xs
xsm
sm
md
lg

อาจารย์ ม.เกษตรฯ ไขปมคนด่า “TCAS-ทปอ.” ทั้งที่ระบบไม่ต่างจากปีก่อนมาก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า ภาพจากเว็บไซต์สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์
อาจารย์ ม.เกษตรฯ ชี้ TCAS ไม่ต่างจากระบบเข้ามหาวิทยาลัยปีก่อน แต่ TCAS รอบ 3 มีปัญหา เพราะใช้ TCAS รอบ 4 ที่จะแก้ปัญหากั๊กที่นั่งอัตโนมัติมาประเมิน TCAS รอบ 3 พ่วงมีการตั้งชื่อและเรียงลำดับถึง 5 รอบ ทำให้ดูสับสนและซับซ้อน ทั้งที่ไม่ต่างจากเดิม คือ รอบโควตา ความสามารถพิเศษ รับตรง และแอดมิชชัน

รศ.ดร.พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ชื่อ Puntipi Piamsa-nga ถึงกรณีระบบ TCAS ส่งผลให้เกิดการกั๊กที่นั่งจากเด็กคะแนนสูง โดยเฉพาะ TCAS ในรอบ 3 มีใจความโดยสรุป ว่า เมื่อก่อนก็เกิดการกั๊กที่มหาวิทยาลัยที่ไม่ยอดฮิตก็เสียเปรียบ การออกแบบระบบในปีนี้ก็พยายามลอกกระบวนการเดิม คงเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน แล้วทำระบบกลางอันเดียว ผลออกมาก็มีการกั๊กเหมือนปีที่แล้วตามคาด แต่ทำไมคนถึงโกรธเคืองที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ก็เพราะ 1. คนมีประสบการณ์คิดว่า TCAS รอบ 3 จะแก้ปัญหาเรื่องกั๊กอัตโนมัติ ซึ่งไม่ใช่ เพราะจริงๆ เป็น TCAS รอบ 4 แต่ผู้สมัครและผู้ปกครองมองว่าไม่ต่างกัน จึงใช้ประสบการณ์ของแอดมิชชั่น ซึ่งเป็น TCAS รอบ 4 ของปีนี้มาประเมิน TCAS รอบ 3

2. TCAS มีการเรียกชื่อและตัวเลขเรียงลำดับ รอบ 1 - 5 ทำให้คนมองว่ามีความซับซ้อน ทั้งที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ TCAS ทุกขั้น เพราะรอบ 1 - 2 เป็นรอบความสามารถพิเศษ กีฬา และแพทย์ ก็ไม่เกี่ยวกับคนส่วนใหญ่ใดๆ ทั้งนี เมื่อก่อนคนส่วนใหญ่รับตรงแล้วแอดมิชชัน ซึ่งปีนี้ก็เหมือนปีที่แล้วคือ TCAS3 และ TCAS4 แถมเรียกชื่อทีต้องแปลว่ามันคืออะไร ก็สร้างความสับสนมากกว่า

3. ผู้ใช้ระบบแล้วมีปัญหาไม่ได้มีมาก คนเรียนเก่งจัดไม่มีปัญหา เพราะตรงไปตรงมา ส่วนเด็กที่มีคะแนนก้ำกึ่งที่มีแนวโน้มจะเกิดบั๊กสูง ยิ่งถ้าให้สิทธิ์ตัดสินใจด้วย ก็จะยิ่งสร้างเงื่อนไขมากมาย ดังนั้น จึงวิเคราะห์ความเสี่ยงจากมุมมองของผู้ใช้ให้ดี และ 4. TCAS คล้ายของเก่า แถมดีกว่าเดิมด้วยเรื่องไม่ต้องวิ่งรอกสมัคร อันนี้ต้องดูก่อนว่าใครวิ่งรอกสมัครบ้าง คนยอมจ่ายเงินจองสิทธิ์มันเหมือนเป็นการซื้อประกัน ไม่มีใครชอบจ่ายเงินประกันแล้วไม่ได้เคลม แต่ก็พอใจจะจ่ายตามกำลัง คนยอมสละสิทธิ์ 3/1 เพื่อไปเสี่ยงเอา 3/2 ก็เป็นการเสี่ยงของนักเรียนเหมือนกัน

ตราบใดที่มีสิทธิ์ตัดสินใจ ย่อมมีความเสี่ยงเสมอ สุดท้าย ว่าผู้คนเข้าใจระบบดี ออกแบบระบบดี แต่ไม่มีใครเข้าใจนักเรียนและผู้ปกครองสักเท่าไร ระบบที่เคยดูเหมือนดี จึงลงเอยแบบนี้


กำลังโหลดความคิดเห็น