xs
xsm
sm
md
lg

เคลียร์แนวทางเยียวยา “ลูกจ้าง-ผู้ประกันตน” จากพิษโควิด-19

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ก.แรงงาน แจงผู้ประกันตน ม.33 รับเงินทดแทนขาดรายได้ กรณีไม่ได้ทำงาน ส่วน ม.39, 40 ใช้สิทธิรับเงินเยียวยา 5 พัน ก.คลัง ได้รวมถึงม.33 ที่จ่ายสมทบไม่ถึง 6 เดือน ย้ำจ่ายเงินสมทบ มี.ค.- พ.ค. นายจ้างเหลือสมทบ 4% ส่วนลูกจ้าง 1% เลื่อนระยะเวลานำส่งออกไป 3 เดือน

วันนี้ (25 มี.ค.) ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ให้ครอบคลุมถึงกรณีโรคระบาด โดยบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.- 31 ส.ค. 2563 สำหรับการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีโควิด-19 โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ไม่ได้ทำงานด้วยเหตุสุดวิสัยที่นายจ้างรับรอง หรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ผู้ที่ไม่ได้ทำงานให้ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ตลอดระยะเวลาที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงาน แต่ไม่เกิน 180 วัน ส่วนรัฐมีคำสั่งให้นายจ้างหยุดประกอบกิจการเพื่อป้องกันความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรค ผู้ประกันตนได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 60 วัน นอกจากนี้ ยังลดอัตราเงินสมทบ โดยในส่วนของนายจ้าง จากเดิมร้อยละ 5 ลดเหลือร้อยละ 4  ส่วนผู้ประกันตนจากเดิมร้อยละ 5 ลดเหลือร้อยละ 1 เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่งวดค่าจ้างเดือน มี.ค.- พ.ค. 2563 ส่วนการนำส่งเงินสมทบได้ขยายเวลาออกไปทั้งในส่วนของนายจ้าง ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 คือ งวด มี.ค.นำส่งภายใน 15 ก.ค. งวด เม.ย. นำส่งภายใน 15 ส.ค. และงวด พ.ค. ในส่งภายใน 15 ก.ย. 

ม.ร.ว.จัตุมงคล กล่าวว่า ขณะเดียวกัน ยังมีมาตรการเยียวยาแก่แรงงานที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม โดยเฉพาะผู้ประกอบอาชีพอิสระ ร้านค้า สถานประกอบการที่หยุดกิจการชั่วคราว ได้จัดตั้งศูนย์บริการจัดหางาน Part-time เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ผู้ที่ต้องการทำงานแบบรายชั่วโมง และบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่สถานประกอบการ นอกจากนี้ จะฝึกอบรมอาชีพเศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือน ให้แก่กลุ่มแรงงานนอกระบบ เพื่อให้สามารถนำทักษะความรู้ไปประกอบอาชีพอิสระได้ ฝึกโดยกรมการจัดหางาน 2,000 คน เมื่อฝึกจบแล้วจะมอบเครื่องมือทำกินให้สามารถนำไปต่อยอด ให้มีอาชีพ มีรายได้ ส่วนกรมพัฒนาฝีมือแรงงานมีเป้าหมายการฝึก 7,800 คน โดยระหว่างฝึกมีเบี้ยเลี้ยงให้วันละ 150 บาท รวมกลุ่มเป้าหมายจำนวนทั้งสิ้น 9,800 คน 

นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า สำหรับกรณีสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน หากผู้ประกันตนลาออกจากเดินมรับเงินว่างงาน จากเดิมร้อยละ 30 ของค่าจ่างไม่เกิน 90 วัน ก็ปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 45 ของค่าจ้างไม่เกิน 90 วัน บังคับใช้ 2 ปี และกรณีถูกเลิกจ้าง ให้สิทธิร้อยละ 70 แต่ไม่เกิน 200 วัน และเพื่อความสะดวกไม่ให้มาแออัดที่สำนักงาน จึงเพิ่มช่องทางขอรับสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพและว่างงาน โดยสามารถส่งทางไปรษณีย์ โทรสาร อีเมล ไลน์ และเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม ส่วนกรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 6 เดือน มาตรา 39 และ 40 ที่เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระนั้น สามารถยื่นคำขอรับเงินทดแทนการเยียวยาจากเหตุโควิด-19 ที่ได้กระทรวงการคลัง 5 พันบาท โดยขอใช้สิทธิได้ที่เว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com และลงทะเบียน ทางก.คลังจะเช็กรายชื่อว่าอยู่ในข่ายผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่จ่ายสมทบไม่ครบ 6 เดือน มาตรา 39 และ 40 หรือไม่ หากใช่ก็จะจ่ายเงินเยียวยา

นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า กรณีสถานประกอบกิจการหยุดกิจการชั่วคราว ตามกฎหมายคุมครองแรงงาน ลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับค่าจ้าง 75% ของค่าจ้าง ระหว่างปิดกิจการชั่วคราว ซึ่งการจะปิดกิจการชั่วคราว นายจ้างก็สามารถพิจารณาความจำเป็นและใช้สิทธิตรงนี้ได้ 

ถ้าลูกจางขอหยุดรู้สึกไม่ปลอดภัย ต้องใช้การพูดคุยกับนายจ้างเรามีความจำเป็นอย่างไร แรงงานสัมพันธ์ หรือใช้สิทธิลาป่วย 30 วันต่อปี พักผ่อนประจำปี ก็สามารถรับเงินค่าจ้าง กรณีหมดสิทธิไปแล้ว ลูกจ้างใช้สิทธิเงินทดแทนกรณีใสทิธิลาป่วยไป ก็บรรเทาความเดือดีร้อนไปได้ แต่อยากให้ใช้ระบบแรงงานสัมพันธ์ กรณีลูกจ้างมีความรับผิดชอบต่อสังคม กรณีไม่มั่นใจไปรับเชื้อหรือแพร่เชื้อ น่าจะพูดคุยกันได้ แต่หากไม่ได้ก็ใช้ในข้อกฎหมาย ถ้านายจ้างสั่งให้หยุดว่าเป็นประโยชน์มากกว่า การให้มาทำงานการรับผลกระทบมากกว่าให้หยุด นายจ้างก็ต้องจ่าย








กำลังโหลดความคิดเห็น