“ตรีนุช “นำทีม ศธ. ร่วมลงนาม MOU จังหวัดสระแก้ว ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามยุทธศาสตร์จังหวัด SAKAEO MODEL ที่มุ่งบูรณาการความร่วมมือทุกหน่วยงานการศึกษาแบบไตรภาคี เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมของประชาชนให้สามารถปรับตัว ประกอบอาชีพ และมีคุณภาพชีวิตท่ีดี พร้อมตอกย้ำทุกช่วงวัยต้องมีทักษะ ความรู้ความสามารถ และสมรรถนะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้
เมื่อวันที่ 14 มี.ค. ที่จังหวัดสระแก้ว นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานในงานบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาจังหวัดสระแก้ว หรือ SAKAEO MODEL ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ โดย นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นายสุทิน แก้วพนา รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กับจังหวัดสระแก้ว ซึ่งมี นายปริญญา โพธิสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วและประธานกรรมการการศึกษาธิการจังหวัดสระแก้ว นางขวัญเรือน เทียนทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว นายไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และนางสาวปวีณา จันทร์สุข ประธานมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต
ตามที่ จังหวัดสระแก้วได้มีแผนพัฒนาจังหวัดที่มีประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการเสริมสร้าง กระบวนการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมของประชาชนให้สามารถปรับตัว ประกอบอาชีพและมีสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตท่ีดี โดยคนทุกช่วงวัยต้องมีทักษะ ความรู้ความสามารถ และสมรรถนะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ ตามศักยภาพ ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ตาม 12 นโยบาย และ7 วาระเร่งด่วน ของกระทรวงศึกษาธิการ
ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ภายใต้แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจังหวัด สระแก้ว ในรูปแบบ SAKAEO MODEL ที่เป็นกลไกสําคัญยิ่งในการช่วยพัฒนาผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา สามารถพัฒนาและสร้างนวัตกรรมการบริหารและนวัตกรรมการสอนได้อย่างมีคุณภาพ และผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ และผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ มีทักษะชีวิต มีทักษะอาชีพ มีทักษะการจัดการตนเองให้ปลอดภัย มีทักษะการแก้ปัญหาท่ีดี ผู้เรียน สามารถเป็นนวัตกรผู้สร้างนวัตกรรม เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ คือ เป็นผู้เรียนรู้ เป็นผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษา ของจังหวัดสระแก้ว สร้างความเสมอภาคและลดความเลื่อมล้ำทางการศึกษาในจังหวัดสระแก้วได้อย่างดียิ่ง
ทั้งนี้ นางสาวตรีนุช เปิดเผยว่า การพัฒนาคุณภาพการศึกษาจังหวัดสระแก้วที่ยั่งยืนในรูปแบบ SAKAEO MODEL นั้น เป็นการรวมพลังกันของทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานการศึกษาในจังหวัดสระแก้ว กระทรวงศึกษาธิการ ท้องถิ่นจังหวัดสระแก้ว อบจ. อบต.รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานเอกชน หน่วยงานภายนอก เช่น มูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ที่ร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในทิศทางเดียวกันและมีเป้าหมายเดียวกัน คือ เด็กและเยาวชนของจังหวัดสระแก้วมีคุณภาพสูงสุด
นางสาวตรีนุช กล่าวต่อว่า อีกทั้งเป็นการร่วมมือกันพัฒนาผู้บริหารแบบมืออาชีพ ผู้บริหารโรงเรียนมืออาชีพและครูมืออาชีพ ในโลกของการเปลี่ยนแปลงบนพื้นฐานของระบบเทคโนโลยีและโลกแห่งดิจิทัล รวมทั้งเป็นการร่วมมือกันพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง พัฒนาสิ่งแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ที่ดีให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในจังหวัดสระแก้ว
นอกจากนี้ ยังเป็นการร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาเด็กและเยาวชนของจังหวัดสระแก้ว ในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้วิชาการการวิจัย สามารถนําความรู้ด้านวิชาการไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้านการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของตนเอง ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านอาชีพและการมี งานทํา และทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ 21 ไม่ว่าจะเป็นทักษะภาษาและการสื่อสาร ทักษะด้าน เทคโนโลยีและดิจิทัล บนโลกของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เน้นให้เด็กและเยาวชนเกิดสมรรถนะ ที่สําคัญ 6 ด้าน คือ ด้านการจัดการตนเอง ด้านภาษาและการสื่อสาร ด้านการรวมพลังทํางานเป็นทีม ด้านการคิดขั้นสูงด้านการเป็นพลเมืองที่เข้มแขง็ และด้านการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่าง ยั่งยืน
“โดยเรามีเป้าหมายเดียวกันสูงสุด คือ เด็กและเยาวชนของจังหวัดสระแก้วเป็นผู้เรียนรู้อย่างมี ความสุข เป็นนวัตกรผู้สร้างนวัตกรรม และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง”นางสาวตรีนุช กล่าว
ด้านนายสุทิน กล่าวด้วยว่า สำหรับในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้ร่วมเป็นผู้รับผิดชอบหลักและมีหน้าที่ในการพัฒนาและขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาของจังหวัดสระแก้ว รวมถึงการประสานงานความร่วมมือและร่วมส่งเสริมสนับสนุนการ ดําเนินงานตาม 12 นโยบาย และ 7 วาระเร่งด่วน ของกระทรวงศึกษาธิการ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล การพัฒนาด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่สอดคล้องกับหลักสูตรฐานสมรรถนะ การพัฒนาด้านการศึกษาปฐมวัย การพัฒนาการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต การตรวจติดตามประเมินผล
นายอัมพร กล่าวเสริมว่า ในส่วนของ
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จังหวัดสระแก้ว ให้เกิดความยั่งยืนโดยเน้นส่งเสริม 12 นโยบายและ 7 วาระเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะการขับเคลื่อนโครงการพาน้องกลับมาเรียน โครงการโรงเรียนคุณภาพ โครงการความปลอดภัยในสถานศึกษา
ส่วนนายสุเทพ กล่าวว่า สำหรับสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษานั้น จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจังหวัด สระแก้ว ให้เกิดความยั่งยืน โดยร่วมเป็นผู้รับผิดชอบหลักและมีหน้าที่ในการพัฒนาและขับเคลื่อนการพัฒนา คุณภาพการศึกษาของจังหวัดสระแก้ว รวมถึงการส่งเสริมการเป็นแหล่งเรียนรู้และศูนย์แลกเปลี่ยนความรู้ด้าน ศูนย์อาชีพสู่ความเป็นเลิศ ในสาขาเทคโนโลยีดิจิทัลและสาขาการก่อสร้าง ด้านอาชีพการเกษตรโดยใช้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้านศูนย์ CEC การฝึกอาชีพของจังหวัด
ขณะที่ นายปริญญา โพธิสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า จังหวัดสระแก้วได้มีการดําเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในรูปแบบของคณะกรรมการและมีการวางแผนร่วมกันในการหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจังหวัดสระแก้ว โดยร่วมกันออกแบบแนว ทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจังหวัดสระแก้วในรูปแบบ SAKAEO MODEL เป็นแนวทาง การพัฒนา 6 ขั้นตอน โดยทุกขั้นตอนใช้กระบวนการ PDCA
โดยขั้นตอนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาดังกล่าว ได้จัดทําประกาศ จังหวัดสระแก้ว เรื่อง แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจังหวัดสระแก้ว ในรูปแบบ SAKAEO MODEL ให้ หน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดสระแก้วได้นําไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจังหวัดสระแก้วให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเริ่มจากขั้นตอนการวิเคราะห์ SWOT
ผลที่ได้คือ ใน ปี2565 ต้องเร่ง ดําเนินการดังนี้ 1.โครงการแก้ปัญหา และส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น สําหรับเด็ก ป.1 - ป3 ทุกสังกัด 2.โครงการพัฒนาให้โรงเรียน 327 แห่ง ใช้หลักสูตรเทียบเคียงฐานสมรรถนะ 3.โครงการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงสําหรับผู้เรียนระดับป.4 - ม.6 ปวช -.ปวส. และระดับอุดมศึกษา
สําหรับการเป็นนวัตกรผู้สร้างนวัตกรรม
4. โครงการพัฒนาผู้เรียนสู่อาชีพและมีงานทํามีรายได้ระหว่างเรียน
ด้าน นางขวัญเรือน เทียนทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า สำหรับสํานักงานการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสระแก้ว ได้ร่วมประสาน ส่งเสริมการจัดการศึกษาของโรงเรียน ในสังกัด อบจ. เทศบาล และ อบต. ให้จัดการศึกษาได้ตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จังหวัดสระแก้ว
ส่วนนางสาวปวีณา จันทร์สุข ประธานมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต กล่าวว่า ทางมูลนิธิ ได้ร่วมส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนายกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษา การลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความ เสมอภาคทางการศึกษาในจังหวัดสระแก้ว และการประสานงานกับองค์การนานาชาติในระดับนโยบายเพื่อสร้างความร่วมมืออย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ยังร่วมสนับสนุนนักวิชาการ คณะนักวิจัย วิทยากร ทรัพยากรตามความเหมาะสม ร่วมถึงการสนับสนุน ทางด้านวิชาการ และพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาในพื้นที่เป็นพี่เลี้ยง และที่ปรึกษาในการออกแบบเครื่องมือ ประเมินสมรรถนะ และกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชนเพื่อพัฒนาสมรรถนะ เป็น พี่เลี้ยงติดตาม สังเกตการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบสมรรถนะ และให้ข้อเสนอแนะ การประสานกับ องค์การนานาชาติในระดับปฏิบัติการด้านวิชาการ อาทิ การประสานวิทยากร เครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบอิงฐานสมรรถนะ