หลายคนคิดว่างานออกแบบไม่ว่าจะออกแบบสื่อออกแบบผลิตภัณฑ์หรืองานออกแบบต่างๆที่เห็นกันทั้งในและต่างประเทศนั้นหลายคนเข้าใจว่า การที่จะมีงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์จนเกิดโปรดักส์ดีดีขึ้นมาสักอย่างต้องเป็นเรื่องของกลุ่มคนที่พรสวรรค์ด้านงานศิลป์งานดีไซน์หรือเป็นนักออกแบบศิลปินเท่านั้นกลับกันเมื่อโลกเดินทางมาถึงยุค “ดิจิทัลเปลี่ยนโลกการศึกษา” เต็มตัวซึ่งนำมาซึ่งความท้าทายของการปรับตัวและการพัฒนาทักษะใหม่ๆและเข้าสู่ยุคที่คนต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ๆต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแก่ตนเององค์กรและประเทศชาติได้ อาจารย์ธีรนพ หวังศิลปคุณ เป็นคนหนึ่งที่มีแนวคิดในการปลุกพลังนักออกแบบที่เป็นมากกว่าผู้ผลิตงานออกแบบ นั่นคือเป็นนักออกแบบที่มี Critical thinking มาแก้ปัญหาสังคมไทยเราได้
รู้จักธีรนพนักออกแบบที่เริ่มต้นด้วยพรแสวง
อาจารย์ธีรนพ หวังศิลปคุณ กราฟิกดีไซเนอร์ไทย ผู้ก่อตั้งบริษัท ออกแบบกราฟิก TNOP design ที่มีผลงานกับหลายแบรนด์ดัง อาทิ Corbis Nike Coca-Cola อาจารย์ธีรนพมีจุดเริ่มต้นการเดินทางบนเส้นทางการเป็นนักออกแบบ โดยเริ่มจากคำว่า “ชอบ” และคำว่าชอบอยากทำ ฉะนั้นต้องศึกษาและค้นหาเป้าหมายตามสิ่งที่ชอบให้สำเร็จ ซึ่งอาจารย์ธีรนพเล่าว่า “ขอเท้าความก่อนว่า นยุคเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นยุคทองของการเกิดนิตยสารสิ่งพิมพ์หัวใหม่ๆทั้งในและต่างประเทศ ทำให้เกิดวัฒนธรรมของวัยรุ่นยุคนั้นที่อยากจะทำงานออกแบบปกแมกกาซีนและส่วนตัวรู้สึกชอบยิ่งได้ซึมซับทำให้ยิ่งเกิดแรงบันดาลใจ ทำให้คิดว่าอยากเป็นคนทำนิตยสาร (Magazinea) ได้ โดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอยากทำปกอยากทำนิตยาสารต้องเรียนอะไร จนได้เข้ามาเรียนสาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต และพบว่า เราไม่ได้แค่เรียนออกแบบปกแมกกาซีนอย่างเดียว แต่ยังมีหลายพื้นฐานวิชาที่ทำให้เราได้เรียนรู้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการโฆษณา (Advertising) การออกแบบบรรจุภัณฑ์(Packaging) การเขียนแบบ (Drawing) แม้กระทั่งเรียนออกแบบภายใน (Interior Design) เหล่านี้ล้วนเป็นวิชาพื้นฐานที่ต้องเข้าใจและให้ความสำคัญ ซึ่งเราเรียนแล้วทำให้รู้สึกสนุกและมีความสุขทำให้เราสามารถเข้าใจและรู้จักตัวเองมากขึ้น ว่าเราชอบงานทางด้านไหน เพราะการเป็นนักออกแบบไม่ใช่แค่พรสวรรค์และจะเป็นได้ ต้องเริ่มจากความชอบอยากเรียนอยากรู้และได้ลงมือทำต่างหาก ทำให้เรามีพื้นฐานที่มากพอ สุดท้ายจะพบความถนัดของตัวเอง ซึ่งระหว่างเรียนเราพบว่าชอบงานโฆษณาและออกแบบแพคเกจ หลังเรียนจบปริญญาตรีมีโอกาสไปทำงานทางด้านกราฟฟิกดีไซน์ให้กับบริษัทเจ. วอลเตอร์ธอมสัน เป็นงานออกแบบสื่อประเภท Mass communication ต่างๆ อย่างโฟร์โมสต์ (Foremost) พิซซ่า ฮัท (Pizza Hut) เป็นต้น จากนั้นได้มีโอกาสไปเรียนแบด เวิร์คช็อป B.A.D. Workshop กับครีเอทีพที่มีชื่อเสียงของเมืองไทยขณะนั้น และได้ทำงานเป็นอาร์ดไดเรกเตอร์กับคุณต่อ สันติศิริ นักสร้างสรรค์งานโฆษณา บริษัท NEXT ก่อนไปเรียนต่อด้านกราฟฟิกดีไซน์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีโอกาสทำงานเป็นนักออกแบบให้กับบริษัท Segura Inc. ในชิคาโก จนได้ก่อตั้ง TNOP Design บริษัทออกแบบกราฟิกที่ชิคาโก ร่วมงานกับบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลกอย่าง ไนกี้ โคคาโคล่า หรือ Maria Pinto จนได้รับรางวัลด้านการออกแบบมากมาย”
จากประสบการณ์ที่สั่งสมมากมายของอาจารย์ธีรนพนั้นยังได้นำมาแบ่งปันให้ความรู้แก่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ตลอดจนปัจจุบันเป็นอาจารย์สาขาวิชาการออกแบบ หลักสูตรปริญญาโท มหาวิทยาลัยรังสิต” และเป็นดีไซเนอร์ที่มีความตั้งใจผลิตผลงานมาช่วยสังคม นั่นคือ “การผลิตบัณฑิตนักออกแบบรุ่นใหม่”
รับบทบาทดีไซเนอร์ในการผลิตนักออกแบบรุ่นใหม่
ทุกวันนี้สังคมไทยเรามีหลากหลายอาชีพที่เป็นกำลังสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนพัฒนาสังคมและประเทศ เมื่ออาจารย์ธีรนพมีโอกาสได้รับบทบาทอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย อาจารย์มีความตั้งใจว่า “เราต้องผลิตนักออกแบบที่ทำงานได้จริง นักออกแบบที่เป็น Professtional โดยหน้าที่ของเราในฐานะดีไซเนอร์ในบทบาทอาจารย์ต้องเตรียมนักศึกษาเหล่านั้นให้เป็น Professional ด้านงานออกแบบได้ นักศึกษาในมือเราต้องได้รับการเตรียมความพร้อมในหลายๆด้าน โดยเรานำประสบการณ์การทำงานจริงของเรามาเป็น case study ให้กับนักศึกษา ซึ่งการเตรียมความพร้อมนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทจะมีวิธีการคอนเซ็ปต์ที่แตกต่างกันไป ตัวอย่าง นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ปีที่ 2 นักศึกษาที่เตรียมทำศิลปนิพนธ์ (Thesis) เราต้องเน้นการให้แรงบันดาลใจ (Inspiration) ให้แนวทางในการทำงานให้นักศึกษาสามารถสร้างงานได้ กลั่นให้คิดออกมาว่าจะสร้างงานแบบไหนได้ บ้างขณะที่นักศึกษาซีเนียร์จะเน้นเรื่องของ Professional Practice เน้นเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ (Idea) การหาแนวทางแก้ปัญหา (Solution) และการสร้างโอกาสในการปั้นงานออกแบบให้ออกมาใช้ในชีวิตหรือตอบโจทย์สังคมได้ เป็นต้น ต้องเข้าใจว่านักออกแบบบทบาทของเราคือเราจะสร้างงานอย่างไรให้เกิดความโดดเด่น งานแนวใหม่ งานที่เป็นนวัตกรรม (Innovative) ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน สร้างงานเพื่อให้ได้รับรางวัลหรืองานออกแบบอื่นๆเหล่านี้ เป็นเรื่องที่เรานำเอาความเป็นดีไซเนอร์มาบูรณาการคู่กับองค์ความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ที่เรามีความพร้อมนำมาประยุกต์สอน เพื่อเตรียมนักศึกษาให้เกิดผลผลิตเป็นดีไซเนอร์รุ่นใหม่ได้ในอนาคต”
อาชีพไหนก็เป็นนักออกแบบได้
“ สังคมไทยเราเริ่มเห็นความสำคัญของงานออกแบบบ้างแล้ว เพราะอะไร เพราะงานออกแบบอยู่ใกล้ตัวเราจนบางครั้งเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตของเรา อย่างเช่น หากเราขึ้นรถเมล์ เราดูป้ายรถเมล์ ปรากฎว่าป้ายรถเมล์นั้นเข้าใจยาก ทำให้เราเดินทางไม่ถูก นั่นแปลว่างานออกแบบป้ายรถเมล์นั้นไม่ช่วยแก้ปัญหาการใช้ชีวิตของคนเดินทาง หรือการไปซุปเปอร์มาร์เก็ตแล้วเห็นว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดี แต่อ่านข้อมูลบนฉลาก (Packaging) นั้นไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจ ทำให้เรามองข้ามผลิตภัณฑ์นั้นไป แสดงว่าเกิดการสื่อสาร (communication) ที่ไม่ตรงกับสิ่งที่ต้องการสื่อสาร เป็นต้น ตรงนี้เองที่ทำให้คนเริ่มตระหนักถึงงานออกแบบมากขึ้น จะเห็นว่าหลายองค์กรหน่วยงานเริ่มมองหานักออกแบบเพื่อมาแก้ปัญหา ซึ่งนั่นหมายความว่าสังคมทุกวันนี้เราต้องการ ‘ดีไซเนอร์’ และดีไซน์เนอร์หรือนักออกแบบต้องรู้จักการทำกลยุทธ์ (strategy) นักออกแบบรู้จักการแก้ปัญหาการจัดการ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักออกแบบที่เป็นผู้บริหารกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก เพราะนักออกแบบเหล่านี้นอกจากจะมีความรู้ด้านงานออกแบบแล้วยังสามารถนำงานออกแบบนั้นไปแก้ปัญหาให้ตรงจุดได้อีกด้วย
ด้วยเหตุนี้เอง นักออกแบบที่มี Critical thinking ที่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในบางมุมของสังคมไทย จึงต้องถูกเตรียมถูกปลุกพลังนักออกแบบในตัวอีก level หนึ่งที่ไม่ใช่แค่นักออกแบบผู้ผลิตผลงาน แต่เป็นนักออกแบบกลยุทธ์ ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท สาขาวิชาการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาไม่จำกัดสาขาอาชีพได้เข้ามาเรียน มาท้าทายความสามารถในการแก้ปัญหาสังคมด้วยงานออกแบบ ไม่ว่าคุณจะมีอาชีพหมอพยาบาล คุณก็มาเรียนได้ หรือคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ เป็นวิศวะฯ นักกฎหมาย ช่างภาพ พระสงฆ์ คุณก็มาเรียนได้เช่นกัน เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นนักออกแบบรุ่นใหม่ที่เห็นความสำคัญของงานออกแบบจากประสบการณ์ จากการทำงานมองเห็น ปัญหาจากงานออกแบบที่ไม่ตอบโจทย์หรือยังแก้ไม่ตรงจุด และกลุ่มคนเหล่านี้มีความพร้อมที่จะกลายเป็นนักออกแบบรุ่นใหม่ที่มี Critical thinking มีศักยภาพในการต่อยอดงานออกแบบได้ดี
เตรียมความพร้อมนักออกแบบแก้ปัญหาสังคม
สำหรับสาขาวิชาการออกแบบ (MFA DESIGN) ระดับปริญญาโท วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต อาจารย์ธีรนพ กล่าวว่า “เราเน้นกระบวนการทางความคิด Design Thinking) สร้างนักออกแบบที่จะออกไปแก้ปัญหาได้จริง บางคนอาจไม่ถนัดงานผลิตแต่สามารถคิดหรือดีไซน์ในสิ่งที่เป็นการแก้ปัญหาได้ เน้นการสร้างนักบริหารงานออกแบบที่ไม่เน้นวาดเก่งเขียนเก่ง แต่ทำงานออกแบบที่มีฟังค์ชั่น งานตอบโจทย์สังคมโดยการสอน ในส่วนของผมเน้น Communication Design (Class 2D) ซึ่งจะไม่เน้นให้นักศึกษาพยายามแยกสื่อ (Media) กับงานสื่อสาร (Communication) ว่าเป็นIilustration, Information graphic แต่สอนให้เข้าใจว่า หากเราต้องการสื่อสารเราจะมีวิธีการสื่อสารเล่าเรื่องอย่างไร? ใช้มีเดียตัวไหน? สื่อสารในลักษณะไหน? โดยให้นักศึกษานำองค์ความรู้ตรงนี้ไปประยุกต์ (applied) กับโจทย์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย และจะช่วยกันอภิปรายวิเคราะห์วิจารณ์งานเชิงการสื่อสาร เพื่อให้คนเข้าใจมากขึ้น ซึ่งในการสอนปัจจุบันที่มีทั้งนักศึกษาไทยและต่างชาติมาเรียน ทำให้เกิดการแชร์กันการ Brain storm มีการคิดในเชิง critical thinking มากขึ้น ประกอบกับความเป็น International Standard ของการเรียนการสอนระดับปริญญาโท ด้วยคณาจารย์ที่เป็นนักออกแบบต่างชาติที่มีองค์ความรู้แบบเรียกว่า Professional ทำให้ได้รับความรู้โดยตรง
เราไม่เน้นเตรียมนักศึกษาให้ทำเป็นStep 1 2 3 แต่เราให้นักศึกษาคิดเองคิดเป็นเราเตรียม Possibility ให้เพื่อสร้าง Concept Idea ด้วยตัวเอง ทำให้เกิดความคิดที่ลึกซึ้งมากกว่า อาจจะเรียกว่าไม่เน้นงานสวย เน้นงานที่สร้างสรรค์มาก่อน แก้ปัญหาถูกจุดต่อยอด และสร้างโอกาสงานออกแบบในรูปแบบ Innovativeได้ ตรงนี้เรียกว่า นักออกแบบอย่างแท้จริง ”
นักออกแบบทุกคนอยู่ในฐานะประชาชนและประชากรของโลก ตลาดอาชีพจึงไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในประเทศบ้านเกิด ในพื้นที่อื่นๆ ยังมีความต้องการนักออกแบบและงานออกแบบในโลกอนาคตจำเป็นต้องเกิดจากความเข้าใจในปัญหาที่ซับซ้อน และความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยอาจมีเป้าหมายหรือผู้สร้างแรงบันดาลใจในการออกแบบโลก ฉะนั้น การทำงานสายงานออกแบบ จึงไม่เฉพาะเจาะจงสำหรับคนกลุ่มอาชีพใดอาชีพหนึ่งเพียงเท่านั้น เชื่อหรือไม่ว่า นักออกแบบในโลกแห่งความเป็นจริงไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นจากการเรียนออกแบบเสมอไป คุณอาจจะเป็นหมอ พยาบาล ตำรวจ ทหาร พนักงาน บริษัท ครูอาจารย์ หรือพระสงฆ์ ก็ตาม หากคุณมีคุณลักษณะที่เป็นคนใฝ่รู้ อยากรู้กว้าง มีไอเดียสร้างสรรค์ สามารถทำงานที่จัดการทรัพยากร เข้าใจสถานการณ์และปัญหา ที่สำคัญรู้จักทำงานเป็นทีม คุณอาจเป็นคนหนึ่งที่สามารถทำงานออกแบบได้ และไม่ใช่แค่ออกแบบอะไรก็ได้ แต่คุณสามารถออกแบบและดีไซน์ผลงานบางอย่างเพื่อแก้ปัญหาให้กับสังคมได้ถูกจุดตรงประเด็นได้เช่นกัน”
ติดตามผลงานอาจารย์ธีรนพ หวังศิลปคุณ ได้ที่
เฟซบุ๊ก : TNOP DESIGN , ไอจี : TNOP DESIGN , เวปไซต์ www.tnop.com