xs
xsm
sm
md
lg

พร้อมรับฟังทุกความเห็นแก้ กม.บัตรทอง “หมอเชิดชู” ย้ำรักษาฟรีไม่ใช่ไม่ดี แต่ต้องมีคุณภาพ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เลขาธิการ สช. พร้อมรับฟังทุกความเห็นประชาพิจารณ์แก้ กม.บัตรทอง ด้าน “หมอเชิดชู” ย้ำรักษาฟรีไม่ใช่ไม่ดี แต่ต้องมีคุณภาพ การรักษาต้องไม่เหมาโหล ชี้แกนนำคัดค้านก็เป็นกรรมการ สปสช. ด้าน อดีตเลขาธิการ สปสช.ย้ำ ต้องแก้กฎหมายตามคำสั่ง คสช.

ความคืบหน้ากรณีการแก้ไขร่าง พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... ซึ่งยืนยันว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือลดทอนสิทธิการรักษาพยาบาลของประชาชนเลย เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องที่เป็นอุปสรรคต่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการ และให้เกิดประสิทธิภาพในการให้บริการของหน่วยบริการ แต่กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพก็ยังออกมาคัดค้าน โดยสร้างวาทกรรมว่า เป็นการกระทบสิทธิของประชาชน

นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการจัดทำประชาพิจารณ์ร่าง พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ... หรือกฎหมายบัตรทอง กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการยกร่างฯ มีการตั้งต้นแก้ไขกฎหมายหลายมาตราครอบคลุม 14 ประเด็น บวกเพิ่ม 2 ประเด็น แต่เมื่อมีการพิจารณาแล้วมีการแก้ไขจริง 11 ประเด็น เพื่อแก้ไขปัญหาติดขัด วิกฤตเรื้อรังหลังมีการใช้ พ.ร.บ. ดังกล่าวมานาน 14 ปี หลักๆ คือ แก้ไขสัดส่วนบอร์ด สปสช. และสัดส่วนคณะกรรมการติดตามประเมินผล แก้ไขข้อกำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะมาเป็นเลขาธิการ สปสช.

นพ.พลเดช กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังแก้ไขเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบัตรทองในระยะยาว คือ การแยกเงินเดือนบุคลากรออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว รวมถึงแก้ไขการใช้งบต่างๆ เช่น จากเดิมโรงพยาบาลไม่สามารถใช้เงินเพื่อจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ หรือซ่อมเครื่องมือแพทย์ได้ เพราะติดปัญหาว่ากฎหมายกำหนดให้ใช้เงินเพื่อดูแลประชาชนโดยตรงเท่านั้น ตอนนี้ก็แก้ไขให้ใช้ได้ เนื่องจากการใช้จ่ายในส่วนดังกล่าวเป็นการใช้เพื่อพัฒนาระบบการดูแลประชาชนโดยตรงอยู่แล้ว เป็นต้น ทั้งนี้ หากใครมีความเห็นอย่างไร ก็ขอให้มาร่วมทำประชาพิจารณ์ ซึ่ง สช. จะรับฟังทุกความเห็น โดยเฉพาะความเห็นที่มีการแสดงตัวตน เพื่อรวบรวม และนำเสนอต่อคณะกรรมการยกร่างกฎหมายบัตรทอง นำไปปรับปรุงต่อไป

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา กรรมการแพทยสภา กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการแก้ไขกฎหมายมาจากคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หลังจากหน่วยงานตรวจสอบต่างๆ ของภาครัฐพบว่า มีการใช้งบบัตรทองผิดวัตถุประสงค์ โดย สปสช. แทนที่จะจ่ายค่ารักษาแทนประชาชนให้กับโรงพยาบาลที่ทำการรักษาตามที่ได้มีการรักษาจริงๆ กลับเอาเงินนั้นมาแบ่งเป็นกองทุนย่อยที่ไม่สามารถเบิกข้ามกองทุน แถมเอาไปผูกติดกับเงินเดือน ทำให้โรงพยาบาลมีรายได้ไม่พอกับที่ใช้จริงก็เลยให้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ใช้เงินได้อย่างถูกต้อง

“เราไม่ได้บอกว่าประชาชนมารักษาฟรีนั้นไม่ดี แต่อยากให้ประชาชนได้รับการรักษาที่มีมาตรฐาน โรงพยาบาลอยู่รอด ประชาชนมีส่วนในการดูแลสุขภาพตัวเอง ไม่ใช่ต้องรับการรักษาตามสูตรสำเร็จที่ถูก สปสช. กำหนดขึ้น เรามีข้อมูลว่า ผู้ป่วยบัตรทองตายเยอะกว่าผู้ป่วยระบบสวัสดิการข้าราชการ เพราะว่าข้าราชการสามารถใช้ยาที่อยู่บัญชียาหลักได้ แต่ผู้ป่วยบัตรทองเลือกไม่ได้ ทุกวันนี้ผู้ป่วยบัตรทอง 49 ล้านคน เข้ารักษาในโรงพยาบาลรัฐ 20 กว่าล้านคน อีก 20 กว่าล้านคนไปใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน เพราะเขาไม่มั่นใจระบบการรักษาของบัตรทอง” พญ.เชิดชู กล่าวและว่า ส่วนภาคประชาชนที่ออกมาคัดค้านการแก้กฎหมาย ถ้าดูจากแกนนำแล้วจะพบว่า เป็นกรรมการใน สปสช. เอง เป็นคนที่อยู่ในหน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับเงินจาก สปสช. โดยไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์อยู่แล้ว

นพ.วินัย สวัสดิวร อดีตเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า การแก้ไขกฎหมายบัตรทอง สิ่งสำคัญคือต้องยึดหลักตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ซึ่งคำนึงถึงประโยชน์ประชาชนเป็นที่ตั้ง จึงไม่ควรมีการปรับแก้ไขที่เป็นการเปลี่ยนแปลงหลักการของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งหากแก้ไขควรดำเนินการเฉพาะประเด็นที่ คตร. ทักท้วง และภายหลังต่อมาได้มีการแก้ไขชั่วคราวตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 37/2559 ซึ่งเป็นคำสั่งที่ระบุชัดเจนว่า การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตาม พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มีบางประเด็นที่ไม่ชัดเจนและทำให้เป็นอุปสรรคต่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการและส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการของหน่วยบริการ ซึ่งส่งผลกระทบถึงการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนโดยรวม

“ในท้ายคำสั่ง คสช.นี้ระบุชัดเจนว่า ให้ใช้บังคับจนถึงวันที่ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายตามคำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ ซึ่งนี่ก็เป็นที่มาของคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มี รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นประธาน ซึ่งมีกรอบระยะเวลาประมาณ 6 เดือน หากแก้ในสิ่งที่นอกเหนือจากนี้ กฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตของประชาชน ต้องเปิดให้มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางและใช้ระยะเวลามากกว่านี้” อดีตเลขาธิการ สปสช. กล่าว
เลิกพูดเกินความเป็นจริงว่า 30 บาทรักษาได้ทุกโรคและเลิกใช้คำว่าหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
เลิกพูดเกินความเป็นจริงว่า 30 บาทรักษาได้ทุกโรคและเลิกใช้คำว่าหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
30 บาทรักษาได้ทุกโรค เป็นคำพูดที่เกินความเป็นจริง ในโลกนี้มีโรคมากมายที่หมอเทวดาก็ยังรักษาไม่ได้อยู่ดี ดังนั้นคำพูดที่เกินเลยความเป็นจริง ในขณะที่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าก็ไม่ได้รักษาอะไรได้ทุกอย่างถ้วนหน้าเช่นกัน ในโลกนี้มีโรคอะไรที่รักษาไม่ได้อีกมากมาย ยิ่ง สปสช. กำหนดแนวทางในการจ่ายเงินแบบไม่ต้องรับผิดชอบอะไร โดยเฉพาะการกำหนดจ่ายเงินเฉพาะเพียงบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่ยาในบัญชียาหลักของชาติจะรักษาได้ถ้วนหน้าหรือรักษาได้ทุกโรค
กำลังโหลดความคิดเห็น