xs
xsm
sm
md
lg

ตั้งใจที่จะเรียน ม.รังสิต แค่ปีเดียว แต่จนวันนั้น-วันนี้ ยังคงอยู่ที่บ้านหลังเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ฐานวีร์ ลอยแก้ว อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีอาหาร

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



มหาวิทยาลัยเอกชน ไม่ใช่ความฝันของเด็ก ม.ปลาย และผู้ปกครองหลายๆ คน นี่อาจเป็นความเชื่อหนึ่งที่อยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ซึ่งแต่ละคนอาจมีเหตุผลแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับศิษย์เก่าคนนี้ คุณ ฐานวีร์ ลอยแก้ว (แนน) ศิษย์เก่าปริญญาตรี-โท มหาวิทยาลัยรังสิต ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต 

ตั้งใจว่าจะเรียนที่ ม.รังสิต แค่ปีเดียว

คุณฐานวีร์ ลอยแก้วหรือ อ.แนน เล่าว่า ตอนแอดมิชชั่น สอบติดสาขาปิโตรเคมี หลักสูตรอินเตอร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งเป็นสาขาที่เลือกไว้อันดับหนึ่ง และผ่านการสอบสัมภาษณ์แล้ว แต่ด้วยความที่ไม่มั่นใจในตัวเอง จึงสละสิทธิ์ทั้งๆ เป็นสาขาที่อยากเรียนมากที่สุด ตั้งแต่อยู่ ม.ปลาย และไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าจะได้เรียนมหาวิทยาลัยเอกชน แต่ตอนนั้นเพื่อไม่ให้เสียเวลาจึงมาสมัครเรียนที่มหาวิทยาลัยรังสิต

วันมาสมัครเรียนที่ ม.รังสิต ตั้งใจจะเรียนบริหาร แต่อาจารย์ตรงจุดรับสมัครขอดูผลการเรียนเห็นว่าเราเรียนสายวิทย์มา จึงถามว่าสนใจเรียนคณะเทคโนโลยีอาหารไหม ถ้าสนใจอาจารย์จะหาทุนการศึกษาให้ เพราะผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี แนนก็บอกอาจารย์ไปตรงๆ ว่า จะมาเรียนแค่ปีเดียวและอ่านหนังสือเพื่อสอบแอดมิชชั่นใหม่ อาจารย์ท่านก็บอกไม่เป็นไรลองเรียนดูก่อน แนนจึงตกลงสมัครเรียนคณะเทคโนโลยีอาหาร เพราะเป็นคณะที่อยู่อันดับ 2 และอันดับ 3 ที่เลือกไว้เช่นกัน


ได้ทุนเรียนต่อปริญญาโทและเรียนต่อปริญญาโทใบที่ 2

พอผ่านไป 1 ปี อ.แนน บอกที่บ้านว่าจะไม่สอบใหม่แล้วนะ เพราะระยะเวลาที่ผ่านมาสิ่งที่เราเรียนเราก็ชอบ อาจารย์ก็ดี เพื่อนก็ดี สิ่งแวดล้อมก็ดี เลยไม่ทำให้เราอยากกลับไปสอบใหม่  จะเรียนที่นี่จนจบ ซึ่ง อ.แนน จบปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 และคิดว่าจะเรียนต่อระดับปริญญาโท

“ระหว่างฝึกงานช่วงปี 3 มีความคิดว่า  ยังไม่อยากทำงานอยากเรียนต่อปริญญาโท โดยตั้งใจว่าจะหาทุนเรียนต่อ ซึ่งจังหวะพอดีกับที่อาจารย์ที่ปรึกษาได้ทุนวิจัยมาจากหน่วยงานภายนอก 50 เปอร์เซ็น อาจารย์ถามว่าสนใจเรียนต่อไหม และจะสนับสนุนทุนของคณะอีก 50 เปอร์เซ็น เลยตัดสินใจเรียน ซึ่งตอนทำโปรเจกต์จบก็ลงทะเบียนเก็บวิชาพื้นฐานของปริญญาโทไว้ด้วย (Non Degree) จึงทำให้เราเรียนจบเร็วขึ้น ตอนใกล้จบปริญญาโท ที่คณะเทคโนโลยีอาหาร กำลังเปิดรับสมัครนักวิจัย ซึ่งแนนเองก็สนใจจึงสมัครเป็นนักวิจัยที่คณะต่อเลย ซึ่งนอกจากหน้าที่ทำวิจัยแล้ว อาจารย์ยังให้เป็นผู้ช่วยสอนวิชาปฏิบัติการและดูงานวิจัยของนักศึกษาด้วย”

“แนนจะบอกนักศึกษาเสมอว่า ถ้าเราชอบอะไรอยากให้ลงมือทำ ให้ทดลองทำก่อน อย่าบอกว่าตัวเองทำไม่ได้ แล้วปฏิเสธสิ่งนั้น ทั้งๆ ที่ยังไม่เคยลองทำเลยด้วยซ้ำไป ถ้าลองแล้วทำไม่ได้หรือไม่ใช่  ค่อยมาเริ่มต้นใหม่ก็ยังไม่สายเกินไป ดีกว่ามานั่งเสียใจทีหลัง”


อาจารย์ : ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร

พอเริ่มทำงานจริง  แนนก็อยากหาความรู้เพิ่มเติมในศาสตร์ด้านอื่นบ้าง เผื่อจะได้แนวทางการประกอบอาชีพในอนาคต จึงสมัครเรียน ป.โท หลักสูตรการเป็นผู้ประกอบการ คณะบริหารธุรกิจ เรียนวันเสาร์-อาทิตย์

“การเรียนบริหารกลับกลายเป็นเรื่องค่อนข้างหนักสำหรับแนน มาเจอศัพท์เกี่ยวกับบัญชี การเงิน แนนถึงกับอึ้งไปเลย เวลาเรียนในห้องเรียน  ทำไมเพื่อนๆ รู้ หรือไม่รู้สึกตื่นเต้นกับคำศัพท์แปลกใหม่แบบเราเลย ทำไมเราไม่รู้เรื่องอยู่คนเดียว หรืออาจเป็นเพราะเราคุ้นชินกับศัพท์ทางวิทยาศาสตร์มานาน พอมาเจอศัพท์ทางสายอื่นๆ เลยไม่คุ้นและคิดว่าเป็นเรื่องยาก แนนเลยมาตั้งในอ่านหนังสือและทำความเข้าใจว่าศัพท์ต่างๆ เหล่านั้นคืออะไร”


พอเรียนจบปริญญาโทใบที่ 2 ทางคณะฯ กำลังเปิดรับสมัครอาจารย์ประจำหลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งก็ตรงกับวุฒิที่เราเรียนมาจึงสมัครเป็นอาจารย์ประจำ รับผิดชอบรายวิชาเกี่ยวกับกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์นมประเภทต่างๆ และวิชาสอนร่วมเกี่ยวกับการทำบะหมี่และผลิตภัณฑ์อบแห้ง ส่วนวิชาที่เกี่ยวกับธุรกิจจะเป็นวิชา ธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สอนเกี่ยวกับการเขียนแผนธุรกิจ และดูแลร้านค้าของคณะเทคโนโลยีอาหาร

“แนนไม่ใช่คนเรียนหนังสือเก่ง แต่แนนจะตั้งใจฟังอาจารย์ในห้องเรียน และถ้าตรงไหนทำไม่ได้จะกลับมาทบทวน และจะอ่านหนังสืออีกทีช่วงใกล้สอบ”


จากวันนั้น-วันนี้ ยังคงอยู่ที่บ้านหลังเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

ตั้งแต่เป็นนักศึกษาจนปัจจุบันสิ่งที่ได้รับมาโดยตลอดคือ ความใกล้ชิด การดูแลเอาใจใส่ของอาจารย์ที่มีต่อนักศึกษา เราสามารถพูดคุยและปรึกษากับอาจารย์ได้ตลอดทั้งเรื่องเรียนและเรื่องส่วนตัว มีความเป็นครอบครัว ไม่เฉพาะในคณะเท่านั้น แต่บรรยากาศภายในมหาวิทยาลัยเอง  ก็ยังมีความอบอุ่นและสัมผัสได้ถึงมิตรภาพที่มีให้แก่กัน






กำลังโหลดความคิดเห็น