นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมครม. มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ การผ่อนปรนแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าว ปี 2562 - 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-30 มิ.ย. 63 โดยให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่ได้ดำเนินการตามมติครม.เมื่อวันที่ 20 ส.ค.62 ซึ่งนายจ้าง หรือผู้ได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน ยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวกับเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือยื่นผ่านระบบออนไลน์ภายในวันที่ 31 มี.ค.63 และไม่สามารถดำเนินการขอตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป เพื่อการทำงานได้ทันภายในกำหนด รวมถึงผู้ติดตามอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
ทั้งนี้ ไม่ต้องนำ มาตรา 12(10) และ มาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาบังคับใช้แก่คนต่างด้าว โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในมติครม. เมื่อวันที่ 20 ส.ค.62 ดังนี้ กระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง 2522 โดยอนุมัติของครม.ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติ กัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 20 ส.ค.62 เพื่อผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว และผู้ติดตามที่การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร สิ้นสุดอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวได้ต่อไป จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.63 และให้ยกเว้นค่าเปรียบเทียบปรับการอยู่เกินกำหนด รวมถึงการยกเว้นการปฏิบัติตามคำสั่งรมว.มหาดไทย ที่ 1/2558 เรื่องการไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาในราชอาณาจักร สั่ง ณ วันที่ 27 พ.ย.58
ขณะที่กระทรวงแรงงาน อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 14 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องการอนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร เป็นกรณีพิเศษ (ฉบับที่ ...) เพื่อผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่การอนุญาตทำงานสิ้นสุดสามารถทำงานไปพลางก่อนได้จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.63 และใช้บัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว ที่กรมการจัดหางานออกให้ และใบอนุญาตทำงานฉบับเดิมไปพลางก่อนได้ โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว จนกว่าจะไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน
อย่างไรก็ตามหลังสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ ให้หน่วยงานด้านความมั่นคงดำเนินการตรวจสอบปราบปรามจับกุมดำเนินคดี นายจ้าง แรงงานผิดกฎหมาย ที่ลักลอบทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด มีสาระสำคัญ เรื่องการ ผ่อนปรนแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าว ปี 2562 - 2563 มีดังนี้
กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ แรงงานต่างด้าวที่ได้มาดำเนินการตามมติครม.เมื่อวันที่ 20 ส.ค.62 และยื่นบัญชีรายชื่อไว้แล้ว ภายในวันที่ 31 มี.ค.63 แต่ยังไม่สามารถดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนดได้ ขณะที่ผู้ติดตามที่มีหลักฐานการเป็นบุตรของแรงงาน ที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 25 ต.ค.59 หรือ มติครม.เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 61 แล้วแต่กรณี สำหรับระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 63 ถึงวันที่ 30 มิ.ย.63 โดยลักษณะการดำเนินการเป็นการดำเนินการในลักษณะเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยที่แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา ไม่ต้องเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ส่วนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร การอนุญาตให้ทำงาน วิธีดำเนินการ ค่าใช้จ่ายและผู้ติดตามเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมติครม. เมื่อวันที่ 20 ส.ค.62 โดยสถานที่ดำเนินการ คือสถานที่ตั้งของแต่ละหน่วยงาน หรือเป็นไปตามที่กรมการจัดหางานกำหนด
ทั้งนี้ แรงงานต่างด้าวทุกคน ต้องทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิ.ย.63 มิฉะนั้น จะสิ้นสุดการอยู่ในราชอาณาจักร
ทั้งนี้ ไม่ต้องนำ มาตรา 12(10) และ มาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาบังคับใช้แก่คนต่างด้าว โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในมติครม. เมื่อวันที่ 20 ส.ค.62 ดังนี้ กระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง 2522 โดยอนุมัติของครม.ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติ กัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 20 ส.ค.62 เพื่อผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว และผู้ติดตามที่การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร สิ้นสุดอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวได้ต่อไป จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.63 และให้ยกเว้นค่าเปรียบเทียบปรับการอยู่เกินกำหนด รวมถึงการยกเว้นการปฏิบัติตามคำสั่งรมว.มหาดไทย ที่ 1/2558 เรื่องการไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาในราชอาณาจักร สั่ง ณ วันที่ 27 พ.ย.58
ขณะที่กระทรวงแรงงาน อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 14 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องการอนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร เป็นกรณีพิเศษ (ฉบับที่ ...) เพื่อผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่การอนุญาตทำงานสิ้นสุดสามารถทำงานไปพลางก่อนได้จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.63 และใช้บัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว ที่กรมการจัดหางานออกให้ และใบอนุญาตทำงานฉบับเดิมไปพลางก่อนได้ โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว จนกว่าจะไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน
อย่างไรก็ตามหลังสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ ให้หน่วยงานด้านความมั่นคงดำเนินการตรวจสอบปราบปรามจับกุมดำเนินคดี นายจ้าง แรงงานผิดกฎหมาย ที่ลักลอบทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด มีสาระสำคัญ เรื่องการ ผ่อนปรนแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าว ปี 2562 - 2563 มีดังนี้
กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ แรงงานต่างด้าวที่ได้มาดำเนินการตามมติครม.เมื่อวันที่ 20 ส.ค.62 และยื่นบัญชีรายชื่อไว้แล้ว ภายในวันที่ 31 มี.ค.63 แต่ยังไม่สามารถดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนดได้ ขณะที่ผู้ติดตามที่มีหลักฐานการเป็นบุตรของแรงงาน ที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 25 ต.ค.59 หรือ มติครม.เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 61 แล้วแต่กรณี สำหรับระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 63 ถึงวันที่ 30 มิ.ย.63 โดยลักษณะการดำเนินการเป็นการดำเนินการในลักษณะเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยที่แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา ไม่ต้องเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ส่วนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร การอนุญาตให้ทำงาน วิธีดำเนินการ ค่าใช้จ่ายและผู้ติดตามเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมติครม. เมื่อวันที่ 20 ส.ค.62 โดยสถานที่ดำเนินการ คือสถานที่ตั้งของแต่ละหน่วยงาน หรือเป็นไปตามที่กรมการจัดหางานกำหนด
ทั้งนี้ แรงงานต่างด้าวทุกคน ต้องทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิ.ย.63 มิฉะนั้น จะสิ้นสุดการอยู่ในราชอาณาจักร