xs
xsm
sm
md
lg

ศบค.ถกมาตรการ 11 ก.พ.นี้ พบคลัสเตอร์ “ตลาด” ทั่วประเทศ ห่วง “สูงอายุ” ฉีดวัคซีนน้อย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศบค.ห่วงสูงอายุยังฉีดวัคซีนน้อย เป็นกลุ่มเสี่ยงดับจากโควิด เผย ฉีดวัคซีนเข็ม 3 ไม่ว่าแอสตร้าฯ ไฟเซอร์ โมเดอร์นา ป้องกันติดเชื้อและเสียชีวิตจากโอมิครอนใกล้เคียงกัน ระบุ ยังพบคลัสเตอร์กระจายทั่วประเทศ ตลาด” พบมากที่สุด เตรียมประชุม ศบค. 11 ก.พ.นี้

วันที่ 7 ก.พ. พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผอ.สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค เป็นตัวแทน ศบค.แถลงสถานการณ์โควิด 19 ประจำวัน ว่า ขณะนี้ประเทศไทยฉีดวัคซีนสะสม 117 ล้านโดส ส่วนผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปยังฉีดวัคซีนน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น โดยรับเข็มแรก 66% เข็มสอง 62% และเข็มกระตุ้น 19% โดย 10 จังหวัดที่ฉีดครอบคลุมกลุ่ม 607 น้อยที่สุด คือ บึงกาฬ นราธิวาส ปัตตานี หนองคาย สกลนคร สระแก้ว นครพนม กาฬสินธุ์ เลย และ ยะลา จากการรายงานประจำวันผู้เสียชีวิตยังเป็นผู้สูงอายุ ดังนั้น ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุขอให้มารับการฉีดวัคซีนมากที่สุด หากรับเข็มสองนานเกิน 3 เดือนให้มารับเข็มกระตุ้นโดยเร็วที่สุด

ทั้งนี้ มีการศึกษาโดยเก็บข้อมูล จ.เชียงใหม่ พบว่า การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น หรือรับเข็ม 3 ขึ้นไป ไม่ว่ายี่ห้อใด ทั้งแอสตร้าเซนเนก้า ไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา สามารถลดความรุนแรงของโรคและอาการป่วยหนักและเสียชีวิตได้ 96% ป้องกันการติดเชื้อต่อสายพันธุ์โอมิครอน 68% โดยไม่ว่าจะกระตุ้นด้วยยี่ห้ออะไรจากทั้ง 3 ยี่ห้อ ก็ได้ประสิทธิผลการป้องกันการติดเชื้อและการเสียชีวิตจากโอมิครอนไม่ต่างกัน

สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย ติดเชื้อรายใหม่ 10,470 ราย เป้นหลักหมื่นวันที่สามของระลอก ม.ค. หายป่วย 8,711 ราย กำลังรักษา 92,784 ราย ปอดอักเสบ 535 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 102 ราย เสียชีวิต 12 ราย โดยอยู่ในกลุ่ม 607 ทั้งหมด โดยไม่ได้รับวัคซีนหรือรับไม่ครบโดส 75% ค่ากลางอายุเสียชีวิต 83 ปี พบการกระจายเสียชีวิตทุกภาค ภาคละ 2-3 ราย แต่ไม่พบใน กทม.วันนี้

“ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น เป็นไปตามที่คาดการณ์และยังควบคุมได้ แม้จะติดเชื้อหลักหมื่นต้นๆ หากพิจารณาผู้ติดเชื้อแล้วมีอาการหนัก ใส่เครื่องช่วยหายใจ และเสียชีวิต เมื่อเทียบกับระลอก เม.ย. 2564 ถือว่าลดลงอย่างมาก อัตราเสียชีวิตคงตัว ระบบสาธารณสุขยังรองรับได้ แม้การติดเชื้อโอมิครอนตอนนี้อาจไม่มีอาการหรืออาการน้อย แต่ไม่ติดจะดีที่สุด ขอความร่วมมือเคร่งครัด COVID Free Setting และมาตรการส่วนบุคคล สวมหน้ากากตลอดเวลา ไม่อยู่ที่แออัด แยกของใช้ส่วนตัว ไปรับวัคซีนครบโดส หากรับเข็มสองเกิน 3 เดือน ให้ไปรับเข็มกระตุ้น” พญ.สุมนี กล่าว

พญ.สุมนี กล่าวว่า ผู้ติดเชื้อระลอก ม.ค. 65 นั้น กรมควบคุมโรควิเคราะห์รายละเอียดผู้ติดเชื้อ ตั้งแต่ 30 ม.ค.- 5 ก.พ. พบว่าส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน 20-49 ปี ประมาณ 55% ปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดการติดเชื้อ คือคนใกล้ชิด 47.3% ไปสถานที่เสี่ยง 48.4% นอกนั้นคือติดในบุคลากรทางการแพทย์และตรวจ ATK เป็นบวก รายงานด้วย RT-PCR รายงานเพิ่มขึ้น 3.6% พบว่า ส่วนใหญไม่มีอาการ 45.1% อาการเล็กน้อย 54.86%

การติดเชื้อยังเป็นคลัสเตอร์เล็กๆ กระจายทั่วประเทศ ทั้งงานสังสรรค์ งานเลี้ยง งานแต่ง งานบวช แม้จะมีจำนวนผู้ติดเชือ้ไม่มากในแต่ละคลัสเตอร์ แตมีประสิทธิภาพการกระจายสูง มีอัตราการติดเชื้อในครอบครัว 40-50% ขณะที่เทียบกับเดลตาอยู่ที่ 10-20% โอมิครอนติดเชือ้กพร่ระบาดง่าย การป้งกันส่วนบุคคลยังป้องกันได้ทุกสายพันธุ์

10 จังหวัดติดเชื้อสูงุสด คือ กทม. 1,391 ราย ซึ่งตัวแทน กทม.ชี้แจงการติดเชื้อว่า ล่าสุดเป้นสถานดูแลผู้สูงอายุ ทำให้ติดเชื้อ 25 ราย ขอให้ รพ.ใน กทม.เมื่อพบผู้ติดเชื้อให้รายงานรวดเร็ว อาจมีค้างรายงานอยู่ 200-300 คน, สมุทรปราการ 962 ราย, ชลบุรี 545 ราย, นนทบุรี 474 ราย, ภูเก็ต 436 ราย, นครปฐม 274 ราย, ราชบุรี 265 ราย, นครราชสีมา 263 ราย, นครศรีธรรมราช 213 ราย และ ขอนแก่น 208 ราย

ส่วนผู้ติดเชื้อในการรายงานวันนี้มาจาก สถานพยาบาล พบใน กทม. 39 ราย ขอนแก่น ชลบุรี ปทุมธานี 8 ราย สมุทรปราการ 7 ราย ลพบุรี 5 ราย สงขลา นนทบุรี ภูเก้ต 4 ราย สระบุรี ปัตตานี มหาสารคาม 3 ราย , โรงเรียน สระแก้ว 44 ราย สุรินทร์ 26 ราย ยโสธร 25 ราย สุพรรณบุรี 20 ราย น่าน 19 ราย ราชบุรี 13 ราย มหาสารคาม 11 ราย ขอนแก่น ปราจีนบุรี 9 ราย อำนาจเจริญ มุกดาหาร 5 ราย

สถานประกอบการโรงงาน ชลบุรี 20 ราย ลพบุรี 12 ราย ประจวบคีรีขันธ์ 10 ราย ปราจีนบุรี 7 ราย สมุทรปราการ สุรินทร์ บึงกาฬ 6 ราย อุดรธานี 5 ราย, งานประเพณี งานศพ อุบลราชธานี 6 ราย มหาสารคาม 5 ราย สงขลา 4 ราย งานแต่ง ร้อยเอ็ด สงขลา 4 ราย ราชบุรี 2 ราย งานบวช ประจวบคีรีขันธ์ 4 ราย ขอนแก่น 2 ราย

คลัสเตอร์ที่พบมากที่สุดคือ ตลาด พบ กทม.มากสุด 66 ราย ชลบุรี 29 ราย อุบลราชธานี 23 ราย ประจวบคีรีขันธ์ 22 รายขอนแก่น 13 ราย น่าน 11 ราย หนองบัวลำภู 9 ราย ราชบุรี 8 ราย นครราชสีมา 6 ราย ร้อยเอ็ด ลพบุรี สมุทรสาคร 5 ราย กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา 4 ราย เพชรบุรี 3 ราย และกระจายอีกลหายจังหวัดเกือบัท่วประเทศ แต่เป้นคลัสเตอร์เล็กๆ 1-2 คน การสอบสวนดรค การแพร่ระบาดติดเชื้อเกิดจาก 3 ปัจจัย คือ สถานที่พบว่าอากาศปิดอับ แผงไม่จัดเป้นระเบียบ คนหนาแน่น ทั้งคนในตลาและมาซื้อของ ไม่เคร่งครัดมาตรการส่วนบุคคล ไม่สวมหน้ากากหรือใส่ไม่ถูกต้อง ไม่คัดกรองอุณหภูมิ ไม่มีจุดแอลกอฮอล์ทำความะสอาดมือ และแรงงานในตลาด 1 คนทำงานหลายที่ มีการเคลื่อนย้ายค่อนข้างบ่อย อาจไมได้รับวัคซีนหรทือรับไม่ครบ เสีย่งติดโรคและแพร่ระบาดผู้มาใช้บริการได้ ต้องขอความร่วมมือผู้ประกอบการ พ่อค้าแม่ค้า ปรับสภาพแวดล้อม แผงการขายใหมีระเบียบ ระบายอากาศถ่ายเท ประชาชนไปใช้บริการระวัง ความเสี่ยงเกิดจากการสัมผัสธนบัตร เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ ถุงพลาสติกโดยตรง ป้องกันได้โดยล้างมือทุกครั้งด้วยแอลกอฮอล์เจล การจ่ายเงินมีแบบออนไลน์ ไม่ต้องสัมผัสอะไรกัน นอกจากนี้ ทุกครั้งเข้าตลาดต้องใส่หน้ากากให้ถูกต้อง อยู่ที่คนไม่หนานแน่น เว้นระยะห่างให้มากที่สุด

ส่วนร้านอาหาร การระบาดน้อยลงเอเทียบกับคลัสเตอร์อื่น วันนี้รายงานขอนแก่น 15 ราย ร้อยเอ็ด 13 ราย มหาสารคาม ประจวบคีรีขันธ์ 9 ราย สุพรรณบุรี ชลบุรี 5 ราย อุดรธานี สงขลา ชุมพร แพร่ น่าน 2-3 ราย

จังหวัดมหาสารคาม ออกประกาศขอความร่วมมือประชาชนงดกินข้าวในการทำกิจกรรมต่างๆ งานประชุม เสวนา กิจกรรมทางศาสนา งานบวช งานศพงานแต่ง งานบุญ ไม่ให้กินข้าวร่วมกันในสถานที่ทำงานและสถานที่ราชการ ตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ.เป็นต้นไป จังหวัดนำมาปรับใช้ได้กรณีการระบาดจากการรับประทานอาหารร่วมกัน

ส่วนการลงทะเบียน test&Go วันที่ 1 ก.พ. มีคนลงะทเบียนขออนุมัติประมาณวันละ 1.5 หมื่นราย ก็จะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การขอเข้ามาต้องผ่านระบบ Thailand Pass จะพิจารณาหลักฐานที่จะต้องนำมาใช้ประกอบการพิจารณาการเข้าประเทศไทย คือ การจองโรงแรมมาตรฐาน SHA Extra+ มีรพ.คู่ปฏิบัติการที่ตรวจ RT-PCR ให้กับนักท่องเที่ยวเข้ามาได้ 2 ครั้ง คือ วันแรกที่มาถึงและวันที่ 5 ต้องฉีดวัคซีนครบที่องคืการอนามัยโลกรับรอง ซึ่งคนตรวจคือกรมควบคุมโรค เมื่อสองหลักฐานครบ จะส่งกลับกรมการกงสุล เพื่อพิจารณาหลักฐานอื่น เช่น ประกันชีวิต ต้อง 5 หมื่นเหรียญสหรัฐ ครอบคลุมการดูแลรักษาในประเทศไทย กรมการกงสุลจะออกคิวอาร์โคดให้ได้เมื่อหลักฐานผ่าน กรณีติดขัดยังไม่ออก ต้องแจ้งทราบว่าต้องใช้เวลาตรวจหลักฐาน 7-14 วัน เพื่อตรวจสอบ เพราะมีคนขอคิวอาร์โคดเข้ามาจำนวนมาก ถ้าเลย 7 วันหลังยื่นหลักฐานยังไม่ได้คิวอาร์โคด ให้ติดต่อกรมการกงสุล 025728442 มือถือ 0652054247 จนถึง 4249 อีก 3 เบอร์ กรณีพักในต่างประเทศ ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ในประเทศที่พำนัก

“สำหรับการประชุม ศบค.ใหญ่ ในวันที่ 11 ก.พ. ขอให้ติดตามข่าวสารว่ามีมาตรการการจัดการโควิดอย่างไร” พญ.สุมนี กล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น