xs
xsm
sm
md
lg

“อัศวิน” ออกประกาศฯ ฉ.8 มาตรการคลายล็อก 3 พ.ค.เพิ่มเป็น 10 สถานที่ ไฟเขียวขายเหล้า ขยายเวลาปิดบางสถานที่ชั่วคราว ถึง 31 พ.ค.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผู้ว่าฯ กทม. ลงนามในประกาศกรุงเทพมหานคร ออกมาตรการเพิ่ม 10 สถานที่ ผ่อนคลายล็อกดาวน์ของรัฐบาล เริ่ม 3 พ.ค. ไม่ห้ามขาย เหล้า-เบียร์ สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวฉบับที่ 8 ตามที่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 พร้อมประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ ขยายระยะเวลาออกไปถึงวันที่ 31 พ.ค. ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว และกำหนดมาตรการป้องกันโรคตามคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครได้มีมติ



วันนี้ (2 พ.ค.) พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ลงนามในประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 8) ความว่า ตามที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) อันเป็นโรคติดต่ออันตรายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการ สำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 และได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ในราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 ซึ่งต่อมาได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ออกไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 นั้น

เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออันตราย และผ่อนคลายให้ดำเนินการหรือทำ กิจกรรมบางอย่างได้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการทำกิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต ตลอดจนด้านการออกกำลังกายหรือการดูแลรักษาสุขภาพอันเป็นการช่วยป้องกันโรคได้ทางหนึ่ง ภายใต้มาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด การจัดระบบตามคำแนะนำ เงื่อนไข และเงื่อนเวลา ตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35(1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกอบข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ( ฉบับที่ 5 ) ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 และ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อ กรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 1 /2563 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2563 จึงให้ปิดสถานที่เป็นการ ชั่วคราว และกำหนดมาตรการป้องกันโรค ดังต่อไปนี้

1. ปิดสถานที่
1.1 โรงมหรสพ (โรงภาพยนตร์ โรงละคร โรงมหรสพ)
1.2 สถานบริการ ผับ บาร์ สถานบันเทิง และสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการ
1.3 สวนน้ำ สวนสนุก
1.4 สนามเด็กเล่น เครื่องเล่นสำหรับเด็กในตลาด ตลาดน้ำและตลาดนัด
1.5 สวนสัตว์
1.6 สถานที่เล่นสเก็ต หรือโรลเลอร์เบรด หรือการเล่นอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
1.7 โต๊ะสนุกเกอร์ บิลเลียด
1.8 สถานที่เล่นโบว์ลิ่ง หรือตู้เกม
1.9 ร้านเกม และร้านอินเทอร์เน็ต
1.10 สระว่ายน้ำสาธารณะ หรือกิจการอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
1.11 สนามชนไก่ และสนามซ้อมชนไก่
1.12 สถานที่ออกกำลังกายฟิตเนส
1.13 สถานที่จัดนิทรรศการ ศูนย์แสดงสินค้า และศูนย์ประชุม
1.14 พิพิธภัณฑ์ (พิพิธภัณฑสถาน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น รวมถึงพิพิธภัณฑ์ในลักษณะเดียวกัน)
1.15 ห้องสมุดสาธารณะ ห้องสมุดชุมชน ห้องสมุดชุมชนและบ้านหนังสือ
1.16 สถานรับเลี้ยงเด็ก
1.17 สถานดูแลผู้สูงอายุ
1.18 สนามมวยและโรงเรียนสอนมวย
1.19 โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้ (ยิม)
1.20 สถานที่สักหรือเจาะผิวหนังหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
1.21 สถาบันลีลาศหรือสอนลีลาศ
1.22 สนามม้า
1.23 สถานประกอบกิจการอาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร
1.24 สถานประกบกิจการอาบ อบ นวด
1.25 ศูนย์พระเครื่อง พระบูชา และสนามพระเครื่อง พระบูชา
1.26 สถานที่ให้บริการควบคุมน้ำหนัก คลินิกเสริมความงาม สถานเสริมความง และคลินิกเวชกรรมเสริมความงาม
1.27 สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (ร้านสปา ร้านนวดเพื่อสุขภาพ ร้านนวดเพื่อเสริม ความงาม) สถานประกอบการนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า
1.28 สนามแข่งขันทุกประเภท
1.29 สถานที่แสดงมหรสพ สถานที่มีการแสดงหรือการละเล่นสาธารณะ
1.30 สถานที่ให้บริการห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยง รวมถึงสถานที่อื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน
1.31 ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้เฉพาะซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา สินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ร้านขายปลีกธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ธนาคาร และที่ทําการ หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจเท่านั้น ส่วนแผนกร้านอาหารให้เปิดได้เฉพาะการนำกลับไปบริโภคที่อื่น
1.32 ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผม เปิดได้เฉพาะกิจกรรม สระ ตัด ขอย แต่งผม และต้องไม่มีผู้นั่งรอในร้าน
1.33 สนามกีฬา ให้เปิดได้เฉพาะกีฬาประเภทกลางแจ้ง และตามกติกาสากล ผู้เล่นต้องมีระยะห่างทางสังคมและไม่คลุกคลีกันอยู่แล้ว เช่น เทนนิส ขี่ม้า ยิงปืน ยิงธนู และต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน สโมสร คลับเฮาส์ หรือร้านอาหารในบริเวเนดังกล่าว
1.34 สวนสาธารณะ ลาน พื้นที่กิจกรรมสาธารณะ สถานที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา ลานกีฬา ให้เปิดได้เฉพาะพื้นที่โล่งแจ้งเพื่อการเดิน วิ่ง หรือปั่นจักรยาน หรือการออกกำลังกายด้วยวิธีอื่น เป็นส่วนบุคคล โดยไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน การละเล่น การแสดง

2. มาตรการป้องกันโรค

2.1 ร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ รถเข็น หาบเร่ แผงลอย ร้านค้าปลีก/ค้าส่ง ขนาดย่อม ร้านค้าปลีก/ค้าส่งชุมชน ตลาด ตลาดน้ำและตลาดนัด สนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ สถานที่ ให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ และสถานที่หรือกิจกรรมที่ได้รับยกเว้น ตามข้อ 1.31 ข้อ 1.32 ข้อ 1.33 และข้อ 1.34 ซึ่งได้รับการผ่อนคลายตามข้อ 1 ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ผู้เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่กรุงเทพมหานครกำาหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคใดวิด 19

2.2 สถานที่อื่นนอกเหนือจากประกาศนี้ให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค ตามที่ราชการกำหนด และข้อ 11 ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563

ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจมีความผิดตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อ 2.1 จะถูกสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว

อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหาย อย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 หรือจนกว่าจะมีประกาศ เปลี่ยนแปลง

ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2563









กำลังโหลดความคิดเห็น