โดย…สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
“คลอดลูกแบบธรรมชาติ” ที่สุดของความท้าทายในชีวิต “ลูกผู้หญิง” กับการผ่านความเจ็บปวดแทบเจียนตาย เพื่อเบ่งชีวิตใหม่ให้ออกมาลืมตาดูโลก กลายเป็นความเจ็บที่เจือไปด้วยความสุขกับสถานะที่ได้รับคือ “แม่”
หากไม่ติดปัจจัยเสี่ยงใดๆ ผู้หญิงหลายคนเลือกที่จะคลอดลูกเองตามธรรมชาติ แต่ก็มีไม่น้อยที่เลือก “การผ่าคลอด” มากกว่า เพราะสามารถเลือกเวลาตกฟากของลูกได้ และไม่ต้องทนกับความเจ็บปวดที่จะได้รับ ประกอบกับโรงพยาบาลหลายแห่ง โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชน มักจะเป็นตัวเลือกที่แพทย์ให้คำแนะนำเป็นวิธีแรก เพราะสะดวกกับการนัดหมายเวลาที่แน่ชัด
เมื่อถามว่า “คลอดลูกธรรมชาติ” กับการ “ผ่าคลอด” แบบไหนดีกว่ากัน
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า หากทารกไม่มีความผิดปกติในการกลับตัวหรือน้ำหนักมากจนเกิดอันตราย ควรคลอดแบบธรรมชาติ เนื่องจากมีโอกาสพบภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า และแม่ก็ฟื้นตัวได้เร็วกว่าอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม “การคลอดธรรมชาติ” ขึ้นชื่อในเรื่องของความเจ็บปวดที่ทำเอาผู้หญิงรู้สึกขยาดหากต้องเผชิญด้วยตัวเอง เนื่องจากการคลอดปกติจะแบ่งเป็น 4 ระยะ โดยระยะที่ 1 คือระยะก้าวหน้าของการคลอด แบ่งย่อยเป็น ‘Latent’ คือการเปิดขยายของปกมดลูกดำเนินไปอย่างช้ามาก และ‘Active’ คือระยะที่มีการเปิดขยายของปากมดลูกดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งในช่วงนี้คุณแม่จะปวดมาก ระยะที่ 2 หรือระยะเบ่งคลอด ระยะนี้แม่จะปวดมากที่สุด จากนั้นจะเข้าสู่ระยะที่ 3 คือระยะคลอดรก และระยะที่ 4 คือหลังรกคลอดถึง 2 ชั่วโมงหลังคลอด
ทีมพยาบาลและแพทย์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จึงคิดค้น “ท่านวัตกรรม” ที่ช่วยให้การทำคลอดธรรมชาติของคุณแม่ใช้เวลาสั้นลง และมีความเจ็บปวดลดลง ภายใต้โครงการขับเคลื่อนวิชาชีพการพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ สนับสนุนโดยสภาการพยาบาลและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คือ
“นวัตกรรมคลอดแบบท่าแมว” หรือ PSU Cat position ซึ่งได้รับการยอมรับจากสถาบันการศึกษาและสถาบันการวิจัยต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ว่าช่วยให้คลอดได้เร็วขึ้นและลดความเจ็บปวดลงได้
รศ.ดร.ศศิธร พุมดวง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการคิดค้นท่านวัตกรรมคลอดแบบ “ท่าแมว” ให้ข้อมูลว่า คำว่า PSU Cat position มาจากคำว่า Prince of Songkla University Cat position เพื่อให้เกียรติแก่มหาวิทยาลัย โดยคลอดท่าแมว คือ การจัดท่ารอคลอดให้มีลักษณะคล้ายแมวตะปบ โดยมี 2 ท่าใน 2 ขั้นตอนของการคลอด ซึ่งไม่ได้เพิ่มความยุ่งยากให้กับการพยาบาล แถมยังทำให้การคลอดง่ายขึ้น เริ่มจาก
1. การยกหัวเตียงให้สูง แล้วหันหน้าเข้าหาเตียงโดยที่เข่าติดพื้นเตียง คนไข้จะค้อมตัวไปข้างหน้า ใบหน้าลำตัวส่วนบนจะทิ้งไปที่หัวเตียงโดยมีหมอนรอง ท่านี้จะทำให้การเคลื่อนตัวของทารกเร็วลงตามแรงโน้มถ่วง เพราะเป็นท่าที่อยู่ในลักษณะค่อนไปทางแนวตั้ง ทำให้มดลูกหดรัดตัวได้ดี แม้ระยะพักของการทิ้งช่วงจะนาน แต่แรงการขับเด็กของมดลูกก็จะดีขึ้น การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงมดลูกจะดีกว่า ขณะที่ท่านอนหงาย จะทำให้เกิดการทดทับของเส้นเลือดมากกว่า เนื่องจากมดลูกปกติจะอยู่ด้านหน้า ส่วนเส้นเลือดจะอยู่ด้านหลัง พอก้มมาข้างหน้าเลือดจะไหลเวียนได้ดี ไม่มีการกดทับ จึงหายปวดได้เร็ว
“สำหรับท่านี้ จะใช้ในช่วงเวลาที่เรียกว่าระยะแอคทีฟ หรือ Active phase โดยทั่วไปช่วงนี้จะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 7.8 ชั่วโมง แต่เมื่อใช้ท่านี้ ช่วงเวลานี้จะหดสั้นลงเหลือประมาณ 3.1 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งต่อมามีการศึกษาเพิ่มเติมโดยใช้ท่านี้ครึ่งชั่วโมงสลับกับท่านอนหัวสูงอีกครึ่งชั่วโมง และใช้ร่วมกับยาเร่งคลอด รวมทั้งให้ฟังดนตรี ปรากฏว่า ระยะแอคทีฟ ใช้เวลาไม่ถึง 3 ชั่วโมง หรือคิดเป็น 152 นาทีโดยเฉลี่ย เป็นการย่นระยะเวลาและความเจ็บปวด รวมทั้งความตึงเครียดจากความเจ็บปวดได้มาก และถือเป็นท่านวัตกรรมซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อน” รศ.ดร.ศศิธร กล่าว
สำหรับที่มาของท่านี้ รศ.ดร.ศศิธร เล่าว่า ได้มาจากการสังเกต เพราะเดิมเป็นท่าออกกำลังกายเพื่อลดการปวดหลังระหว่างการตั้งครรภ์ คล้ายๆ ท่าโยคะ แต่ไม่มีใครใช้ในระยะคลอด จึงคิดว่าน่าจะลองนำท่าที่นำเอาแรงโน้มถ่วงของโลก หรือท่าที่มีลักษณะแนวตั้งให้แรงโน้มถ่วงดึงเอาเด็กลงมาใช้ จากนั้นได้ทดสอบกับคุณแม่ท่านหนึ่งดู
“คุณแม่ที่มาคลอดเล่าให้ฟังหลังคลอดท่านี้ว่า รู้สึกเหมือนไม่มีลูกอยู่ในท้อง อัศจรรย์ใจมากที่คลอดได้เร็วและรู้สึกเหมือนเพิ่งอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ เคสนั้นตอนนั้นปากมดลูกเปิดประมาณ 3 เซนติเมตร (ซม.) ปกติปากมดลูกต้องเปิด 10 ซม. ถึงจะคลอดได้ และต้องใช้เวลาประมาณ 10 กว่าชั่วโมง แต่พอใช้ท่านี้ทำให้คลอดเร็วขึ้น ทั้งหมอและพยาบาลก็ตื่นเต้นว่าช่วยได้ขนาดนี้เลยหรือ ซึ่งท่านี้ต้องทำในจุดที่ปลอดภัยเท่านั้นคือ หัวเด็กลงมาชิดกับเชิงกรานข้างล่างแล้ว ซึ่งจะไม่มีสายสะดือชักต่ำมาพันคอเด็กได้ เมื่อเคสแรกสำเร็จก็ลองอีก 3 - 4 ราย จากนั้นจึงวิจัยอย่างเป็นทางการ” รศ.ดร.ศศิธร กล่าว
รศ.ดร.ศศิธร กล่าวว่า ส่วนท่าที่ 2 จะใช้ในระยะเบ่งคลอด ซึ่งเป็นระยะที่คนไข้จะปวดมากที่สุด โดยทั่วไปใช้เวลาเฉลี่ย 1 ชั่วโมง สิ่งแรกที่ทำคือ การใช้หมอนมารองหรืออัดที่หลัง ซึ่งเป็นที่มาของท่า PSU Locked-Upright position ซึ่งมีที่มาจากภูมิปัญญาของชาวบ้านที่เวลาคลอดจะเอาผ้าขาวม้ามารองหรืออัดที่หลัง จึงพัฒนาต่อโดยนำหลักทางฟิสิกส์ประกอบ โดยคิดว่าหากเราเอกซเรย์ในท่านั่งหลังตรงแล้วก้มไปข้างหน้าให้หน้าอกชิดเข่า แต่หลักการของชาวบ้านไม่ได้ใช้การทำให้หัวสูงขึ้นมาร่วมด้วย ปรากฏว่า เชิงกรานเปิดออกเกือบ 1 เซนติเมตร จึงมองว่า น่าจะจัดให้ท่าลักษณะนี้อยู่ในท่านอนได้ พูดง่ายๆก็คือ จัดท่านั่งยอง แต่ให้อยู่ในท่านอนนั่นเอง เวลาใช้ในท่านี้จึงเหลือเพียง 24 นาที
“นอกจากนี้ ยังคิดประดิษฐ์เตียงคลอด หรือ PSU Birthing Bed ที่มีบาร์โหน ยกหัวขึ้นสูง ยกเอวขึ้นสูงและมีที่ให้ฝ่าเท้ายัน เพื่อสามารถจัดท่านี้ได้ เพราะเตียงยุโรปที่มีขนาดใหญ่ เวลายกเตียงจึงยกได้แค่บริเวณคอเพราะคนไข้ยาวไม่ถึง เมื่อนำเตียงคลอดที่สามารถจัดท่าได้ตามที่ต้องการมาใช้ สามารถลดเวลาลงได้อีกมาก เวลาช่วงระยะที่ 2 ลดลงเหลือ 16 นาที จากทั่วไป 1 ชั่วโมง และบางคนคลอดภายใน 8 นาที ซึ่งขณะนี้ มอ. ได้จดอนุสิทธิบัตรแล้ว และอยู่ในขั้นพัฒนาต่อเป็นเตียงไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ต่อไป รวมถึงในช่วงระยะเวลารอคอยจากการคลอด ยังมีการเปิดเพลงให้แม่ฟังคลอไปด้วย เพื่อลดความตึงเครียดของคุณแม่ ซึ่ง การเปิดดนตรีบรรเลงที่นุ่มนวล เป็นสิ่งที่คุณแม่ชอบกันมาก เพราะช่วยลดความเครียดได้มากกว่าเดิม ซึ่งความเครียดจะส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดเมื่อลดความเครียดลงได้ การไหลเวียนเลือดก็ดี ทุกอย่างมันดีไปด้วย” รศ.ดร.ศศิธร กล่าว
รศ.ดร.ศศิธร กล่าวว่า ผลของการใช้ท่านี้ คือ คุณแม่คลอดในเวลารวดเร็ว เลือดของแม่ออกน้อยมาก ยิ่งคลอดเร็ว ไม่ปวด แม่ก็ฟื้นตัวเร็ว และเด็กที่คลอดด้วยวิธีนี้น่าจะมีสติปัญญาที่ดี เพราะคลอดได้เร็วและไม่มีภาวะขาดออกซิเจนเลย เพราะที่ผ่านมาการคลอดที่ใช้การให้ออกซิโตซินของแพทย์พบว่า มีภาวะเด็กขาดออกซิเจนเยอะมาก เพราะมีการบีบตัวเยอะ และแม่เจ็บปวดมาก
“ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีมากเกินไปจนเป็นการคลอดที่ไม่เป็นธรรมชาติ เช่น การใช้ออกซิโตซิน กระตุ้นการคลอดจนกลายเป็นเรื่องทั่วไปที่อาจจำสู่การขาดออกซิเจนของเด็กได้ง่าย ดังนั้น การคลอดธรรมชาติและส่งเสริมบทบาทของผดุงครรภ์ที่ดี จะทำให้คุณแม่กล้าตัดสินใจคลอดธรรมชาติกันมากขึ้น แถมยังประหยัดค่าใช้จ่าย และฟื้นตัวได้เร็วอีกด้วย” รศ.ดร.ศศิธร
มีนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยให้คลอดเร็ว คลอดง่าย แถมลดการเจ็บปวดจากการคลอดได้เช่นนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้ว่าที่คุณแม่หลายคนกล้าที่จะคลอดเองตามธรรมชาติมากขึ้น
“คลอดลูกแบบธรรมชาติ” ที่สุดของความท้าทายในชีวิต “ลูกผู้หญิง” กับการผ่านความเจ็บปวดแทบเจียนตาย เพื่อเบ่งชีวิตใหม่ให้ออกมาลืมตาดูโลก กลายเป็นความเจ็บที่เจือไปด้วยความสุขกับสถานะที่ได้รับคือ “แม่”
หากไม่ติดปัจจัยเสี่ยงใดๆ ผู้หญิงหลายคนเลือกที่จะคลอดลูกเองตามธรรมชาติ แต่ก็มีไม่น้อยที่เลือก “การผ่าคลอด” มากกว่า เพราะสามารถเลือกเวลาตกฟากของลูกได้ และไม่ต้องทนกับความเจ็บปวดที่จะได้รับ ประกอบกับโรงพยาบาลหลายแห่ง โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชน มักจะเป็นตัวเลือกที่แพทย์ให้คำแนะนำเป็นวิธีแรก เพราะสะดวกกับการนัดหมายเวลาที่แน่ชัด
เมื่อถามว่า “คลอดลูกธรรมชาติ” กับการ “ผ่าคลอด” แบบไหนดีกว่ากัน
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า หากทารกไม่มีความผิดปกติในการกลับตัวหรือน้ำหนักมากจนเกิดอันตราย ควรคลอดแบบธรรมชาติ เนื่องจากมีโอกาสพบภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า และแม่ก็ฟื้นตัวได้เร็วกว่าอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม “การคลอดธรรมชาติ” ขึ้นชื่อในเรื่องของความเจ็บปวดที่ทำเอาผู้หญิงรู้สึกขยาดหากต้องเผชิญด้วยตัวเอง เนื่องจากการคลอดปกติจะแบ่งเป็น 4 ระยะ โดยระยะที่ 1 คือระยะก้าวหน้าของการคลอด แบ่งย่อยเป็น ‘Latent’ คือการเปิดขยายของปกมดลูกดำเนินไปอย่างช้ามาก และ‘Active’ คือระยะที่มีการเปิดขยายของปากมดลูกดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งในช่วงนี้คุณแม่จะปวดมาก ระยะที่ 2 หรือระยะเบ่งคลอด ระยะนี้แม่จะปวดมากที่สุด จากนั้นจะเข้าสู่ระยะที่ 3 คือระยะคลอดรก และระยะที่ 4 คือหลังรกคลอดถึง 2 ชั่วโมงหลังคลอด
ทีมพยาบาลและแพทย์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จึงคิดค้น “ท่านวัตกรรม” ที่ช่วยให้การทำคลอดธรรมชาติของคุณแม่ใช้เวลาสั้นลง และมีความเจ็บปวดลดลง ภายใต้โครงการขับเคลื่อนวิชาชีพการพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ สนับสนุนโดยสภาการพยาบาลและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คือ
“นวัตกรรมคลอดแบบท่าแมว” หรือ PSU Cat position ซึ่งได้รับการยอมรับจากสถาบันการศึกษาและสถาบันการวิจัยต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ว่าช่วยให้คลอดได้เร็วขึ้นและลดความเจ็บปวดลงได้
รศ.ดร.ศศิธร พุมดวง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการคิดค้นท่านวัตกรรมคลอดแบบ “ท่าแมว” ให้ข้อมูลว่า คำว่า PSU Cat position มาจากคำว่า Prince of Songkla University Cat position เพื่อให้เกียรติแก่มหาวิทยาลัย โดยคลอดท่าแมว คือ การจัดท่ารอคลอดให้มีลักษณะคล้ายแมวตะปบ โดยมี 2 ท่าใน 2 ขั้นตอนของการคลอด ซึ่งไม่ได้เพิ่มความยุ่งยากให้กับการพยาบาล แถมยังทำให้การคลอดง่ายขึ้น เริ่มจาก
1. การยกหัวเตียงให้สูง แล้วหันหน้าเข้าหาเตียงโดยที่เข่าติดพื้นเตียง คนไข้จะค้อมตัวไปข้างหน้า ใบหน้าลำตัวส่วนบนจะทิ้งไปที่หัวเตียงโดยมีหมอนรอง ท่านี้จะทำให้การเคลื่อนตัวของทารกเร็วลงตามแรงโน้มถ่วง เพราะเป็นท่าที่อยู่ในลักษณะค่อนไปทางแนวตั้ง ทำให้มดลูกหดรัดตัวได้ดี แม้ระยะพักของการทิ้งช่วงจะนาน แต่แรงการขับเด็กของมดลูกก็จะดีขึ้น การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงมดลูกจะดีกว่า ขณะที่ท่านอนหงาย จะทำให้เกิดการทดทับของเส้นเลือดมากกว่า เนื่องจากมดลูกปกติจะอยู่ด้านหน้า ส่วนเส้นเลือดจะอยู่ด้านหลัง พอก้มมาข้างหน้าเลือดจะไหลเวียนได้ดี ไม่มีการกดทับ จึงหายปวดได้เร็ว
“สำหรับท่านี้ จะใช้ในช่วงเวลาที่เรียกว่าระยะแอคทีฟ หรือ Active phase โดยทั่วไปช่วงนี้จะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 7.8 ชั่วโมง แต่เมื่อใช้ท่านี้ ช่วงเวลานี้จะหดสั้นลงเหลือประมาณ 3.1 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งต่อมามีการศึกษาเพิ่มเติมโดยใช้ท่านี้ครึ่งชั่วโมงสลับกับท่านอนหัวสูงอีกครึ่งชั่วโมง และใช้ร่วมกับยาเร่งคลอด รวมทั้งให้ฟังดนตรี ปรากฏว่า ระยะแอคทีฟ ใช้เวลาไม่ถึง 3 ชั่วโมง หรือคิดเป็น 152 นาทีโดยเฉลี่ย เป็นการย่นระยะเวลาและความเจ็บปวด รวมทั้งความตึงเครียดจากความเจ็บปวดได้มาก และถือเป็นท่านวัตกรรมซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อน” รศ.ดร.ศศิธร กล่าว
สำหรับที่มาของท่านี้ รศ.ดร.ศศิธร เล่าว่า ได้มาจากการสังเกต เพราะเดิมเป็นท่าออกกำลังกายเพื่อลดการปวดหลังระหว่างการตั้งครรภ์ คล้ายๆ ท่าโยคะ แต่ไม่มีใครใช้ในระยะคลอด จึงคิดว่าน่าจะลองนำท่าที่นำเอาแรงโน้มถ่วงของโลก หรือท่าที่มีลักษณะแนวตั้งให้แรงโน้มถ่วงดึงเอาเด็กลงมาใช้ จากนั้นได้ทดสอบกับคุณแม่ท่านหนึ่งดู
“คุณแม่ที่มาคลอดเล่าให้ฟังหลังคลอดท่านี้ว่า รู้สึกเหมือนไม่มีลูกอยู่ในท้อง อัศจรรย์ใจมากที่คลอดได้เร็วและรู้สึกเหมือนเพิ่งอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ เคสนั้นตอนนั้นปากมดลูกเปิดประมาณ 3 เซนติเมตร (ซม.) ปกติปากมดลูกต้องเปิด 10 ซม. ถึงจะคลอดได้ และต้องใช้เวลาประมาณ 10 กว่าชั่วโมง แต่พอใช้ท่านี้ทำให้คลอดเร็วขึ้น ทั้งหมอและพยาบาลก็ตื่นเต้นว่าช่วยได้ขนาดนี้เลยหรือ ซึ่งท่านี้ต้องทำในจุดที่ปลอดภัยเท่านั้นคือ หัวเด็กลงมาชิดกับเชิงกรานข้างล่างแล้ว ซึ่งจะไม่มีสายสะดือชักต่ำมาพันคอเด็กได้ เมื่อเคสแรกสำเร็จก็ลองอีก 3 - 4 ราย จากนั้นจึงวิจัยอย่างเป็นทางการ” รศ.ดร.ศศิธร กล่าว
รศ.ดร.ศศิธร กล่าวว่า ส่วนท่าที่ 2 จะใช้ในระยะเบ่งคลอด ซึ่งเป็นระยะที่คนไข้จะปวดมากที่สุด โดยทั่วไปใช้เวลาเฉลี่ย 1 ชั่วโมง สิ่งแรกที่ทำคือ การใช้หมอนมารองหรืออัดที่หลัง ซึ่งเป็นที่มาของท่า PSU Locked-Upright position ซึ่งมีที่มาจากภูมิปัญญาของชาวบ้านที่เวลาคลอดจะเอาผ้าขาวม้ามารองหรืออัดที่หลัง จึงพัฒนาต่อโดยนำหลักทางฟิสิกส์ประกอบ โดยคิดว่าหากเราเอกซเรย์ในท่านั่งหลังตรงแล้วก้มไปข้างหน้าให้หน้าอกชิดเข่า แต่หลักการของชาวบ้านไม่ได้ใช้การทำให้หัวสูงขึ้นมาร่วมด้วย ปรากฏว่า เชิงกรานเปิดออกเกือบ 1 เซนติเมตร จึงมองว่า น่าจะจัดให้ท่าลักษณะนี้อยู่ในท่านอนได้ พูดง่ายๆก็คือ จัดท่านั่งยอง แต่ให้อยู่ในท่านอนนั่นเอง เวลาใช้ในท่านี้จึงเหลือเพียง 24 นาที
“นอกจากนี้ ยังคิดประดิษฐ์เตียงคลอด หรือ PSU Birthing Bed ที่มีบาร์โหน ยกหัวขึ้นสูง ยกเอวขึ้นสูงและมีที่ให้ฝ่าเท้ายัน เพื่อสามารถจัดท่านี้ได้ เพราะเตียงยุโรปที่มีขนาดใหญ่ เวลายกเตียงจึงยกได้แค่บริเวณคอเพราะคนไข้ยาวไม่ถึง เมื่อนำเตียงคลอดที่สามารถจัดท่าได้ตามที่ต้องการมาใช้ สามารถลดเวลาลงได้อีกมาก เวลาช่วงระยะที่ 2 ลดลงเหลือ 16 นาที จากทั่วไป 1 ชั่วโมง และบางคนคลอดภายใน 8 นาที ซึ่งขณะนี้ มอ. ได้จดอนุสิทธิบัตรแล้ว และอยู่ในขั้นพัฒนาต่อเป็นเตียงไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ต่อไป รวมถึงในช่วงระยะเวลารอคอยจากการคลอด ยังมีการเปิดเพลงให้แม่ฟังคลอไปด้วย เพื่อลดความตึงเครียดของคุณแม่ ซึ่ง การเปิดดนตรีบรรเลงที่นุ่มนวล เป็นสิ่งที่คุณแม่ชอบกันมาก เพราะช่วยลดความเครียดได้มากกว่าเดิม ซึ่งความเครียดจะส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดเมื่อลดความเครียดลงได้ การไหลเวียนเลือดก็ดี ทุกอย่างมันดีไปด้วย” รศ.ดร.ศศิธร กล่าว
รศ.ดร.ศศิธร กล่าวว่า ผลของการใช้ท่านี้ คือ คุณแม่คลอดในเวลารวดเร็ว เลือดของแม่ออกน้อยมาก ยิ่งคลอดเร็ว ไม่ปวด แม่ก็ฟื้นตัวเร็ว และเด็กที่คลอดด้วยวิธีนี้น่าจะมีสติปัญญาที่ดี เพราะคลอดได้เร็วและไม่มีภาวะขาดออกซิเจนเลย เพราะที่ผ่านมาการคลอดที่ใช้การให้ออกซิโตซินของแพทย์พบว่า มีภาวะเด็กขาดออกซิเจนเยอะมาก เพราะมีการบีบตัวเยอะ และแม่เจ็บปวดมาก
“ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีมากเกินไปจนเป็นการคลอดที่ไม่เป็นธรรมชาติ เช่น การใช้ออกซิโตซิน กระตุ้นการคลอดจนกลายเป็นเรื่องทั่วไปที่อาจจำสู่การขาดออกซิเจนของเด็กได้ง่าย ดังนั้น การคลอดธรรมชาติและส่งเสริมบทบาทของผดุงครรภ์ที่ดี จะทำให้คุณแม่กล้าตัดสินใจคลอดธรรมชาติกันมากขึ้น แถมยังประหยัดค่าใช้จ่าย และฟื้นตัวได้เร็วอีกด้วย” รศ.ดร.ศศิธร
มีนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยให้คลอดเร็ว คลอดง่าย แถมลดการเจ็บปวดจากการคลอดได้เช่นนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้ว่าที่คุณแม่หลายคนกล้าที่จะคลอดเองตามธรรมชาติมากขึ้น