได้ อาจต้องสนับสนุนการเรียน กศน. หรือมีการส่งเสริมด้านอาชีพ โดยผลที่ได้ต้องทำให้เด็กสำเร็จการศึกษาและคำนึงถึงสภาพปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมที่เด็กต้องเผชิญ” นายยรรยง กล่าว
 
เช่นเดียวกับ นายอดุลย์ ถาวรกุล นายอำเภอสวนผึ้ง กล่าวว่า แม้แต่เดิมจะมีการดำเนินงานด้านการศึกษาในพื้นที่อยู่แล้วตามภารกิจงานทั้งศูนย์เด็กเล็ก, โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, โรงเรียนในกระทรวงศึกษาธิการ และการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) แต่การจะนำเด็กกลับเข้ามาสู่ระบบการศึกษาได้อย่างเห็นผลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีภาคส่วนอื่นเข้ามาร่วมกันทำงานไม่เพียงเฉพาะภาค










กำลังโหลดความคิดเห็น