xs
xsm
sm
md
lg

สสส.ชู "ตรัง" ใช้มิติศาสนา ช่วยคนมุสลิมลดปัจจัยเสี่ยง บุหรี่-เหล้า-อุบัติเหตุ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สสส.เกินหน้าโครงการพหุวัฒนธรรม ส่งเสริมสุขภาวะคนใต้ ชู "ตรัง" ขับเคลื่อนมัสยิดปลอดบุหรี่ต้นแบบ-ละหมาดสร้างปัญญา ชวนคนมุสลิม เน้นเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง บุหรี่ เหล้า ห่างไกลอุบัติเหตุ

วันนี้ (19 ธ.ค.) น.ส.ทัศนีย์ ศิลปบุตร คณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังลงพื้นที่มัสยิดนูรุลยากีนบ้านดุหุน และมัสยิดบ้านทุ่งขี้เหล็ก อ.สิเกา จ.ตรัง ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นแบบบูรณาการแก้ปัญหาประเด็นบุหรี่ เหล้า และอุบัติเหตุ ว่า การดำเนินการดังกล่าวอยู่ภายใต้ “โครงการพหุวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาวะคนใต้” ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 โดยเฉพาะเรื่องของการละหมาดสร้างปัญญา ในการดึงวัยรุ่นในพื้นที่เข้าร่วมการละหมาดในช่วงคืนปีใหม่ ทำให้ลดอุบัติเหตุเจ็บตายในคืนปีใหม่ได้อย่างมาก ซึ่งที่ผ่านมาวัยรุ่นมีการเจ็บตายสูง จึงมีการขยายบูรณาการแก้ปัญหาปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ คือ บุหรี่และเหล้าด้วย โดยใช้ผู้นำทางศาสนามาร่วมขับเคลื่อน จึงมีการละหมาดเพื่อสน้างสติ สมาธิในการใช้ชีวิต และมีผู้นำทางศาสนามาเทศนาย้ำเตือนเรื่องอันตรายจากบุหรี่ เหล้า และเป็นต้นแบบในการปฏิบัติตัวด้วย ทำให้เกิดเรื่องของมัสยิดปลอดบุหรี่ต้นแบบ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินว่า จะสามารถช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่ลงได้มากน้อยแค่ไหน เพราะภาคใต้มีอัตราการสูบบุหรี่สูงที่สุดในประเทศ

"สถานการณ์การบริโภคยาสูบของประชากรไทย พบว่ามีอัตราการสูบบุหรี่ลดลงอย่างต่อเนื่องโดยผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2560 มีประชากรสูบบุหรี่ทั้งสิ้น 10.7 ล้านคน หรือร้อยละ 19.1 เป็นเพศชายร้อยละ 37.7 และเพศหญิงร้อยละ 1.7 เพศชายมีอัตราการสูบบุหรี่สูงกว่าเพศหญิง 22 เท่า เมื่อพิจารณาตามสภาพทางภูมิศาสตร์ภาคใต้มีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุดร้อยละ 24.5 รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 21.1ภาคกลาง 17.6 ภาคเหนือ 17.1และกรุงเทพฯ 15.4 ขณะที่จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคยาสูบในกลุ่มมุสลิมไทย พบว่ามีอัตราการบริโภคยาสูบและค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคยาสูบสูงถึงปีละ 1,272 บาท / ครัวเรือน สูงกว่าค่าเฉลี่ยประชากรทั่วไปร้อยละ 15 หรือปีละ 1,092 บาท/ครัวเรือน จากสถานการณ์ดังกล่าว สสส. ตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมการบริโภคยาสูบในภาคใต้ จึงได้ร่วมกับ เครือข่ายคนเห็นคน มูลนิธิเครือข่ายพลังสังคม และเครือข่ายงดเหล้าจังหวัดตรัง จัดโครงการ “พหุวัฒนธรรมร่วมลดปัจจัยเสี่ยงหลักต่อสุขภาพและสังคมเพื่อสุขภาวะคนใต้” เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและสร้างเสริมสุขภาวะในกลุ่มชาวมุสลิม รวมถคงร่วมมือกัยศาสนาอื่นๆ คือ พุทธ และคริสต์ ในการมาร่วมลดปัจจัยเสี่ยงด้วย โดยใช้มิติทางศาสนา" น.ส.ทัศนีย์ กล่าว












กำลังโหลดความคิดเห็น