xs
xsm
sm
md
lg

ม.อุบลฯ หนุนพัฒนา ร.ร.ภาคอีสานตอนล่าง เน้น “เรียนให้เป็น เล่นให้รู้”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ม.อุบลราชธานี จัดมหกรรมโรงเรียนเฮ็ดดีมีสุข หนุนพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนภาคอีสานตอนล่าง เปลี่ยนการจัดการเรียนการสอน เน้น “เรียนให้เป็น เล่นให้รู้” ทั้งสาระวิชา สาระความรู้ ทักษะวิธีคิด วินัย และความรับผิดชอบ

ดร.ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในฐานะหัวหน้าโครงการการเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนสุขภาวะภาคอีสานตอนล่าง หรือโครงการ “โครงการโรงเรียนเฮ็ดดีมีสุข” กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดโรงเรียนสุขภาวะที่มีการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ ใน 5 องค์ประกอบของโรงเรียนสุขภาวะ 2. เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูและผู้บริหารโรงเรียน โดยมุ่งหวังพัฒนาครูที่มีความกระตือรือร้นเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง 3. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเด็กและเยาวชนในโรงเรียนให้กลายเป็นผู้เรียนที่เป็นสุขและสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนในการบริหารจัดการโรงเรียนสุขภาวะ และ 4. เพื่อพัฒนาหลักสูตรตลอดจนคู่มือส่งเสริมการบริหารงานและจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนสุขภาวะ

“โรงเรียนเฮ็ดดีมีสุข มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาครูและ กระบวนการเรียนการสอนสู่การเรียนการสอนที่มีความสุข สร้างให้ผู้เรียน ผู้สอน องค์กร รวมถึงชุมชนรอบข้างเป็นสุข ผ่านกระบวนการ Active Learning และการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ (PLC) และ การทำโครงงานเป็นฐาน (PBL) ที่เอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ปี 6 เดือน เกิดกระบวนการเรียนรู้ภายใต้แนวคิด “เรียนให้เป็น เล่นให้รู้” เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนที่ นำไปสู่ความสุข โดยแบ่งประเด็น โครงงานออกเป็น 4 ประเด็น ได้แก่ การจัดการขยะ การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การเสริมทักษะอาชีพ และห้องเรียนสุขภาวะ ซึ่งในการสร้างกิจกรรมการเรี ยนรู้ในโรงเรียนที่ส่งเสริมสุ ขภาวะ แต่ละโครงการได้กำหนดรูปแบบวิธีการ และกำหนดการดำเนินงานที่ แตกต่างหลากหลายและมีความน่ าสนใจ รวมทั้งสามารถบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนในหลากหลายวิชาได้” ดร.ปิ่นวดี กล่าว

นายทรงพล อินทเศียร รองอธิการบดีมหาวิทายาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า ต้องชื่นชมความตั้งใจของครู และผู้บริหารสถานศึกษาที่ต้ องการเห็นการเปลี่ยนแปลงในการจั ดการเรียนการสอนและระบบการศึ กษาที่จะนำให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่ มีสุขภาวะ “สุข ดี มี เก่ง” โดยร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งมีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และการสร้างสุขภาวะ แก่เด็กและเยาวชนผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ โดยสร้างความร่วมมือกับองค์กรภาคี ทักษะการคิดสังเคราะห์ สร้างความรู้โดยผู้เรียนเอง ครูปรับบทบาทเป็นผู้อำนวยการให้นักเรียนนำประสบการณ์ปฏิบัติ มาทำความเข้าใจ ด้วยสาระวิชาที่เรียนอยู่ เพื่อนำไปสู่การตีความ การบูรณาการความรู้เดิมจนเข้าใจ และสังเคราะห์เป็นความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นแก่ตนเองโดยนักเรียนเอง ตลอดจนสร้างเครือข่ายโรงเรียนสุขภาวะให้เกิดเป็นชุมชนแห่ งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC)

“เรียนให้เป็น เล่นให้รู้ คือ การเน้นเรียนโดยสร้างการเรียนรู้ที่เหมาะสม ไม่ใช่การเรียนที่คร่ำเคร่งหรือ เพื่อแข่งขันเพียงอย่างเดียว แต่ขาดความสุข การเรียนให้เป็นจึงเป็นการส่งเส ริมทั้งในเรื่องสาระรายวิชา และสาระความรู้ และทักษะวิธีคิดและวินัยความรับผิดชอบไปในตัวด้วย ในขณะเดียวกัน การเล่นก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่ช่วยเติมเต็มให้เราไม่เคร่งเครียดกับการเรียนในชั้นเรียนมากจนเกินไป แต่การเล่นในที่นี้ เป็นการเล่นที่ผสมผสานความรู้ เข้าไปด้วย ฉะนั้น ผู้ให้ความรู้จึงต้องเป็นโค้ช (Coach) ที่เอาใจใส่ และใส่ใจในกิจกรรมต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นองค์ความรู้ที่ได้ด้วย นั่นคือ การฝึกให้คิด ไม่เช่นนั้น การเล่นก็ไม่ต่างกับการเล่นทั่วไป” นายทรงพล กล่าว

นายทรงพล กล่าวอีกว่า เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าการพัฒนาการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องเน้นให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบั ติจริง การเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งผลที่ตามมาได้ช่วยให้เกิดการลดพฤติกรรมเสี่ยง และเพิ่มพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งด้านกาย จิต สังคมและสติปัญญา โดยนำไปสู่ความสุขในการเรียนรู้ ตามเป้าหมายของโครงการ ทั้งนี้ การสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนในการบริหารจัดการโรงเรียนสุขภาวะ สร้างและหนุนเสริมให้เกิดความร่วมมือและความรับผิดชอบร่วมกัน การช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน ประหยัด คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเด็กและเยาวชน



กำลังโหลดความคิดเห็น