xs
xsm
sm
md
lg

เป็นส่วนหนึ่งของระบบความปลอดภัยไซเบอร์! กับหลากหลายสาขาวิชาจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศฯ ม.กรุงเทพ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ไม่นานมานี้มีข่าวฮือฮาข่าวหนึ่ง เมื่อโรงพยาบาลสระบุรีถูกแฮกเกอร์ส่งไวรัสมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) เข้าโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลทำให้เกิดความขัดข้องจนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยได้ โดยอาชญากรไซเบอร์ผู้นี้ได้เรียกค่าไถ่เป็นจำนวนเงินถึง 2 แสนบิตคอยน์ หรือราว 63,000 ล้านบาท เพื่อแลกกับการปลดล็อกข้อมูล อย่างไรก็ตาม ทางโรงพยาบาลก็สามารถกู้ระบบคืนบางส่วนได้สำเร็จในเวลาต่อมา

สถิติจากศูนย์ปฏิบัติการ Security Operation Center (SOC) ของ CAT cyfence ระบุว่า การถูกติดตั้งมัลแวร์ (Malware) ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่ผู้ใช้งานไม่รู้ตัว เช่น การเปิด Spam Mail, การคลิกลิงก์แปลกๆ, การเสียบ USB ในคอมพิวเตอร์สาธารณะ ฯลฯ จนอาชญากรไซเบอร์สามารถเข้ามาโจมตีข้อมูลได้นั้น นับเป็นช่องทางหลักในการคุกคามทางไซเบอร์ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ดังเช่นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับโรงพยาบาลสระบุรีนั่นเอง ซึ่งมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่โรงพยาบาลสระบุรีโดนโจมตีก็เป็นประเภทของมัลแวร์ที่เจอมากที่สุดอันดับ 1 ของโลก ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ถูกโจมตีสูงสุดของเอเชียติดต่อกันหลายปี และมีอัตราการโดนโจมตีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี เนื่องจากเป็นประเทศที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก สถิติการโดนคุกคามทางไซเบอร์จึงสูงขึ้นตามอัตราการใช้งาน


ผู้คนทั่วไปจึงตั้งคำถามว่า ใครหรือตำแหน่งงานใดที่มีบทบาทในการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้ ดร.ถิรพล วงศ์สอาดสกุล คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้มาให้ความกระจ่างต่อข้อสงสัยดังกล่าว

“การจะทำให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความเสถียรและปลอดภัย จำเป็นต้องใช้บุคลากรหลายตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เรียนจบทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่วิเคราะห์ออกแบบและพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ส่วนผู้ที่จบทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT ก็มีหน้าที่บริหารจัดการดูแล โดยเชื่อมโยงเน็ตเวิร์กขององค์กรเข้ากับภาคส่วนอื่นๆ เช่น ภาครัฐ หน่วยงานภายนอก ฯลฯรวมทั้งดูแลดาต้าเบสเว็บไซต์ต่างๆ และช่วยจัดการระบบป้องกันการโจรกรรมข้อมูลในเบื้องต้นด้วย ส่วนผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Cybersecurity ก็จะเข้ามาวางระบบป้องกันการเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กร เช่น แนะนำการติดตั้ง Firewall ที่เหมาะสม หรือควรใช้อุปกรณ์อะไรเพิ่มเติมบ้างอันจะช่วยให้การรักษาข้อมูลต่างๆ ขององค์กรมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นโดยทั้งสามส่วนจะต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างระบบการป้องกันการคุกคามทางไซเบอร์ขององค์กรให้มีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด”


ดร.ถิรพล ยังกล่าวด้วยว่า สาเหตุที่ทำให้อาชีพเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์แขนงต่างๆ เป็นที่ต้องการมาก ก็เพราะเดิมทีระบบอินเทอร์เน็ตของโลกถูกออกแบบเพื่อการสื่อสารเท่านั้น โดยไม่ได้คำนึงถึงปัญหาด้านความปลอดภัยมาก่อน ต่อมาจึงมีอาชีพใหม่ๆ เช่น Cybersecurity หรือที่เรียกเท่ๆ ว่า “ตำรวจไซเบอร์” มาทำหน้าที่จัดการปัญหาเหล่านี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลขององค์กรถูกโจรกรรมไปใช้ในทางที่ผิด ส่งผลให้อาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ เช่น นักพัฒนาซอฟต์แวร์, IT Support, เจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ฯลฯ มีรายได้ค่อนข้างสูง บัณฑิตจบใหม่มีโอกาสได้รับเงินเดือนสตาร์ทที่ 25,000-30,000 บาท ส่วนใครที่มีความสามารถมากหรือทำงานกับองค์กรที่ให้ความสำคัญด้านนี้เป็นพิเศษก็อาจได้รับเงินเดือนขั้นต้นสูงถึง 40,000 บาทเลยทีเดียว

โดยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพก็เปิดสอน 3 สาขาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์, สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งเน้นความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และวิทยาการข้อมูล และสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อผลิตผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ป้อนความต้องการของตลาด ด้วยการทำความร่วมมือและนำโจทย์จริงจากพาร์ตเนอร์ซึ่งเป็นบริษัทและองค์กรชั้นนำมากมายมาให้นักศึกษาพัฒนาทักษะ


สาขาที่เกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ จึงนับเป็นสาขาน่าเรียน เพราะอัตราอาชญากรรมทางไซเบอร์มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางของสายพานการวางระบบคอมพิวเตอร์ จึงต้องมีความรัดกุม ทำให้มีตำแหน่งงานมากมายที่ต้องร่วมมือกันปกป้อง ซึ่งทั้ง 3 สาขาดังกล่าวข้างต้นของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ก็พร้อมผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพป้อนทุกตำแหน่งบนสายพานสายนี้


กำลังโหลดความคิดเห็น