กรมศิลป์พบ 7 แหล่งโบราณคดีกลุ่มใหญ่ศิลปะสุโขทัย ในดินแดนล้านนาที่ชัดเจนที่สุด
นายสายกลาง จินดาสุ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ เปิดเผยถึงการดำเนินโครงการขุดค้นแหล่งโบราณคดีสบแจ่ม ต.บ้านแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ว่า สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้ทำการขุดแต่งโบราณสถานกลุ่มใหญ่ ซึ่งในระยะหลังนี้กรมศิลปากรแทบไม่ค่อยพบเจอและมีการบูรณะโบราณแบบกลุ่มเช่นนี้มากนัก ดังนั้น การขุดพบครั้งนี้นับว่ามีความสำคัญมาก เพราะเป็นการพบร่องรอยศิลปกรรมสุโขทัยปรากฏชัดเจนที่สุดในดินแดนล้านนา ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ครอบคลุมถึง 7 แหล่ง เริ่มทำการขุดค้นมาตั้งแต่ปี 2561 ล่าสุด ดำเนินการไปแล้ว 5 แหล่ง ได้แก่ 1. วัดป่าแดง 2. วัดพระเจ้าดำ 3. วัดม่วง 4. วัดป่าจี้ 5. วัดช้างค้ำ โดยวัดป่าแดง และ วัดพระเจ้าดำ ได้ทำการขุดค้น ขุดแต่ง และบูรณะเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนวัดช้างค้ำ วัดม่วง และ วัดป่าจี้ ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีแล้วเสร็จยังเหลือการขุดแต่งและบูรณะ ส่วนที่เหลืออีก 2 แหล่ง คือ วัดสบแจ่มเก่า และ วัดขมิ้น คาดว่า จะดำเนินการในปี 2564
สำหรับการขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีสำคัญ โดยเฉพาะเจดีย์วัดพระเจ้าดำ เชื่อได้ว่า พื้นที่บริเวณนี้น่าจะเป็นวัดขนาดใหญ่รูปแบบศิลปกรรมสุโขทัยที่สมบูรณ์แบบ ประกอบด้วย เจดีย์ประธานทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับต้นแบบเจดีย์สมัยสุโขทัยที่สุด นับเป็นการขุดพบเจดีย์ลักษณะนี้เป็นแหล่งที่ 3 ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เช่นเดียวกับอีก 2 แหล่ง ที่พบคือ วัดสวนดอก ซึ่งเป็นเจดีย์ประจำมุม ปัจจุบันถูกก่อครอบไปในสมัยพระครูบาศรีวิชัย และอีกแหล่งคือเจดีย์วัดธาตุกลาง ตรงข้ามประตูเมืองเชียงใหม่ด้านทิศใต้ รวมถึงการพบเจดีย์ที่วัดช้างค้ำ ที่บ่งบอกศิลปกรรมสุโขทัยได้โดดเด่น ถือเป็นเจดีย์ช้างค้ำองค์ที่ 12 ของล้านนา โดยช้างค้ำที่ปรากฏนั้น เป็นช้างที่อยู่รอบเจดีย์ทรงระฆัง มีช้างทั้งหมด 8 เชือก คือเป็นช้างประจำมุม 4 เชือก และประจำด้าน 4 เชือก อีกทั้งยังพบตัวมณฑปท้ายวิหาร ซึ่งนิยมทำกันมากในวัฒนธรรมสุโขทัย ซึ่งในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ รวมถึงวัดป่าจี้ ที่ขุดพบการทำมณฑปท้ายวิหาร ที่พบในเมืองเชียงใหม่ มี 3 ที่คือวัดพระสิงห์ วัดปราสาท และ วัดอุโมงค์
“เรายังไม่ค่อยเจอโบราณในลักษณะกลุ่มแบบนี้ โดยเมื่อมีการขุดพบโบราณสถานในพื้นที่รัศมีเดียวกันในระยะไม่ห่างกันมาก อนาคตสามารถต่อยอดในการเป็นแหล่งเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยว เชื่อมจากถนนทางเข้าตั้งแต่วัดป่าแดง วัดม่วง วัดช้างค้ำ มีวัดสบแจ่มเดิม ซึ่งเป็นวัดที่มีพระจำพรรษา วัดเก่า วัดแจ่ม วัดพระเจ้าดำ ทั้งนี้ คาดการณ์จากประวัติศาสตร์ในพื้นที่ที่พบโบราณสถานศิลปสุโขทัยในดินแดนล้านนา จะมีนัยมากกว่าการได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรรมสุโขทัย ซึ่งพื้นที่นี้ อาจจะมีความเป็นไปได้ว่า เคยมีคนสุโขทัยมาอยู่ในพื้นที่หรือไม่ เพราะลักษณะและองค์ประกอบมีความเป็นศิลปกรรมสุโขทัยมาก” นายสายกลาง กล่าว
นายสายกลาง จินดาสุ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ เปิดเผยถึงการดำเนินโครงการขุดค้นแหล่งโบราณคดีสบแจ่ม ต.บ้านแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ว่า สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้ทำการขุดแต่งโบราณสถานกลุ่มใหญ่ ซึ่งในระยะหลังนี้กรมศิลปากรแทบไม่ค่อยพบเจอและมีการบูรณะโบราณแบบกลุ่มเช่นนี้มากนัก ดังนั้น การขุดพบครั้งนี้นับว่ามีความสำคัญมาก เพราะเป็นการพบร่องรอยศิลปกรรมสุโขทัยปรากฏชัดเจนที่สุดในดินแดนล้านนา ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ครอบคลุมถึง 7 แหล่ง เริ่มทำการขุดค้นมาตั้งแต่ปี 2561 ล่าสุด ดำเนินการไปแล้ว 5 แหล่ง ได้แก่ 1. วัดป่าแดง 2. วัดพระเจ้าดำ 3. วัดม่วง 4. วัดป่าจี้ 5. วัดช้างค้ำ โดยวัดป่าแดง และ วัดพระเจ้าดำ ได้ทำการขุดค้น ขุดแต่ง และบูรณะเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนวัดช้างค้ำ วัดม่วง และ วัดป่าจี้ ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีแล้วเสร็จยังเหลือการขุดแต่งและบูรณะ ส่วนที่เหลืออีก 2 แหล่ง คือ วัดสบแจ่มเก่า และ วัดขมิ้น คาดว่า จะดำเนินการในปี 2564
สำหรับการขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีสำคัญ โดยเฉพาะเจดีย์วัดพระเจ้าดำ เชื่อได้ว่า พื้นที่บริเวณนี้น่าจะเป็นวัดขนาดใหญ่รูปแบบศิลปกรรมสุโขทัยที่สมบูรณ์แบบ ประกอบด้วย เจดีย์ประธานทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับต้นแบบเจดีย์สมัยสุโขทัยที่สุด นับเป็นการขุดพบเจดีย์ลักษณะนี้เป็นแหล่งที่ 3 ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เช่นเดียวกับอีก 2 แหล่ง ที่พบคือ วัดสวนดอก ซึ่งเป็นเจดีย์ประจำมุม ปัจจุบันถูกก่อครอบไปในสมัยพระครูบาศรีวิชัย และอีกแหล่งคือเจดีย์วัดธาตุกลาง ตรงข้ามประตูเมืองเชียงใหม่ด้านทิศใต้ รวมถึงการพบเจดีย์ที่วัดช้างค้ำ ที่บ่งบอกศิลปกรรมสุโขทัยได้โดดเด่น ถือเป็นเจดีย์ช้างค้ำองค์ที่ 12 ของล้านนา โดยช้างค้ำที่ปรากฏนั้น เป็นช้างที่อยู่รอบเจดีย์ทรงระฆัง มีช้างทั้งหมด 8 เชือก คือเป็นช้างประจำมุม 4 เชือก และประจำด้าน 4 เชือก อีกทั้งยังพบตัวมณฑปท้ายวิหาร ซึ่งนิยมทำกันมากในวัฒนธรรมสุโขทัย ซึ่งในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ รวมถึงวัดป่าจี้ ที่ขุดพบการทำมณฑปท้ายวิหาร ที่พบในเมืองเชียงใหม่ มี 3 ที่คือวัดพระสิงห์ วัดปราสาท และ วัดอุโมงค์
“เรายังไม่ค่อยเจอโบราณในลักษณะกลุ่มแบบนี้ โดยเมื่อมีการขุดพบโบราณสถานในพื้นที่รัศมีเดียวกันในระยะไม่ห่างกันมาก อนาคตสามารถต่อยอดในการเป็นแหล่งเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยว เชื่อมจากถนนทางเข้าตั้งแต่วัดป่าแดง วัดม่วง วัดช้างค้ำ มีวัดสบแจ่มเดิม ซึ่งเป็นวัดที่มีพระจำพรรษา วัดเก่า วัดแจ่ม วัดพระเจ้าดำ ทั้งนี้ คาดการณ์จากประวัติศาสตร์ในพื้นที่ที่พบโบราณสถานศิลปสุโขทัยในดินแดนล้านนา จะมีนัยมากกว่าการได้รับอิทธิพลมาจากศิลปกรรมสุโขทัย ซึ่งพื้นที่นี้ อาจจะมีความเป็นไปได้ว่า เคยมีคนสุโขทัยมาอยู่ในพื้นที่หรือไม่ เพราะลักษณะและองค์ประกอบมีความเป็นศิลปกรรมสุโขทัยมาก” นายสายกลาง กล่าว