หลังการประมูลคลื่น 5G ใน 3 ย่านความถี่ ทำให้รัฐมีรายได้กว่า 100,521 ล้านบาท โดยมีคลื่น 2600 MHz เป็นคลื่นที่เหมาะกับการทำ 5G มากที่สุด เพราะมีความเป็นสากลในด้านอุปกรณ์รองรับและเครื่องลูกข่าย ซึ่งทรูประมูลได้คลื่น 5G ที่จะสามารถนำมาพัฒนาโซลูชั่นได้ทันที
กลุ่มทรูได้ทำงานวิจัยด้านเทคโนโลยีร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำกว่า 10 แห่ง เพราะเล็งเห็นว่า 5G ไม่ใช่แค่เรื่องของการอัพโหลดหรือดาวน์โหลด แต่เป็นการพัฒนาโซลูชั่น เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตของคนยุคต่อไป โดย True 5G มีงานวิจัยหลากหลายด้านที่เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค และโดดเด่นกว่าการให้บริการ 4G เดิม
• ตอบสนองไวขึ้น สามารถสั่งงาน และควบคุมสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เรียกได้ว่าแทบจะทันที เนื่องจากมีความหน่วงที่ต่ำ ตอบสนองได้ไวถึง 1 ส่วนพันวินาที ทรูเร่งทำงานวิจัยเรื่องการสั่งงานหุ่นยนต์ระยะไกล ที่ตอบสนองการควบคุมได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการควบคุมโดรน
• การใช้งานสามารถรองรับการรับ-ส่งข้อมูลได้มากกว่า ถ้าเป็น 4G จะสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ราว 7.2 Exabytes ต่อเดือน แต่สำหรับ 5G จะเพิ่มขึ้นราว 7 เท่า หรือ 50 Exabytes ต่อเดือน ซึ่งทรูได้ศึกษาโซลูชั่น เรื่องทางการแพทย์ที่ส่งผลต่อการเอ็กซเรย์ และการแพทย์ระยะไกล
• เร็วแรงกว่าเดิม 5G มีความเร็วมากกว่า 4G ถึง 20 เท่า ซึ่งเร็วมากพอที่จะดูวิดีโอ 8K ออนไลน์แบบ 3 มิติ หรือดาวน์โหลดภาพยนตร์ 3 มิติ ได้ภายใน 6 วินาที ซึ่งตอบโจทย์ความแข็งแกร่งเรื่องบันเทิง Entertainment ที่ทรูมีอยู่แล้ว
• ความถี่ให้เลือกใช้มากกว่า 5G จะสามารถใช้งานคลื่นความถี่ได้จนถึง 30GHz ซึ่งเป็นความถี่ย่านใหม่ที่ไม่เคยมีการใช้งานมาก่อน และทรูมีย่านคลื่นถึง 7 ย่านด้วยกัน ทำให้ครบเครื่องกับอุปกรณ์ จึงมีงานวิจัยเรื่องอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับเทคโนโลยีต่าง ๆ ด้วย
• รองรับการใช้งานที่มากกว่า รองรับจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 10 เท่า จากที่สามารถรับคนได้ราว 1 แสนคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. กลายเป็น 1 ล้านคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. ซึ่งทรู 5G มีงานวิจัยรองรับเรื่อง Urbanization ที่จะตอบสนองความเป็นเมืองในอนาคตของไทย และตอบสนองนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของภาครัฐ
5G & Innovative Solution Center @ทรูแล็บ วิศวะ จุฬาฯ
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือ กลุ่มทรู เดินหน้าความร่วมมือพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม ในโครงการ “TrueLab” พร้อมเปิด TrueLab@Chula Engineering: 5G & Innovative Solution Center พื้นที่สร้างสรรค์นวัตกรรมที่เพียบพร้อมด้วยโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทั้ง 5G, 4G, บรอดแบนด์ และ WiFi รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการทดลอง ทดสอบ ทุนวิจัย/พัฒนา และกิจกรรมเสริมสร้างองค์ความรู้ เสริมศักยภาพให้คณาจารย์และนิสิตในการค้นคว้า สร้างนวัตกรรมและผลงานวิจัย ตลอดจนพัฒนาและสร้างสรรค์รูปแบบการใช้งานต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยี 5G ที่สามารถพัฒนาต่อยอดให้สามารถใช้งานได้จริง เพื่อประโยชน์สาธารณะและการพัฒนาสังคมไทยในยุคดิจิทัล
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างบัณฑิตที่จะเป็นนวัตกรช่วยปรับเปลี่ยนสังคมไทยให้สามารถสร้างมูลค่าและคุณค่าให้แก่ประเทศ ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์หลักของจุฬาฯ คือ การบ่มเพาะและผลักดันนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการจริง ทั้งเชิงสังคมและเทคโนโลยี โดยความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน นับเป็นหนึ่งในแนวทางที่จะช่วยพัฒนาวิชาการของมหาวิทยาลัย ให้สามารถสร้างคน สร้างนวัตกรรมและผลการวิจัยที่เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะในวงกว้างได้ ความร่วมมือกับกลุ่มทรูในการดำเนินโครงการ TrueLab ในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และเพิ่มศักยภาพของคณาจารย์และนิสิตจุฬาฯ ทั้งยังสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมและต่อยอดการนำผลการวิจัยที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ อุตสาหกรรม และประเทศ สอดคล้องกับนโยบายด้านความเป็นเลิศทางวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
นอกจากนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการปล่อยสัญญาณ 5G ซึ่งเป็นการทดลองให้บริการเพื่อศึกษาวิจัยในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่เวลา 09.55 น. เพื่อให้นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป สัมผัสประสบการณ์พิเศษจากเทคโนโลยี 5G และพร้อมจะขยายไปยังพื้นที่ย่านสยามสแควร์ ตั้งแต่ช่วงกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
งานวิจัย 5G กับเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เพื่อศึกษา ทดสอบ วิจัยและร่วมพัฒนาเทคโนโลยี 5G รวมถึงการดำเนินการทดสอบรูปแบบใช้งาน (Use Case) ทั้งด้าน 5G Lab, Health Care, Smart City และ Agriculture ร่วมกัน พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการติดตั้งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย (WiFiby TrueMove H) ครอบคลุมทั่วพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์ นิเวศน์นันทจิต อธิการบดี (กลาง) ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ พงษ์รักษ์ศรีบัณฑิตมงคล รองอธิการบดี (ที่ 3 จากขวา) รองศาสตราจารย์ ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร รองอธิการบดี (ที่ 2 จากขวา) และรองศาสตราจารย์ ดร.รัฐสิทธิ์ สุขะหุต ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ (ขวาสุด) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น โดย นายพิรุณ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้อำนวยการด้านภาครัฐและภาคการศึกษา (ที่ 3 จากซ้าย) นายประเสริฐ จันทร์ประดับฟ้า ผู้จัดการทั่วไป ด้านการบริหารจัดการระดับภูมิภาคภาคเหนือตอนบน (ที่ 2 จากซ้าย) และนายธวัชชัย ฤกษ์สำราญ รองผู้อำนวยการธุรกิจโมบายล์ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ 5G (ซ้ายสุด) เพื่อศึกษา ทดสอบ วิจัยและร่วมพัฒนาเทคโนโลยี 5G รวมถึงการดำเนินการทดสอบรูปแบบใช้งาน (Use Case) ทั้งด้าน 5G Lab, Health Care, Smart City และ Agriculture ร่วมกัน
โดยกลุ่มทรูจะสนับสนุนทั้งทางด้านเทคโนโลยี อุปกรณ์เครื่องมือ และความเชี่ยวชาญของบุคลากร รวมทั้งการสนับสนุนทุนวิจัยให้แก่นักวิจัย และนักศึกษา เพื่อนำผลการทดสอบวิจัย 5G ร่วมสร้างประโยชน์ให้กับทั้งภาคธุรกิจและประชาชนชาวไทย สานพลังขับเคลื่อนประเทศไทยเข้าสู่ 5G ซึ่งการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดความร่วมมือระหว่างกลุ่มทรูกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นพันธมิตรภาคการศึกษาของกลุ่มทรูมาอย่างยาวนาน โดยเมื่อปี 2558 ได้ร่วมกันจัดตั้ง “True LAB @ CMU” ที่ชั้น 1 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ของอาจารย์ นักวิจัย บุคลากร ตลอดจนนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่มาจนถึงปัจจุบัน
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กับ ระบบสมาร์ทมิเตอร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้ร่วมมือกับ True Corporation เปิดตัว True Lab @ Ladkrabang สำหรับใช้เป็นศูนย์กลางในการวิจัยค้นคว้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ร่วมกัน ระหว่างภาคธุรกิจและการศึกษา เพื่อสร้างงานวิจัยที่นำไปใช้งานได้ในเชิงธุรกิจ และมอบทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาไปด้วยพร้อมกัน โดยได้มีการวิจัยสมาร์ทมิเตอร์ เพื่อตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้า โดยไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ออกไปจดบันทึก แต่สามารถอ่านมิเตอร์ได้ทุก 15 นาที โดยเป็นข้อมูลแบบทันเวลา เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการข้อมูล ซึ่งในอนาคตอันใกล้ การผลิตพลังงานจะมีความสำคัญมาก รวมถึงการผลิตไฟฟ้าในระดับครัวเรือน ทำให้การใช้เทคโนโลยี 5G กับการทำ Smartmeter จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ และต่อยอดไปถึงเรื่องของ Smart Grid ที่ให้การผลิตไฟฟ้าเป็นไปได้เหมาะสม รวมถึงการผลิตไฟใช้เองในบ้าน เช่น Solar Rooftop เป็นต้น
กลุ่มทรู –ม.ขอนแก่น–พันธมิตรภาคการเกษตร ผสานพลังนำศักยภาพทรู 5G ยกระดับโลกแห่งการเกษตรเพื่อคนไทย โดยพัฒนาผ่านโครงการทรูแลป งานวิจัย สู่นวัตกรรม 5G
กลุ่มทรูมุ่งมั่นพัฒนาเครือข่าย 5G ที่ดีที่สุดเพื่อคนไทย โดยนายธวัชชัย ฤกษ์สำราญ (ที่ 4 จากซ้าย) เลขานุการคณะทำงานและกรรมการยุทธศาสตร์ 5G บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ประกาศความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ผศ.ดร. เด่นพงษ์ สุดภักดี (ที่ 5 จากซ้าย) รองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนามหาวิทยาลัยดิจิทัล และรศ.ดร.ดรุณี โชดิษฐยางกูร (ที่ 5 จากขวา) คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วยพันธมิตรภาคการเกษตรชั้นนำ จากซีพีเอฟ โดยนายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ (ที่ 4 จากขวา) รองกรรมการผู้จัดการบริหารธุรกิจอาหารสัตว์บก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด โดยนายรักชาติ อรุณาทิตย์ (ที่ 2 จากขวา) รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส และบริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด โดยนายอำนาจ บุตรทองคำวงษ์ (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้จัดการส่วนคูโบต้าโซลูชั่น นำเทคโนโลยี 5G และนวัตกรรมร่วมยกระดับคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตรไทย และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก ทั้งภาคการเกษตรและปศุสัตว์ ภายใต้ ‘True 5G World of Agriculture’
“ทรู” จับมือ “ม.อ.” โชว์เคส 5G เพื่อการแพทย์-ซีเคียวริตี้
กลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) และ ZTE พันธมิตรผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี 5G จัดงาน True – PSU Showcase ณ ลานหน้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายในงานมีการเสวนาการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ทั้งยังมีการจำลองสถานการณ์เสมือนจริงครั้งแรกในประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยี 5G ในด้านการแพทย์และการรักษาความปลอดภัย
ในการทดสอบศักยภาพของ 5G ได้จำลองสถานการณ์เสมือนจริง จากการเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน มีผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยมีการใช้โดรน 5G บินสำรวจและถ่ายวิดีโอรายงานสดมายังศูนย์ปฎิบัติการแบบเรียลไทม์ ในขณะเดียวกันก็มี Smart Ambulance รถพยาบาลฉุกเฉินที่เข้าถึงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นภายในรถ ตามคำแนะนำของคุณหมอที่อยู่ในโรงพยาบาล พร้อมส่งข้อมูลผู้ประสบภัยขึ้น Health Cloud ทั้งนี้เพื่อแสดงถึงศักยภาพด้านความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ และความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลากหลายของเทคโนโลยี 5G ที่สามารถใช้งานได้จริง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา กับการทดสอบ 5G ร่วมกับกระทรวง DE
พื้นที่อีอีซี ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่จะเติบโตอีกมาก ทำให้กระทรวงดีอี และดีป้า ดึงเอกชนมาทำ MOU ในความร่วมมือทดสอบการใช้งาน 5G Testbed ในพื้นที่อีอีซี และยังมีความร่วมมือในด้านงานวิจัยกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา ซึ่งกลุ่มทรูให้ความสนใจเรื่องโดรน เป็นอย่างยิ่ง และได้จัดแสดงโดรนส่งของ ซึ่งควบคุมจากรีโมทระยะไกลผ่านเครือข่าย 5G ด้วยคุณสมบัติของเครือข่ายที่มีความหน่วงต่ำ (Low Latency) ทำให้สามารถควบคุมการหลบหลีกสิ่งกีดขวาง พร้อมทั้งส่งภาพจากกล้องบนตัวโดรนกลับมายังผู้บังคับได้ตามเวลาจริง ตอบโจทย์อุตสาหกรรมบริการในอนาคต โดยบริษัท Fling ซึ่งเป็น Startup ที่ ทรู อินคิวบ์ ซึ่งเป็น VC ในกลุ่มทรูมาลงทุน ซึ่งเป็นการมองเห็นโอกาสด้าน Drone Delivery การขนส่งในเขตอีอีซีในอนาคต
ด้วยงานวิจัยที่เดินหน้าไปก่อนแล้วจึงคาดว่าบริการ 5G ในรูปแบบต่าง ๆ จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแน่นอนรองรับความต้องการของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ เพื่อยกระดับคุณภาพการเชื่อมโยงในทุกอุปกรณ์ด้วยอินเทอร์เน็ต (หรือ Internet of Things) ไปสู่อีกระดับที่รวดเร็วกว่า โดยประเทศที่มีการใช้งาน 5G ไปแล้ว อาทิ อเมริกาและเกาหลีใต้ ซึ่งในเกาหลีใต้มีผู้บริโภคเปลี่ยนมาใช้งานในสัญญาณ 5G ประมาณ 1 ล้านคน เพียง 69 วัน ทำให้ 5G เป็นเรื่องของวันนี้ ที่ทุกคนต้องจับตามอง
กลุ่มทรูได้ทำงานวิจัยด้านเทคโนโลยีร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำกว่า 10 แห่ง เพราะเล็งเห็นว่า 5G ไม่ใช่แค่เรื่องของการอัพโหลดหรือดาวน์โหลด แต่เป็นการพัฒนาโซลูชั่น เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตของคนยุคต่อไป โดย True 5G มีงานวิจัยหลากหลายด้านที่เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค และโดดเด่นกว่าการให้บริการ 4G เดิม
• ตอบสนองไวขึ้น สามารถสั่งงาน และควบคุมสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เรียกได้ว่าแทบจะทันที เนื่องจากมีความหน่วงที่ต่ำ ตอบสนองได้ไวถึง 1 ส่วนพันวินาที ทรูเร่งทำงานวิจัยเรื่องการสั่งงานหุ่นยนต์ระยะไกล ที่ตอบสนองการควบคุมได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการควบคุมโดรน
• การใช้งานสามารถรองรับการรับ-ส่งข้อมูลได้มากกว่า ถ้าเป็น 4G จะสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ราว 7.2 Exabytes ต่อเดือน แต่สำหรับ 5G จะเพิ่มขึ้นราว 7 เท่า หรือ 50 Exabytes ต่อเดือน ซึ่งทรูได้ศึกษาโซลูชั่น เรื่องทางการแพทย์ที่ส่งผลต่อการเอ็กซเรย์ และการแพทย์ระยะไกล
• เร็วแรงกว่าเดิม 5G มีความเร็วมากกว่า 4G ถึง 20 เท่า ซึ่งเร็วมากพอที่จะดูวิดีโอ 8K ออนไลน์แบบ 3 มิติ หรือดาวน์โหลดภาพยนตร์ 3 มิติ ได้ภายใน 6 วินาที ซึ่งตอบโจทย์ความแข็งแกร่งเรื่องบันเทิง Entertainment ที่ทรูมีอยู่แล้ว
• ความถี่ให้เลือกใช้มากกว่า 5G จะสามารถใช้งานคลื่นความถี่ได้จนถึง 30GHz ซึ่งเป็นความถี่ย่านใหม่ที่ไม่เคยมีการใช้งานมาก่อน และทรูมีย่านคลื่นถึง 7 ย่านด้วยกัน ทำให้ครบเครื่องกับอุปกรณ์ จึงมีงานวิจัยเรื่องอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับเทคโนโลยีต่าง ๆ ด้วย
• รองรับการใช้งานที่มากกว่า รองรับจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 10 เท่า จากที่สามารถรับคนได้ราว 1 แสนคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. กลายเป็น 1 ล้านคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. ซึ่งทรู 5G มีงานวิจัยรองรับเรื่อง Urbanization ที่จะตอบสนองความเป็นเมืองในอนาคตของไทย และตอบสนองนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของภาครัฐ
5G & Innovative Solution Center @ทรูแล็บ วิศวะ จุฬาฯ
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือ กลุ่มทรู เดินหน้าความร่วมมือพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม ในโครงการ “TrueLab” พร้อมเปิด TrueLab@Chula Engineering: 5G & Innovative Solution Center พื้นที่สร้างสรรค์นวัตกรรมที่เพียบพร้อมด้วยโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทั้ง 5G, 4G, บรอดแบนด์ และ WiFi รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการทดลอง ทดสอบ ทุนวิจัย/พัฒนา และกิจกรรมเสริมสร้างองค์ความรู้ เสริมศักยภาพให้คณาจารย์และนิสิตในการค้นคว้า สร้างนวัตกรรมและผลงานวิจัย ตลอดจนพัฒนาและสร้างสรรค์รูปแบบการใช้งานต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยี 5G ที่สามารถพัฒนาต่อยอดให้สามารถใช้งานได้จริง เพื่อประโยชน์สาธารณะและการพัฒนาสังคมไทยในยุคดิจิทัล
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างบัณฑิตที่จะเป็นนวัตกรช่วยปรับเปลี่ยนสังคมไทยให้สามารถสร้างมูลค่าและคุณค่าให้แก่ประเทศ ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์หลักของจุฬาฯ คือ การบ่มเพาะและผลักดันนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการจริง ทั้งเชิงสังคมและเทคโนโลยี โดยความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน นับเป็นหนึ่งในแนวทางที่จะช่วยพัฒนาวิชาการของมหาวิทยาลัย ให้สามารถสร้างคน สร้างนวัตกรรมและผลการวิจัยที่เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะในวงกว้างได้ ความร่วมมือกับกลุ่มทรูในการดำเนินโครงการ TrueLab ในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และเพิ่มศักยภาพของคณาจารย์และนิสิตจุฬาฯ ทั้งยังสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมและต่อยอดการนำผลการวิจัยที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ อุตสาหกรรม และประเทศ สอดคล้องกับนโยบายด้านความเป็นเลิศทางวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
นอกจากนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการปล่อยสัญญาณ 5G ซึ่งเป็นการทดลองให้บริการเพื่อศึกษาวิจัยในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่เวลา 09.55 น. เพื่อให้นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป สัมผัสประสบการณ์พิเศษจากเทคโนโลยี 5G และพร้อมจะขยายไปยังพื้นที่ย่านสยามสแควร์ ตั้งแต่ช่วงกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
งานวิจัย 5G กับเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เพื่อศึกษา ทดสอบ วิจัยและร่วมพัฒนาเทคโนโลยี 5G รวมถึงการดำเนินการทดสอบรูปแบบใช้งาน (Use Case) ทั้งด้าน 5G Lab, Health Care, Smart City และ Agriculture ร่วมกัน พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการติดตั้งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย (WiFiby TrueMove H) ครอบคลุมทั่วพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์ นิเวศน์นันทจิต อธิการบดี (กลาง) ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ พงษ์รักษ์ศรีบัณฑิตมงคล รองอธิการบดี (ที่ 3 จากขวา) รองศาสตราจารย์ ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร รองอธิการบดี (ที่ 2 จากขวา) และรองศาสตราจารย์ ดร.รัฐสิทธิ์ สุขะหุต ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ (ขวาสุด) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น โดย นายพิรุณ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้อำนวยการด้านภาครัฐและภาคการศึกษา (ที่ 3 จากซ้าย) นายประเสริฐ จันทร์ประดับฟ้า ผู้จัดการทั่วไป ด้านการบริหารจัดการระดับภูมิภาคภาคเหนือตอนบน (ที่ 2 จากซ้าย) และนายธวัชชัย ฤกษ์สำราญ รองผู้อำนวยการธุรกิจโมบายล์ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ 5G (ซ้ายสุด) เพื่อศึกษา ทดสอบ วิจัยและร่วมพัฒนาเทคโนโลยี 5G รวมถึงการดำเนินการทดสอบรูปแบบใช้งาน (Use Case) ทั้งด้าน 5G Lab, Health Care, Smart City และ Agriculture ร่วมกัน
โดยกลุ่มทรูจะสนับสนุนทั้งทางด้านเทคโนโลยี อุปกรณ์เครื่องมือ และความเชี่ยวชาญของบุคลากร รวมทั้งการสนับสนุนทุนวิจัยให้แก่นักวิจัย และนักศึกษา เพื่อนำผลการทดสอบวิจัย 5G ร่วมสร้างประโยชน์ให้กับทั้งภาคธุรกิจและประชาชนชาวไทย สานพลังขับเคลื่อนประเทศไทยเข้าสู่ 5G ซึ่งการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดความร่วมมือระหว่างกลุ่มทรูกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นพันธมิตรภาคการศึกษาของกลุ่มทรูมาอย่างยาวนาน โดยเมื่อปี 2558 ได้ร่วมกันจัดตั้ง “True LAB @ CMU” ที่ชั้น 1 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ของอาจารย์ นักวิจัย บุคลากร ตลอดจนนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่มาจนถึงปัจจุบัน
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กับ ระบบสมาร์ทมิเตอร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้ร่วมมือกับ True Corporation เปิดตัว True Lab @ Ladkrabang สำหรับใช้เป็นศูนย์กลางในการวิจัยค้นคว้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ร่วมกัน ระหว่างภาคธุรกิจและการศึกษา เพื่อสร้างงานวิจัยที่นำไปใช้งานได้ในเชิงธุรกิจ และมอบทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาไปด้วยพร้อมกัน โดยได้มีการวิจัยสมาร์ทมิเตอร์ เพื่อตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้า โดยไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ออกไปจดบันทึก แต่สามารถอ่านมิเตอร์ได้ทุก 15 นาที โดยเป็นข้อมูลแบบทันเวลา เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการข้อมูล ซึ่งในอนาคตอันใกล้ การผลิตพลังงานจะมีความสำคัญมาก รวมถึงการผลิตไฟฟ้าในระดับครัวเรือน ทำให้การใช้เทคโนโลยี 5G กับการทำ Smartmeter จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ และต่อยอดไปถึงเรื่องของ Smart Grid ที่ให้การผลิตไฟฟ้าเป็นไปได้เหมาะสม รวมถึงการผลิตไฟใช้เองในบ้าน เช่น Solar Rooftop เป็นต้น
กลุ่มทรู –ม.ขอนแก่น–พันธมิตรภาคการเกษตร ผสานพลังนำศักยภาพทรู 5G ยกระดับโลกแห่งการเกษตรเพื่อคนไทย โดยพัฒนาผ่านโครงการทรูแลป งานวิจัย สู่นวัตกรรม 5G
กลุ่มทรูมุ่งมั่นพัฒนาเครือข่าย 5G ที่ดีที่สุดเพื่อคนไทย โดยนายธวัชชัย ฤกษ์สำราญ (ที่ 4 จากซ้าย) เลขานุการคณะทำงานและกรรมการยุทธศาสตร์ 5G บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ประกาศความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ผศ.ดร. เด่นพงษ์ สุดภักดี (ที่ 5 จากซ้าย) รองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนามหาวิทยาลัยดิจิทัล และรศ.ดร.ดรุณี โชดิษฐยางกูร (ที่ 5 จากขวา) คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วยพันธมิตรภาคการเกษตรชั้นนำ จากซีพีเอฟ โดยนายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ (ที่ 4 จากขวา) รองกรรมการผู้จัดการบริหารธุรกิจอาหารสัตว์บก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด โดยนายรักชาติ อรุณาทิตย์ (ที่ 2 จากขวา) รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส และบริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด โดยนายอำนาจ บุตรทองคำวงษ์ (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้จัดการส่วนคูโบต้าโซลูชั่น นำเทคโนโลยี 5G และนวัตกรรมร่วมยกระดับคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตรไทย และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก ทั้งภาคการเกษตรและปศุสัตว์ ภายใต้ ‘True 5G World of Agriculture’
“ทรู” จับมือ “ม.อ.” โชว์เคส 5G เพื่อการแพทย์-ซีเคียวริตี้
กลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) และ ZTE พันธมิตรผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี 5G จัดงาน True – PSU Showcase ณ ลานหน้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายในงานมีการเสวนาการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ทั้งยังมีการจำลองสถานการณ์เสมือนจริงครั้งแรกในประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยี 5G ในด้านการแพทย์และการรักษาความปลอดภัย
ในการทดสอบศักยภาพของ 5G ได้จำลองสถานการณ์เสมือนจริง จากการเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน มีผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยมีการใช้โดรน 5G บินสำรวจและถ่ายวิดีโอรายงานสดมายังศูนย์ปฎิบัติการแบบเรียลไทม์ ในขณะเดียวกันก็มี Smart Ambulance รถพยาบาลฉุกเฉินที่เข้าถึงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นภายในรถ ตามคำแนะนำของคุณหมอที่อยู่ในโรงพยาบาล พร้อมส่งข้อมูลผู้ประสบภัยขึ้น Health Cloud ทั้งนี้เพื่อแสดงถึงศักยภาพด้านความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ และความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลากหลายของเทคโนโลยี 5G ที่สามารถใช้งานได้จริง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา กับการทดสอบ 5G ร่วมกับกระทรวง DE
พื้นที่อีอีซี ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่จะเติบโตอีกมาก ทำให้กระทรวงดีอี และดีป้า ดึงเอกชนมาทำ MOU ในความร่วมมือทดสอบการใช้งาน 5G Testbed ในพื้นที่อีอีซี และยังมีความร่วมมือในด้านงานวิจัยกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา ซึ่งกลุ่มทรูให้ความสนใจเรื่องโดรน เป็นอย่างยิ่ง และได้จัดแสดงโดรนส่งของ ซึ่งควบคุมจากรีโมทระยะไกลผ่านเครือข่าย 5G ด้วยคุณสมบัติของเครือข่ายที่มีความหน่วงต่ำ (Low Latency) ทำให้สามารถควบคุมการหลบหลีกสิ่งกีดขวาง พร้อมทั้งส่งภาพจากกล้องบนตัวโดรนกลับมายังผู้บังคับได้ตามเวลาจริง ตอบโจทย์อุตสาหกรรมบริการในอนาคต โดยบริษัท Fling ซึ่งเป็น Startup ที่ ทรู อินคิวบ์ ซึ่งเป็น VC ในกลุ่มทรูมาลงทุน ซึ่งเป็นการมองเห็นโอกาสด้าน Drone Delivery การขนส่งในเขตอีอีซีในอนาคต
ด้วยงานวิจัยที่เดินหน้าไปก่อนแล้วจึงคาดว่าบริการ 5G ในรูปแบบต่าง ๆ จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแน่นอนรองรับความต้องการของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ เพื่อยกระดับคุณภาพการเชื่อมโยงในทุกอุปกรณ์ด้วยอินเทอร์เน็ต (หรือ Internet of Things) ไปสู่อีกระดับที่รวดเร็วกว่า โดยประเทศที่มีการใช้งาน 5G ไปแล้ว อาทิ อเมริกาและเกาหลีใต้ ซึ่งในเกาหลีใต้มีผู้บริโภคเปลี่ยนมาใช้งานในสัญญาณ 5G ประมาณ 1 ล้านคน เพียง 69 วัน ทำให้ 5G เป็นเรื่องของวันนี้ ที่ทุกคนต้องจับตามอง