สบส. เตือน รพ. และคลินิกเอกชนทั่วประเทศ 23,832 แห่ง ชำระค่าธรรมเนียมรายปี ต่อใบอนุญาตดำเนินการปี 2560 ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2559 กรณีอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่น สสจ. ใน กทม. ยื่นศูนย์บริการธุรกิจสุขภาพ ชี้ หากขาดการต่อใบอนุญาตฯ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท
นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า สบส. ได้ดำเนินการควบคุมมาตรฐานสถานพยาบาลเอกชนทั้งคลินิกและโรงพยาบาล เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยประชาชนให้ได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ ในปี 2559 นี้ มีสถานพยาบาลเอกชนที่มีมาตรฐาน และได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการทั่วประเทศ 23,832 แห่ง ประกอบด้วย คลินิก 23,488 แห่ง และโรงพยาบาล 344 แห่ง ในการติดตามกำกับสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตนั้น กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการสถานพยาบาลทุกแห่ง ต้องยื่นชำระค่าธรรมเนียมทุกปีให้เป็นปีปัจจุบัน ยื่นต่อใบอนุญาตดำเนินการทุก 2 ปี และยื่นต่อใบอนุญาตประกอบกิจการทุก 10 ปี สำหรับในปี 2560 กรม สบส. กำหนดให้สถานพยาบาลเอกชนทุกแห่ง ยื่นชำระค่าธรรมเนียมรายปีภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เพื่อแสดงว่าสถานพยาบาลมีการให้บริการที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน โดยในเขตกทม.ยื่นที่ศูนย์บริการธุรกิจสุขภาพ (One stop service center) กรม สบส. จ.นนทบุรี ส่วนในต่างจังหวัดยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่ง กรม สบส. กำหนดให้ติดหลักฐานที่กล่าวมานี้ในที่เปิดเผย แสดงให้ผู้ใช้บริการรับทราบและตรวจสอบเพื่อแสดงว่าสถานพยาบาลมีมาตรฐานเป็นไปตามกฎหมายกำหนด
ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กล่าวว่า สถานพยาบาลเอกชนที่ดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ชำระค่าธรรมเนียมประจำปี ไม่ต่ออายุใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล หรือไม่ต่ออายุใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล ถือว่าเป็นการประกอบกิจการ หรือดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และพนักงานเจ้าหน้าที่อาจยึด หรืออายัดเอกสารสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลฯ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีด้วยก็ได้
สำหรับในรายที่ยื่นขอเปิดสถานพยาบาลใหม่ หลังจากเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอที่ถูกต้องสมบูรณ์แล้ว จะดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานของสถานพยาบาล ซึ่งต้องมีครบ 5 มาตรฐาน ได้แก่ เครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์ได้มาตรฐาน มีบุคลากรที่ถูกต้องในการให้บริการ สถานที่สะอาด มีความปลอดภัย และมีลักษณะเหมาะสมในการเป็นสถานพยาบาล จากนั้นจะนำเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการสถานพยาบาล เพื่อตรวจสอบรายละเอียด ความครบถ้วนตามมาตรฐาน หากผ่านขั้นตอนนี้ จะนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสถานพยาบาล เพื่อให้ความเห็นชอบ โดยใช้เวลาประมาณ 66 วันทำการ
นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า สบส. ได้ดำเนินการควบคุมมาตรฐานสถานพยาบาลเอกชนทั้งคลินิกและโรงพยาบาล เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยประชาชนให้ได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ ในปี 2559 นี้ มีสถานพยาบาลเอกชนที่มีมาตรฐาน และได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการทั่วประเทศ 23,832 แห่ง ประกอบด้วย คลินิก 23,488 แห่ง และโรงพยาบาล 344 แห่ง ในการติดตามกำกับสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตนั้น กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการสถานพยาบาลทุกแห่ง ต้องยื่นชำระค่าธรรมเนียมทุกปีให้เป็นปีปัจจุบัน ยื่นต่อใบอนุญาตดำเนินการทุก 2 ปี และยื่นต่อใบอนุญาตประกอบกิจการทุก 10 ปี สำหรับในปี 2560 กรม สบส. กำหนดให้สถานพยาบาลเอกชนทุกแห่ง ยื่นชำระค่าธรรมเนียมรายปีภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เพื่อแสดงว่าสถานพยาบาลมีการให้บริการที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน โดยในเขตกทม.ยื่นที่ศูนย์บริการธุรกิจสุขภาพ (One stop service center) กรม สบส. จ.นนทบุรี ส่วนในต่างจังหวัดยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่ง กรม สบส. กำหนดให้ติดหลักฐานที่กล่าวมานี้ในที่เปิดเผย แสดงให้ผู้ใช้บริการรับทราบและตรวจสอบเพื่อแสดงว่าสถานพยาบาลมีมาตรฐานเป็นไปตามกฎหมายกำหนด
ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กล่าวว่า สถานพยาบาลเอกชนที่ดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ชำระค่าธรรมเนียมประจำปี ไม่ต่ออายุใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล หรือไม่ต่ออายุใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล ถือว่าเป็นการประกอบกิจการ หรือดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และพนักงานเจ้าหน้าที่อาจยึด หรืออายัดเอกสารสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลฯ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีด้วยก็ได้
สำหรับในรายที่ยื่นขอเปิดสถานพยาบาลใหม่ หลังจากเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอที่ถูกต้องสมบูรณ์แล้ว จะดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานของสถานพยาบาล ซึ่งต้องมีครบ 5 มาตรฐาน ได้แก่ เครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์ได้มาตรฐาน มีบุคลากรที่ถูกต้องในการให้บริการ สถานที่สะอาด มีความปลอดภัย และมีลักษณะเหมาะสมในการเป็นสถานพยาบาล จากนั้นจะนำเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการสถานพยาบาล เพื่อตรวจสอบรายละเอียด ความครบถ้วนตามมาตรฐาน หากผ่านขั้นตอนนี้ จะนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสถานพยาบาล เพื่อให้ความเห็นชอบ โดยใช้เวลาประมาณ 66 วันทำการ